ซื้อเตียงผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ อย่างไรให้เหมาะสม?

ซื้อเตียงผู้ป่วย allwell เตียงผู้ป่วยดีไซน์ไม้

         คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การนอนหลับอย่างมีความสุข “เตียง” คือปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการนอนหลับที่มีคุณภาพ สำหรับผู้สูงอายุรวมถึงผู้ป่วย ซึ่งร่างกายไม่ได้แข็งแรงพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่ การนอนเตียงธรรมดา อาจจะทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายนัก และอาจก่อให้เกิดอันตรายที่ไม่คาดคิด จึงจำเป็นต้องเลือก ซื้อเตียงผู้ป่วย ที่สามารถอำนวยความสะดวก และป้องกันอันตรายได้

ซื้อเตียงผู้ป่วย

         บทความนี้จะนำเสนอความรู้ในการ เลือกซื้อเตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ ที่สามารถปรับท่าทางประเภทต่าง ๆ ได้ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบความแตกต่าง ข้อดี-ข้อเสียของเตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุแต่ละประเภท และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อเตียงผู้ป่วยได้ด้วยตนเองค่ะ

เพราะเตียงผู้ป่วยที่ดีที่สุด คือเตียงที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานที่สุด 

สารบัญ

ก่อนจะ ซื้อเตียงผู้ป่วย มารู้จักกับประเภทเตียงกันก่อน

         เตียงผู้ป่วย ในท้องตลาดมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งคุณสมบัติของเตียงป่วยผู้นั้น ก็มีความแตกต่างกันไป ดังนั้น เราจึงควรเลือก เตียงผู้ป่วยที่ตอบโจทย์ และเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย และผู้ดูแลได้อย่างเต็มที่ค่ะ เตียงผู้ป่วยสามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบ สำหรับบทความนี้ เราจะแบ่งประเภทเตียงผู้ป่วยตามการควบคุม และความสามารถในการปรับท่าทางค่ะ

ซื้อเตียงผู้ป่วย เตียงมือหมุน เตียงไฟฟ้า

แบ่งประเภทตามการควบคุม จะแบ่งได้ 2 ประเภท

1.เตียงผู้ป่วยมือหมุน

  • เตียงที่ควบคุมการปรับท่าต่าง ๆ ด้วยเพลาแบบมือหมุน ซึ่งจะมีจำนวนเพลาบริเวณปลายเตียง ตามจำนวนท่าของเตียงที่ปรับได้

2.เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

  • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่ปรับท่าต่าง ๆ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และควบคุมการปรับท่าผ่านรีโมทคอนโทรล หรือแผงควบคุม

แบ่งประเภทตามความสามารถในการปรับท่าทาง จะแบ่งได้ 5 ประเภท

ซื้อเตียงผู้ป่วย

  • 1 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง
  • 2 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง และท่าชันเข่า
  • 3 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า และระดับความสูง – ต่ำของเตียง
  • 4 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง – ต่ำของเตียง และท่าหัวสูง – เท้าต่ำ
  • 5 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง – ต่ำของเตียง ท่าหัวสูง – เท้าต่ำ และท่าหัวต่ำ – เท้าสูง

ทั้งนี้ จำนวนไกร์ = จำนวนท่าที่ปรับได้ แต่ท่าทางที่ปรับได้ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต เช่น เตียงผู้ป่วย ประเภท 2 ไกร์ อาจจะปรับได้ในส่วนของท่าสูง – ต่ำ และพนักพิงหลัง

เลือก ซื้อเตียงผู้ป่วย อย่างไรถึงจะดี?

( อ้างอิง : คู่มือแนวทางการเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ในเชิงเทคนิคและวิศวกรรม :เตียงผู้ป่วย )

         เตียงผู้ป่วย ที่สามารถปรับท่าทางต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต จึงเป็นตัวช่วยที่ทำให้ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย สามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเสริมความภาคภูมิใจ ในการช่วยเหลือตนเองได้อีกด้วย แต่จะซื้อเตียงผู้ป่วยสักเตียง ต้องดูจากอะไร ตั้งกระทู้ถามใน pantip? ลองหารีวิวอ่านว่าเตียงผู้ป่วยที่ไหนดี? แต่เชื่อเถอะค่ะว่า วิธีที่ดีที่สุดในการซื้อเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสม คือการที่คุณเข้าใจวิธีการเลือกซื้อ และเลือกซื้อสินค้าด้วยความเข้าใจจริง ๆ

ซื้อเตียงผู้ป่วย

  1. เตียงผู้ป่วยทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิมได้ง่าย สามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 150 Kg เป็นต้นไป (เพราะยิ่งรับน้ำหนักได้มาก = มีความแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน)
  2. มีระบบความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ราวข้างเตียง หรือ ระบบล็อกล้อเตียง
  3. ความยาวของเตียงผู้ป่วยโดยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความยาวที่พอเหมาะ และไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
  4. ความสูงของเตียงนอนสำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ดีนั้น ควรสูงจากพื้นประมาณ 40 เซนติเมตร หรือมีความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ เมื่อเวลาลุกขึ้นนั่ง เพื่อที่จะยืน หรือทำกิจกรรมใด ๆ จะได้วางเท้าถึงพื้นพอดี
  5. ความสวยงาม ก็เป็นสิ่งสำคัญ เตียงผู้ป่วยที่มีความสวยงาม จะทำให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่รู้สึกหดหู่ และเหมาะเป็นเฟอร์นิเจอร์ สำหรับตกแต่งภายในบ้าน
  6. ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าต้องมีใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (อย.)
  7. โรงงานผู้ผลิตได้รับมาตรฐานการผลิตจาก อย. หรือมาตรฐาน ISO 13485 (มาตรฐานคุณภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์)
  8. มีมาตรฐาน IEC 60601-2-38 (มาตรฐานเตียงผู้ป่วย) หรือ IEC 60601-2-52 (มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้งาน)
  9. พิจารณาตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ เตียงผู้ป่วย

  • มีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร
  • มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 เซนติเมตร
  • ความสูงของราวกั้นเตียงผู้ป่วยเมื่อวัดจากฟูก ไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
  • วัสดุที่ใช้ผลิตมีความแข็งแรง ไร้สนิม ง่ายต่อการทำความสะอาด
  • ระบุน้ำหนักสูงสุดที่เตียงสามารถรับได้ (Safe working load)
ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

ซื้อเตียงผู้ป่วย แบบมือหมุน vs แบบไฟฟ้า แบบไหนดีกว่ากัน?

เตียงผู้ป่วยมือหมุน

  • ข้อดี : ราคาไม่สูง ไม่ใช้ไฟฟ้า น้ำหนักเบา
  • ข้อเสีย : ใช้มือหมุนในการปรับระดับ ผู้ดูแลต้องก้มบ่อย อาจจะส่งผลเสียกับสุขภาพในระยะยาว และผู้ป่วยไม่สามารถปรับเตียงได้ด้วยตนเอง

ซื้อเตียงผู้ป่วย

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

  • ข้อดี : ลดภาระของผู้ดูแล ผู้ป่วยสามารถปรับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้ด้วยด้วยตนเอง ช่วยเสริมให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง อำนวยความสะดวกในการใช้งานทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล
  • ข้อเสีย : ราคาสูง และใช้ไฟฟ้าในการทำงาน

เตียงผู้ป่วย เตียงไฟฟ้า Allwell

เตียง venta ปรับต่ำ

ปรับสูง-ต่ำได้ 21-80 cm

  • เท้าผู้ป่วยและผู้สูงอายุ สัมผัสพื้นอย่างพอดี ลงจากเตียงได้อย่างมั่นคง
  • ลดความเสี่ยงการบาดเจ็บหนักจากอุบัติเหตุ หกล้ม พลัดตกเตียง
  • อำนวยความสะดวกของผู้ดูแล ไม่ต้องคอยก้ม
เตียงผู้ป่วย libra

พร้อมราวข้างเตียง

  • ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุพลัดตกเตียงขณะนอนหลับ
  • ใช้จับเพื่อพยุงตัว ทำให้ทรงตัวลุกขึ้นจากเตียงได้สะดวกขึ้น
  • ในกรณีที่ไม่ใช้งานสามารถพับเก็บแนบไปกับเตียง
รีโมทเตียงปรับไฟฟ้า

ปรับท่าการใช้งานไฟฟ้า

  • ปรับท่าการใช้งานด้วยรีโมทไฟฟ้า (ท่านั่ง สูง-ต่ำ พนักพิงหลัง ชันเข่า) และท่านั่ง เตรียมยืน

ดร.ภูวนาท คุนผลิน (คุณอั๋น)นักร้อง นักจัดรายการวิทยุ และนักแสดง

เพราะผมมั่นใจว่าดีจริง ผมเลยเลือกเตียงไฟฟ้า ALLWELL ให้กับคุณพ่ออย่างไม่ลังเลเลยครับ …
ดูรีวิวลูกค้าทั้งหมดของเรา

รีวิวลูกค้าเตียงผู้ป่วย
รีวิวลูกค้าเตียงผู้ป่วย

สรุป

         เตียงผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากผู้ป่วยจะใช้ชีวิตอยู่บนเตียงโดยส่วนใหญ่ ดังนั้น การเลือกซื้อเตียงจึงต้องมีความพิถีพิถัน และใส่ใจเป็นพิเศษ วิธีการเลือกซื้อเตียงในบทความนี้ จะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้ซื้อเตียงที่มีคุณภาพสำหรับผู้ป่วย และคุ้มค่าสำหรับผู้ดูแลนะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup