ไขข้อสงสัย ความดันต่ำ เท่าไหร่อันตราย! รักษาด้วยตัวเองได้ไหม?

ความดันต่ำ อาการ

         บางครั้งอาการผิดปกติอย่างอ่อนแรงคล้ายจะเป็นลม เวียนศีรษะ ตัวซีดผิวเย็น อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะ ความดันต่ำ เกิดจากกระแสแรงดันเลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้นไม่เพียงพอ โดยมาจากปัจจัยต่าง ๆ ALLWELL จึงขอพาท่านผู้อ่าน ไปรู้จักกับภาวะความดันต่ำ หนึ่งในอาการความดันที่คุณควรตรวจเช็ก เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายบางอย่างก็เป็นได้ค่ะ

สารบัญ

รู้หรือไม่?! ทางการแพทย์ไม่จัดให้อาการความดันต่ำเป็น “โรค” แต่จัดเป็น “ภาวะ” เนื่องจากความดันต่ำมักเป็นอาการเฉียบพลัน ที่ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เหมือนความดันสูง

 ความดันต่ำ เกิดจากอะไร?

           ความดันต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือค่าความดันเลือดต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (ความดันปกติ คือไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท) อันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ พบได้ทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุ แต่พบมากในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคร้ายแรงบางชนิด

ความดันต่ำ อันตรายไหม? ต่ำเท่าไหร่ถึงเรียกว่าอันตราย?

          หากถามว่า ความดันต่ำ อันตรายไหม? ต้องบอกว่า โดยปกติความดันต่ำเป็นภาวะที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง แต่ก็ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่ดีหรือไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน หมดสติ ร่างกายขาดออกซิเจน หรือเข้าสู่ภาวะช็อก และอันตรายถึงชีวิตกับผู้ป่วยโรคร้ายแรงหรือผู้ป่วยวิกฤติได้

         ซึ่งความดันต่ำที่อันตราย คือค่าความดันที่ต่ำกว่า 60/40 มิลลิเมตรปรอท อยู่ในระดับที่ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน อ่อนแรง เบลอ เป็นลม ฯลฯ แต่ถ้าหากความดันต่ำกว่า 50/33 มิลลิเมตรปรอท จะอยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องรีบได้รับการรักษาจากแพทย์โดยทันที เพราะผู้ป่วยจะมีอาการโคม่า และเสี่ยงเสียชีวิตได้

ระดับความดันค่าตัวบน (Systolic)ค่าตัวล่าง (Diastolic)
ความดันปกติไม่เกิน 120 mmHgไม่เกิน 80 mmHg
ความดันต่ำ90 mmHg60 mmHg
ความดันต่ำมาก60 mmHg40 mmHg
ความดันต่ำวิกฤต≤  50 mmHg≤  33 mmHg

(ข้อมูลจาก ensocure / probaway)

สาเหตุของอาการความดันต่ำ

  1. ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน วิตามินซี ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง จนเกิดการคลายตัวมากเกินไป
  2. ภาวะขาดน้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนและกลับเข้าสู่หัวใจได้น้อย ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นบีบตัวน้อยลง จนเกิดภาวะความดันในเลือดต่ำ
  3. การไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน และมีการเปลี่ยนท่านั่งหรือท่ายืนอย่างกะทันหัน หลังจากนอนนาน ๆ
  4. ภาวะเลือดจาง ส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดน้อยลง จนนำไปสู่ความดันในหลอดเลือดต่ำ
  5. มีการกระตุ้นสมองและวงจรประสาทอัตโนมัติ ทำให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานผิดปกติ ความดันจึงต่ำลง เช่น กลัว ตกใจ เจ็บ หรืออากาศร้อนอบอ้าว การอาบน้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก
  6. โรคภูมิแพ้หรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ส่งผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดมากเกินปกติ
  7. โรคหัวใจ ซึ่งหัวใจบีบตัวผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  8. การตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องเพิ่มเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนหรือปริมาณชองเลือดในร่างกายของแม่ลดลง ส่งผลให้เกิดความดันต่ำได้
  9. โรคต่อมไร้ท่อ ซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด และเกลือแร่ต่าง ๆ ที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนของเลือด
  10. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดความดันในเลือดสูง ยาทางจิตเวชบางชนิด

ความดันต่ำ อาการ

สังเกตอาการความดันต่ำ

  • หน้ามืด เวียนศีรษะ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นแรง
  • ตาลาย ตาพร่ามัว
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ตัวเย็น มือ-เท้าเย็น ตัวซีด
  • กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย
  • หายใจลำบาก
  • เป็นลม หมดสติ หรือชัก
แล้วความดันสูง อาการเป็นอย่างไร? ลองเช็กเลย! Click

BLOOD PRESSURE MONITOR JPD-HA120

Original price was: 2,490฿.Current price is: 1,490฿.

เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี

อ่านเพิ่ม

 ความดันต่ำ รักษาได้ไหม?

         ความดันต่ำ สามารถรักษาได้ ซึ่งเป้าหมายในการรักษาคือการควบคุมความดันต่ำให้ปกติ ลดและบรรเทาอาการความดันต่ำไม่พึงประสงค์ และดูแลสุขภาพผู้ป่วยให้แข็งแรง โดยแนวทางการรักษาแพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุหรือต้นตอที่ทำให้เกิดความดันต่ำ เช่น หากเกิดจากโรค ก็ต้องทำการรักษาโรคนั้นๆ เกิดจากการขาดน้ำ ก็จะให้น้ำเกลือทดแทน หรือหากการรักษาต่าง ๆ ไม่สามารถเพิ่มความดันโลหิตให้กลับมาปกติได้ ก็จะใช้การจ่ายยาให้กับผู้ป่วยเพื่อรักษาระดับความดันให้ปกติ

ความดันต่ำ รักษา

ความดันต่ำ วิธีแก้ด้วยตัวเอง

         ภาวะความดันต่ำ แก้ไขด้วยตัวเองได้ หากเป็นในระดับที่ไม่อันตรายหรือวิกฤต โดยปกติแพทย์จะให้ผู้ป่วยกลับมาดูแลด้วยตนเองควบคู่ไปกับการรักษาที่ต้นตอไปด้วย ซึ่งแนวทางการแก้ไขความดันต่ำด้วยตนเอง คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นให้ใส่ถุงน่อง เพื่อลดการแช่ค้างของเลือด
  2. ยืดเส้นยืดสายเบา ๆ ทุกเช้า เพื่อให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น
  3. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8 – 10 แก้ว
  4. กินยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  5. กินอาหารแต่ละมื้อ ไม่ให้อิ่มเกินไป
  6. เปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ ให้ช้าลง
  7. เวลานอนให้ยกศีรษะให้สูงกว่าปกติ

แนวทางข้างต้นยังสามารถใช้เป็นวิธีในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันของผู้ที่มีความดันต่ำได้ด้วย

วิธีป้องกันความดันต่ำ

         อย่างที่ได้พูดถึงสาเหตุของความดันต่ำไปข้างต้นว่า ความดันต่ำ เกิดจากหลายสาเหตุและปัจจัย ดังนั้น การป้องกันความดันต่ำจึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดด้วย อย่างไรก็ตาม ก็พอจะมีแนวทางในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดภาวะความดันต่ำอยู่บ้าง

อาการความดันสูง

  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนตามโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง และเนื้อสัตว์ติดมัน หันมาเน้นผัก ผลไม้ แทน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันต่ำ หันมาดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ แทน
  • เวลาเปลี่ยนท่าทาง หรือลุกขึ้นยืน ควรทำอย่างช้า ๆ ไม่เปลี่ยนอิริยาบถรวดเร็วเกินไป ลองยืดเหยียดร่างกายก่อนเปลี่ยนท่า เช่น หากนอนอยู่แล้วจะลุก ให้ยืดเหยียดร่างกาย แล้วค่อยนั่งข้างเตียงก่อน จึงค่อยลุกขึ้นยืน เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ หากจำเป็นต้องยืน พยายามหาที่นั่งพักบ้าง
  • หมั่นตรวจเช็กความดันโลหิตของตนเองเป็นประจำ ด้วยการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต และควรจดบันทึกผลการวัดความดันเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย

สรุปภาวะความดันต่ำ

         ความดันต่ำ แม้จะไม่ใช่โรคร้าย แต่ก็เป็นภาวะหนึ่งที่ควรเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เมื่อตรวจพบอาการความดันผิดปกติ ควรสังเกตตนเองและเข้าพบแพทย์เพื่อหาทางวินิจฉัยและรักษาระดับความดันให้ปกติ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อให้แพทย์สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น และจะช่วยป้องกันภาวะความดันต่ำซ่อนแอบแบบไม่รู้ตัวด้วย

สาระเกี่ยวกับความดันโลหิต

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup