ไขข้อข้องใจ! วัคซีนโควิด-19 ฉีดได้ที่ไหน? Sinovac ที่ฉีดในไทย มีผลข้างเคียงหรือไม่?

วัคซีนโควิด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         สถานการณ์การรับมือกับไวรัสโคโรน่าหรือโรคโควิด-19 ณ ปัจจุบัน (เมษายน 2564) นอกจากการป้องกันตนเองแล้ว “ วัคซีนโควิด ” เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะลดโอกาสการติดเชื้อ และลดอาการโควิดที่รุนแรงได้ ซึ่งประเทศไทย ก็ได้มีการนำเข้าวัคซีนมาจาก 3 บริษัท หนึ่งในนั้นคือวัคซีน Sinovac ที่หลายคนไม่มั่นใจในประสิทธิภาพ จึงเกิดข้อสงสัยว่าวัคซีนนี้มีผลข้างเคียงหรือไม่? ป้องกันได้จริงหรือเปล่า? ฉีดได้ที่ไหน? บทความนี้มีคำตอบค่ะ

วัคซีนโควิด

สารบัญ

สินค้า COVID ลดราคา สั่งซื้อผ่านไลน์ คลิก

วัคซีนโควิด-19 สามารถป้องกันการไวรัสได้จริงไหม?

         วัคซีน คือ สารชนิดหนึ่งที่ได้จากเชื้อโรคบางชนิด หรืออาจเกิดจากกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ เมื่อถูกฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้ว สารเหล่านี้จะไปกระตุ้นเซลล์ร่างกาย ให้สร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะขึ้น เพื่อต่อต้านเชื้อโรคนั้น ๆ โดยวัคซีนมีอยู่หลายประเภท เนื่องจากมีวิธีในการผลิตและ องค์ประกอบในวัคซีนที่แตกต่างกันไป วัคซีนโควิด-19 เองก็เช่นกัน

วัคซีนโควิด

         วัคซีนโควิด-19 ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 หลายคนอาจลังเลสงสัยว่า วัคซีนโควิดที่วางจำหน่ายหรือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะสามารถป้องกันไวรัสได้จริงไหม? ต้องบอกเลยว่า วัคซีนที่ถูกอนุมัติแล้ว สามารถใช้ได้จริงค่ะ แต่ประสิทธิภาพของแต่ละยี่ห้อนั้นแตกต่างกันออกไป แต่ปัจจุบัน (เมษายน 2564) ยังไม่มียี่ห้อไหนที่ป้องกันการติดเชื้อได้ 100%          

         ก่อนที่จะมีการอนุมัติให้วางจำหน่ายได้ วัคซีนเหล่านั้นจะต้องผ่านการทดสอบด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้แน่ชัดก่อน จากนั้นจะเริ่มนำมาศึกษาทางคลินิก หรือก็คือการทดลองฉีดให้คนนั่นเอง โดยการศึกษาทางคลินิกนี้ มี 3 ระยะ คือ

  • การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 1 ทดสอบกับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี จำนวนไม่กี่คน เพื่อดูว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือมีผลข้างเคียงใดที่เป็นอันตรายเปล่า
  • การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 2 จะทดสอบกับผู้ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคหรือพื้นที่เสี่ยง ในจำนวนหลายร้อยคน ซึ่งเน้นดูประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ในระยะนี้ จะใช้เวลาในการศึกษาอยู่หลายเดือน
  • การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 ทดสอบกับผู้ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรค ในจำนวนที่มากขึ้นกว่าเดิม คือประมาณหลายพันคน ในระยะนี้จะใช้เวลาศึกษาหลายปี แต่ในกรณีเร่งด่วนที่เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง อย่างกรณีของโรคโควิด-19 มีความจำเป็นต้องเร่งการผลิตและกระบวนอนุมัติเพื่อให้มีวัคซีนออกมาใช้โดยเร็วที่สุด

         จะเห็นได้ว่า ก่อนที่จะมีการอนุมัติให้จำหน่ายหรือนำมาใช้ในการป้องกันอย่างเป็นทางการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ในปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนรวมทั่วโลกแล้วกว่า 100 ล้านโดส แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้การันตีว่า จะสามารถป้องกันได้ 100% นะคะ เพียงแต่ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ หรือลดความรุนแรงของอาการป่วยลงเท่านั้นค่ะ

วัคซีนต้านโควิด

         ณ ปัจจุบัน (เมษายน 2564) วัคซีนป้องกันโควิด ที่ถูกวิจัยและพัฒนา มีด้วยกัน 6 ชนิดหลัก ๆ แบ่งตามเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีน คือ (อ้างอิง ประชุมวิชาการออนไลน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

  • Viral-Vector Vaccine คือ วัคซีนที่ใช้เชื้อไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรคกับมนุษย์ มาเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโคโรน่าเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
  • mRNA Vaccine คือ การใช้พันธุกรรมบางส่วนของเชื้อไวรัส มาฉีดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
  • Protein-nanoparticle Vaccine คือ วัคซีนที่ใช้โปรตีนส่วนหนึ่งของไวรัส มาฉีดกระตุ้นเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
  • DNA Vaccine คือ วัคซีนที่สอดแทรกยีนที่สร้างแอนติเจน เข้าไปใน DNA แล้วฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อหรือผิวหนัง เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
  • Inactivated Vaccine คือ วัคซีนที่นำเชื้อไวรัสที่ถูกทำให้ตายแล้ว มาฉีดกระตุ้นเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
  • VLP (Virus Like Particle) คือ วัคซีนอนุภาคคล้ายไวรัส มาฉีดกระตุ้นเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน

         จากภาพรวมการเลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก พบว่า วัคซีนประเภท mRNA ถูกนำมาฉีดให้กับประชากรมากที่สุด รองลงมาคือ Inactivated Vaccine ส่วนแบบอื่นนั้นยังอยู่ในขั้นตอนวิจัยพัฒนา และหากได้ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดี ก็มีโอกาสจะนำมาใช้ในอนาคต

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยมีอะไรบ้าง? ฉีดแล้วมีผลข้างเคียงไหม?

         ในประเทศไทย มีวัคซีนโควิด-19 จากหลายบริษัท ที่ได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้งานแล้ว มีทั้งชนิดที่ได้รับอนุมัติทะเบียนอย่างสมบูรณ์ และชนิดที่ได้รับอนุมัติให้ใช้กรณีฉุกเฉิน จำนวนไม่น้อยกว่า 8 ชนิด โดยประเทศไทยเอง ก็ได้มีการพิจารณานำเข้าวัคซีนมาใช้ โดยวัคซีนนั้น จะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนและได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง รวมถึงมีการอนุมัติใช้แล้วในหลากหลายประเทศและได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ซึ่งปัจจุบัน (เมษายน 2564) ประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนทั้งหมด 3 บริษัท
วัคซีนป้องกันโควิด
  • AstraZeneca จากประเทศอังกฤษ เป็นวัคซีนชนิด Viral Vector หรือชนิดที่ใช้เชื้อไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรคกับมนุษย์มาเป็นพาหะ กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถเก็บรักษาในตู้เย็นมาตรฐานทั่วไปได้ โดยต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 4 – 12 สัปดาห์ โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร มีประสิทธิภาพเฉลี่ยประมาณ 70 %
  • Sinovac จากประเทศจีน เป็นวัคซีนชนิด Inactivated vaccine หรือชนิดที่นำเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว มาฉีดกระตุ้นเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถเก็บรักษาในตู้เย็นมาตรฐานทั่วไปได้ ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 2 – 4 สัปดาห์ หากเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงรุนแรงให้ฉีดห่าง 2 สัปดาห์ วิธีฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ ครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร มีประสิทธิภาพเฉลี่ยประมาณ 70 %50 – 90 %
  • Johnson & Johnson จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวัคซีนชนิด Viral Vector แบบเดียวกับ AstraZeneca สามารถเก็บรักษาในตู้เย็นมาตรฐานทั่วไปได้ เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวที่ฉีดเพียง 1 เข็มก็เพียงพอ แต่ปัจจุบันบริษัทก็ได้กำลังพัฒนาและทดสอบการฉีดแบบ 2 เข็ม เพื่อทดสอบว่าจะได้ประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ส่วนประสิทธิภาพในการใช้งานในตอนนี้นั้นยังไม่ระบุแน่ชัด ส่วนในประเทศไทยยังไม่เริ่มนำวัคซีนนี้มาฉีดจริง เพียงแต่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น

การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบตามจำนวนเข็มที่แจ้ง และไม่ควรฉีดข้ามยี่ห้อ เพราะร่างกายได้จดจำรหัสพันธุกรรมจากเข็มแรกที่ฉีดไปแล้ว หากฉีดข้ามยี่ห้ออาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดน้อยลงได้

ณ ปัจจุบันได้มีการตรวจพบว่า เชื้อโควิด-19 ได้มีการกลายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกกันว่า โควิดสายพันธุ์อังกฤษ ที่สามารถแพร่ได้เร็วติดง่ายกว่าเดิมถึง 1.7 เท่า ส่งผลให้ต้องวิจัยและพัฒนาต่อไปว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้กันในปัจจุบัน จะสามารถป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษนี้ได้หรือไม่

ยอดติดเชื้อพุ่ง! โควิดสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์ใหม่ในไทย ติดง่ายและแพร่เร็วกว่าเดิม 1.7 เท่า! เช็กเลย!!!

ส่วนใครที่กำลังสงสัยว่าฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วมีผลข้างเคียงไหม? จากการสำรวจผู้ที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว 25,864 ราย (ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม 2564) พบว่ามีผู้ที่ได้รับผลข้างเคียง 828 ราย หรือประมาณ 3.2% ของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด โดยแบ่งอาการได้ดังนี้ค่ะ (ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)

  • อาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง ได้แก่ มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดบริเวณที่ฉีด
  • อาการข้างเคียงชนิดรุนแรง ได้แก่ มีไข้สูง ผื่นขึ้นทั่วร่างกาย ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง มีจุดเลือดออกจำนวนมาก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปากเบี้ยว ชักหมดสติ

วัคซีนโควิด ผลข้างเคียง

รูปภาพจาก : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

         หากพบว่าหลังฉีดมีอาการข้างเคียง ให้รายงานอาการต่าง ๆ ผ่านทาง Line Official Account หมอพร้อม แต่หากมีอาการผิดปกติในวันแรก ให้แจ้งที่สายด่วน 1669 เพื่อให้รถพยาบาลไปรับมายังสถานพยาบาลตามระบบที่วางไว้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและปลอดภัยยิ่งขึ้นนอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2564 ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแถบยุโรปหลายประเทศ ได้สั่งระงับการฉีดวัคซีน Johnson & Johnson ชั่วคราว เพื่อตรวจสอบวัคซีน เนื่องจากพบผลข้างเคียงลิ่มเลือดในผู้ที่ได้รับวัคซีน ซึ่งในประเทศไทยเองก็ได้นำเข้าวัคซีนชนิดนี้เข้ามา แต่ยังไม่ได้เริ่มฉีดให้ประชาชน จึงยังไม่พบผลข้างเคียงที่ว่านี้เกิดกับคนไทย

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ที่ไหน? ทำอย่างไรจึงจะฉีด?

แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากเสี่ยงติดโรคโควิด-19 วัคซีนจึงกลายเป็นความหวังของใครหลาย ๆ คน แต่น่าเสียดาย ที่ ณ ปัจจุบัน (เมษายน 2564) ประเทศไทยยังไม่ได้มีมาตรการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทุกคน แต่กลุ่มเป้าหมายในระยะแรก จะฉีดให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดก่อน ดังนี้

วัคซีนโควิด ฉีดที่ไหน

1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน (รวม อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน)2.เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เช่น ทหาร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่

  • โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 5
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน (มากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ มี BMI มากกว่า 35 ขึ้นไป)

4.ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป5.ประชาชนในพื้นที่ระบาด เช่น สมุทรสาคร บางแค ทองหล่อ         ลงทะเบียนรับวัคซีนได้ 2 วิธี1.ลงทะเบียนได้ที่ รพ.สังกัด กทม. /ศูนย์บริการสาธารณสุข ทุกแห่งใกล้บ้าน2.ลงทะเบียนผ่าน Line Official หมอพร้อม


ส่วนประชาชนทั่วไปนอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมาย ทางภาครัฐมีแผนจะฉีดให้ราว ๆ เดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2564 โดยจะฉีดวัคซีนของ AstraZeneca ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านโดสต่อเดือนค่ะ

สรุป

แม้วัคซีนโควิด-19 จะไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสนี้ได้ 100% แต่ ณ ปัจจุบัน วัคซีนก็เป็นตัวช่วยสำคัญในการต่อสู้กับไวรัสร้ายนี้ที่ดีที่สุด หลายประเทศทั่วโลกได้มีการฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชาชนทุกคน ส่วนในประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ภาครัฐกำหนด ก็ต้องรอติดตามข่าวสารต่อไป ซึ่งระหว่างนี้ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย ก็ยังคงเป็นการป้องกันและดูแลตนเองเช่นเดิมนะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup