จะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ป่วยที่คุณดูแลเสี่ยงแผลกดทับมากแค่ไหน? มาลองทำ แบบประเมินแผลกดทับ กันเถอะ!

แบบประเมินแผลกดทับ

         หลาย ๆ ท่านที่มีผู้ป่วยต้องดูแล เคยสงสัยไหมคะว่า ผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นแผลกดทับ มากน้อยแค่ไหน? หากมีความเสี่ยง ต้องป้องกันและดูแลแผลกดทับอย่างไร ควรใช้ที่นอนกันแผลกดทับแบบไหนถึงจะดี? ดังนั้น เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถเลือกที่นอนกันแผลกดทับ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด ALLWELL เลยมี แบบประเมินแผลกดทับ ที่จะช่วยหาแนวทางในการป้องกันและรักษาแผลกดทับให้กับผู้ป่วย มาฝากทุกท่านค่ะ

สารบัญ

มาเช็กระดับความเสี่ยงแผลกดทับของผู้ป่วย ด้วย แบบประเมินแผลกดทับ นี้เลย!

         แบบประเมินแผลกดทับ วอเตอร์โลว์ (The Waterlow Scale) เป็นแบบประเมินที่ถูกจัดทำขึ้น เพื่อประเมินความเสี่ยง และหาแนวทางป้องกันและรักษาแผลกดทับ สามารถประเมินได้ทั้งผู้ป่วยที่เกิดการบาดเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้ ง่าย ๆ แค่เพียง 11 ข้อเท่านั้นค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว เตรียมกระดาษ – ปากกาสำหรับจดคะแนน แล้วเริ่มประเมินได้เลยค่ะ

แบบประเมินแผลกดทับ

1.เพศ

       ○ เพศชาย (1 คะแนน)

       ○ เพศหญิง (2 คะแนน)

2.อายุ

       ○ อายุต่ำกว่า 14 ปี (0 คะแนน)

       ○ อายุตั้งแต่ 14 – 49 ปี (1 คะแนน)

       ○ อายุตั้งแต่ 50 – 64 ปี (2 คะแนน)

       ○ อายุตั้งแต่ 65 – 74 ปี (3 คะแนน)

       ○ อายุตั้งแต่ 75 – 80 ปี (4 คะแนน)

       ○ อายุตั้งแต่ 81 ปีขึ้นไป (5 คะแนน)

3.ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

       ○ ค่าปกติ BMI 20 – 24.9 (0 คะแนน)

       ○ สูงกว่าปกติ BMI 25 – 29.9 (1 คะแนน)

       ○ อ้วน BMI มากกว่า 30 (2 คะแนน)

       ○ ต่ำกว่าปกติ BMI น้อยกว่า 20 (3 คะแนน)

>> คำนวนค่าดัชนีมวลกาย BMI คลิก!!!<<

4.สภาพผิวหนัง

       ○ ผิวหนังปกติ (0 คะแนน)

       ○ ผิวหนังบอบบางหรือแห้ง (1 คะแนน)

       ○ ผิวหนังบวมน้ำหรือชื้นเย็น (1 คะแนน)

       ○ ผิวหนังมีรอยแดงหรือมีแผลกดทับระดับ 1

          (2 คะแนน)

       ○ ผิวหนังฉีกขาดหรือมีแผลกดทับระดับ 2 – 4

          (3 คะแนน)

ตัวอย่างแผลกดทับแต่ละระดับ

ระดับของแผลกดทับ

5.การควบคุมการขับถ่าย

       ○ ควบคุมได้ปกติ และไม่ได้ใส่สายสวนปัสสาวะ

          (0 คะแนน)

       ○ ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้เป็นบางครั้ง

          (1 คะแนน)

       ○ มีปัญหาในการกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะ

          อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใส่สายสวนปัสสาวะ

          (2 คะแนน)

       ○ มีปัญหาในการกลั้นทั้งอุจจาระและปัสสาวะ

          (3 คะแนน)

6.การเคลื่อนไหวร่างกาย

       ○ เคลื่อนไหวได้ปกติ (0 คะแนน)

       ○ เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย พอลุกนั่งได้ (1 คะแนน)

       ○ ไม่กระตือรือร้นในการเคลื่อนไหว (2 คะแนน)

       ○ ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว (3 คะแนน)

       ○ นอนติดเตียงหรือถูกดึงถ่วงน้ำหนัก (4 คะแนน)

       ○ นั่งรถเข็นตลอดเวลา (5 คะแนน)

7.ภาวะโภชนาการ

       A : ผู้ป่วยน้ำหนักลดลงหรือไม่

                  ○ ถ้าลดไปข้อ B

                  ○ ถ้าไม่ลดไปข้อ C

                  ○ ถ้าไม่แน่ใจให้ 2 คะแนน แล้วไปข้อ C

            B : น้ำหนักผู้ป่วยลดลงเท่าไหร่

                  ○ 0.5 – 5 กิโลกรัม (1 คะแนน)

                  ○ 6 – 10 กิโลกรัม (2 คะแนน)

                  ○ 11 – 15 กิโลกรัม (3 คะแนน)

                  ○ มากกว่า 15 กิโลกรัม (4 คะแนน)

            C : ความอยากอาหารของผู้ป่วย

                  ○ อยากอาหารและกินได้ปกติ (0 คะแนน)

                  ○ ไม่อยากอาหาร หรือต้องให้อาหาร

                      ทางสายยาง (1 คะแนน)

แบบประเมินแผลกดทับ

ตัวอย่างการให้อาหารทางสายยาง

8.โรคประจำตัว

       ○ ไม่มีโรคประจำตัว (0 คะแนน)

       ○ โรคขาดสารอาหารเรื้อรัง (8 คะแนน)

       ○ อวัยวะล้มเหลวมากกกว่า 2 ระบบขึ้นไป

          เช่น ระบบหัวใจ ระบบหลอดเลือด ตับหรือไตวาย

          (8 คะแนน)

       ○ อวัยวะล้มเหลว 1 ระบบ หรือมีโรคเกี่ยวกับ

          การไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย (5 คะแนน)

       ○ โรคโลหิตจาง (2 คะแนน)

       ○ สูบบุหรี่ (1 คะแนน)

9.ความบกพร่องทางระบบประสาท (ให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของโรค)

       ○ ไม่มีความบกพร่องทางระบบประสาท

          (0 คะแนน)

       ○ โรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทอักเสบ

           โรคหลอดเลือดสมอง (4 – 6 คะแนน)

       ○ มีการสูญเสียกำลังของกล้ามเนื้อ

          หรือการรับความรู้สึกลดลง (4 – 6 คะแนน)

       ○ ภาวะอัมพาตของร่างกายส่วนล่าง (4 – 6 คะแนน)

10.ผลจากการผ่าตัดใหญ่หรือได้รับบาดเจ็บ

      ○ ผ่าตัดกระดูกและข้อ (5 คะแนน)

      ○ เคยต้องผ่าตัดมากกว่า 2 ชั่วโมง (5 คะแนน)

      ○ เคยต้องผ่าตัดมากกว่า 6 ชั่วโมง (8 คะแนน)

11.ได้รับยาบางชนิด

      ○ ได้รับยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ ได้รับยาในระยะยาว

          หรือได้รับยาสเตียรอยด์ในปริมาณสูง ได้รับยา

          ต้านอักเสบ (4 คะแนน)

ระดับความเสี่ยงของผู้ป่วย (นำคะแนนทั้ง 11 ข้อมารวมกัน)

10 – 14 คะแนนเริ่มเสี่ยงเป็นแผลกดทับ (At Risk)
15 – 19 คะแนนมีความเสี่ยงสูง (High Risk)
20 คะแนนขึ้นไปมีความเสี่ยงสูงมาก (Very High Risk)

ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับหรือมีความเสี่ยง ควรใช้ที่นอนกันแผลกดทับแบบไหน?

         หลังจากทำแบบประเมินแผลกดทับวอเตอร์โลว์ไปแล้ว คงทราบแล้วว่าผู้ป่วยที่คุณดูแลอยู่นั้น มีความเสี่ยงในการเป็นแผลกดทับมากน้อยแค่ไหน หลายท่านอาจสงสัยว่า ระดับความเสี่ยงแผลกดทับของผู้ป่วยของท่าน ควรจะใช้ที่นอนกันแผลกดทับแบบไหนถึงจะดี?

ที่นอนกันแผลกดทับ

         สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้มีความเสี่ยง (ต่ำกว่า 10 คะแนน) เริ่มมีความเสี่ยง (10 – 14 คะแนน) หรือมีความเสี่ยงแผลกดทับสูง (15 – 19 คะแนน) จะเป็นผู้ป่วยประเภทที่ยังพอเคลื่อนไหวได้ จึงเหมาะสำหรับที่นอนโฟมกันแผลกดทับค่ะ

         เนื่องจากที่นอนโฟมกันแผลกดทับ ถูกออกแบบมาเพื่อดูแลและป้องกันแผลกดทับโดยเฉพาะ ช่วยลดแรงเสียดสีและแรงเฉือนได้ดี อีกทั้งเวลาผู้ป่วยนอนจะรู้สึกสบายมากกว่าการใช้ที่นอนลมพราะไม่เวียนศีรษะ ไม่มีเสียงรบกวนผู้ป่วย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าและค่าบำรุงรักษาปั๊มลมเหมือนที่นอนลมด้วยค่ะ

         หากท่านใดกำลังมองหาที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับคุณภาพสูง และคุ้มค่าคุ้มราคาอยู่ล่ะก็ บทความนี้ ขอแนะนำเป็นที่โฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury จาก ALLWELL เลยค่ะ เพราะเป็นที่นอนโฟมจากประเทศอังกฤษ ที่ผ่านการวิจัยและได้การรับรองมาตรฐาน BS EN ISO 2439 :2008 (การทดสอบความต้านต่อแรงกดทับ) BS EN ISO 3385 :2014 (การทดสอบการคืนรูปของเนื้อโฟม) และมาตรฐานป้องกันการลุกลามของไฟ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยและสามารถดูแลผู้ป่วยได้จริงค่ะ

ที่นอนกันแผลกดทับ

         นอกจากนี้ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury ยังมีเนื้อโฟมที่ทำจาก Polyurethane Foam เป็นโฟมที่มีความหนาแน่นสูง และยังออกแบบร่องโฟมแบบ “Castellated Cut” ขนาดร่องเล็กและใหญ่ เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักและสรีระในแต่ละส่วนของผู้ป่วย ช่วยในการกระจายน้ำหนักและแรงกดทับได้อย่างดีเยี่ยม สามารถรองรับน้ำหนักตัวผู้ป่วย ได้มากถึง 254 กิโลกรัม และยังมีขอบโฟม CME ที่ช่วยรักษารูปทรงของที่นอนไม่ให้ยุบตัว จึงมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 8 ปีเลยค่ะ

         ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงแผลกดทับสูงมาก (20 คะแนนขึ้นไป) แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการดูแลรักษา เพราะการใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับอาจจะยังไม่เพียงพอ จึงต้องมีการทำการรักษาพยาบาล ผ่าตัด หรือให้ยา ควบคู่ไปกับการใช้ที่นอนกันแผลกดทับ ถึงจะดูแลแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพนะคะ

สนใจ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ คลิกเลย!

นอกจากที่นอนกันแผลกดทับ ยังมีอุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับใดอีกบ้าง?

         การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันและลดความเสี่ยงแผลกดทับ เป็นตัวเลือกสำคัญ จากงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับ สามารถลดอัตราการเกิดแผลกดทับได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ใช้อุปกรณ์อะไรเลย ดังนั้น เพื่อให้ป้องกันแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เรามาดูกันว่า มีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยใดอีกบ้าง ที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงแผลกดทับได้

เตียงปรับระดับไฟฟ้า

เตียงผู้ป่วย เตียงไฟฟ้า เตียงปรับระดับ จาก ALLWELL นำเข้าจากต่างประเทศ ดีไซน์สวย ฟังก์ชันครบ โรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศเลือกใช้

  • เตียงผู้ป่วยปรับไฟฟ้า เนื่องจากมีฟังก์ชันในการปรับท่าทางผู้ป่วยได้หลากหลาย เหมาะสมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย ทั้งนอน นั่ง กินข้าว หรือทำความสะอาด ลดการเกิดแผลกดทับจากการนอนนาน ๆ อีกทั้งยังป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการลาก-ดึงตัวผู้ป่วย ในขณะเปลี่ยนท่าทางอีกด้วย
สนใจ เตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ เตียงปรับไฟฟ้า นำเข้าจากต่างประเทศ คลิก!!!

ผ้าปูที่นอน

ผ้าปูที่นอน Microtex Sheets และผ้าปูที่นอนเยื่อไผ่ Bamboo Sheet จาก ALLWELL ให้สัมผัสนุ่มลื่น เย็นสบาย ไม่ระคายผิวหนัง ดูดซับความชื้น และระบายอากาศได้ดี

  • ผ้าปูที่นอน ที่มีเนื้อสัมผัสนุ่มลื่น อย่างเช่นเนื้อผ้า Microtex หรือเยื่อไผ่ จะช่วยทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยไม่เกิดความระคายเคืองหรือเกิดแรงเฉือนจากความหยาบกระด้าง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนและความอับชื้นได้ดีกว่าผ้าชนิดอื่น จึงช่วยลดโอกาสในการเกิดแผลกดทับได้
สนใจ ผ้าปูที่นอน สัมผัสนุ่มลื่น เย็นสบาย ไม่ระคายเคืองผิวผู้ป่วย คลิก!!!

ผ้ารองกันเปื้อน

ผ้ารองกันเปื้อน ALLWELL ป้องกันของเหลวซึมลงที่นอน ไม่อับชื้น ทำความสะอาดง่าย ใช้ได้ทั้งผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไป

  • ผ้ารองกันเปื้อน มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันของเหลวซึมผ่านที่นอน แห้งไว และระบายความอับชื้นได้ดี เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีปัสสาวะซึมจากผ้าอ้อม ลดปัญหาการเกิดแผลกดทับที่มาจากผิวหนังอักเสบ เนื่องจากถูกปัสสาวะกัดผิวและความอับชื้น
สนใจ ผ้ารองกันเปื้อน ผ้าขวางเตียง คลิก!!!

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ

เบาะโฟมรองนั่งกันแผลกดทับ Dyna-Tek Superior จาก ALLWELL กระจายแรงกดทับได้ดี ไม่อับชื้น อายุการใช้งานยาวนาน ใช้กับรถเข็นวีลแชร์ได้

  • เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันและดูแลปัญหาแผลกดทับที่เกิดจากการนั่งโดยเฉพาะ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้วีลแชร์เป็นระยะเวลานาน หรือต้องนั่งนาน ๆ เพราะมักเสี่ยงเป็นแผลกดทับที่บริเวณก้นและกระดูกกระเบนเหน็บ (ก้นกบ) สูง
สนใจ เบาะโฟมรองนั่งกันแผลกดทับ คลิก!!!

สรุป

         การป้องกันและลดความเสี่ยงแผลกดทับให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ดูแลควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงแผลกดทับของผู้ป่วย ซึ่งแบบประเมินความเสี่ยงแผลกดทับวอเตอร์โลว์ ก็เป็นแบบประเมินหนึ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถเลือกอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย ทำให้สามารถเห็นแนวทางการดูแลและป้องกันผู้ป่วยได้ดีมากยิ่งขึ้นค่ะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup