คำเตือน
- ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
- อาจทำให้เกิดอาการช็อคหมดสติจากการทำงานผิดปกติของเครื่อง หรืออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายจากการรั่วของกระแสไฟฟ้า
- ควรระวังในการใช้กับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือด
- การใช้ที่นอนลมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยในการป้องกันและบรรเทาอาการ แผลกดทับเท่านั้น ถ้าอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ข้อควรระวัง
- บริเวณผิวหนังที่มีความผิดปกติ เช่น ผื่นแดง มีการอักเสบ หรือติดเชื้อ เป็นต้น
- <เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้
ข้อห้ามใช้
- บริเวณที่มีแผลบาดเจ็บหรือแผลเปิด
- ห้ามใช้กดที่ตำแหน่งเดียวต่อเนื่องนานเกิน 30 นาที
- ผู้ที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Phlebothrombosis)
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยกระดูกสันหลังหัก ซึ่งอาจมีการเคลื่อนที่ของกระดูก (Unstable Spinal Fractures)
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีการแตกหักของกระดูกที่ยังไม่เข้าที่ เนื่องจากการเคลื่อนไหว ของผิวแผ่นที่นอนลมอาจเป็นอันตรายได้
ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.1574/2563*อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ผู้จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
ALLWELL แตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างไร?
รางวัลสุดยอด SME แห่งชาติยอดเยี่ยม (2565) สำหรับผู้มีคะแนนสูงสุดจาก 1,000 กว่าบริษัท
รางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ 3 ปีซ้อน (2563-2565)
รางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ (2563, 2564, 2565)
รางวัล TOP SME ประจำปี 2563
มาตรฐาน ISO 9001 ติดต่อกัน 12 ปี
การประเมินผลระดับดีมาก (A) จากโรงพยาบาลชั้นนำ
AHF Exclusive Distributor & Dealer of the Year 2020

ผู้เชี่ยวชาญด้านเตียงไฟฟ้า
มั่นใจเรื่องบริการหลังการขาย เพราะทีมงานของเรามีประสบการณ์และบริการลูกค้าเตียงไฟฟ้ามานานมากกว่า 25 ปี

ผ่านมาตรฐานและการประเมิน
บริษัทผ่านมาตรฐาน ISO9001 / ได้รับรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติยอดเยี่ยม / การประเมินระดับ A จากรพ.ชั้นนำทั่วประเทศ

สินค้าที่รพ.ชั้นนำเลือกใช้
มีประวัติการขายเตียงไฟฟ้ากับ รพ.ชั้นนำทั่วประเทศ เช่น ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, กรุงเทพ, รามาธิบดี ฯลฯ

สินค้าอะไหล่พร้อมให้บริการ
จัดส่งสินค้าได้รวดเร็ว เพราะเรามีสินค้าโกดังขนาดใหญ่ที่ผ่านมาตรฐานการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ เช่น ISO9001 และGDPMD

อบรมโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิต
อบรมความรู้สินค้า และซ่อมบำรุงโดยบริษัทผู้ผลิตเป็นประจำ เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการมาตรฐานระดับเดียวกับผู้ผลิต

PARTNER ที่ร่วมงานกับเรา
เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทชั้นนำมากมาย เช่น SCG / FASCINO / ICARE / PHARMAX / BEST ASIAN FRIEND ฯลฯ
แผลกดทับนับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง และยังทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้นและยังยืดระยะเวลาออกไปอีก การใช้ ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ หรือ ที่นอนลม จึงเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ในระยะยาว และเป็นอีกวิธีในการลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ
ระดับความรุนแรงของแผลกดทับ
ระดับที่ 1 ในระยะนี้จะไม่มีแผลเปิด แต่จะพบรอยแดง รอยช้ำเล็กน้อยที่ผิวหนัง และหากรอยนั้นไม่จางหายภายใน 30 นาที นั่นแสดงว่าผู้ป่วยเกิดแผลกดทับในระยะเริ่มต้น
- ระดับที่ 2 ในระยะนี้เรียกได้ว่าเป็นระยะแผลงอกขยาย จะเกิดการทำลายของชั้นผิวหนังขึ้น ผิวหนังฉีกขาด หรืออาจเป็นแผลตื้นๆ ที่ชั้นผิวหนัง
- ระดับที่ 3 ผิวหนังถูกทำลายลึงลงไปถึงผิวหนังชั้นใน แต่ไม่ลึกถึงกระดูก อาจมองเห็นไขมันที่แผล
- ระดับที่ 4 ระยะนี้มีระดับที่รุนแรงมาก ผิวหนังถูกทำลายจนเป็นแผลลึกลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ เห็นกระดูก และโครงสร้างต่างๆ ของร่างกาย
ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ ที่นอนลม เลือกอย่างไร?
ปัจจัยหลัก ๆ ในการเลือกที่นอนกันแผลกดทับ นอกจากคุณสมบัติในการลดสาเหตุของแผลกดทับแล้ว ประการอื่นที่ต้องคำนึงถึงประการ ก็คือ
1.ความเหมาะสมในการใช้งานของผู้ป่วย- ที่นอนโฟม >> เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ แต่มีความเสี่ยง หรือเป็นแผลกดทับในระดับที่ 1-2
- ที่นอนลม >> เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับในระดับสูงเเล้ว
- ที่นอนโฟม >> กระจายแรงกดทับด้วยการตัดแบ่งเนื้อโฟม จึงไม่ต้องใช้ไฟฟ้า = ไม่ต้องซ่อมบำรุง ทำให้อายุการใช้งานอยู่ที่ 4-8 ปี
- ที่นอนลม >> กระจายแรงกดทับด้วยการสลับลอนที่นอนด้วยไฟฟ้า จึงต้องเปิดปั๊มลมให้ทำงานต่อเนื่อง 24ชม. และมีความเสี่ยงที่ลอนที่นอนจะรั่วบ่อย ทำให้อายุการใช้งานของที่นอนลมอยู่ที่ 1-2 ปี
- ที่นอนโฟม >> ฟูกที่นอนไม่ขยับ และเนื้อผ้าคลุมมีคุณสมบัติระบายอากาศ ไม่อับชื้น นอนสบาย
- ที่นอนลม >> ฟูกที่นอนขยับตลอดเวลา และทำจากวัสดุที่ไม่ระบายอากาศ ทำให้ผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัว นอนไม่สบาย
การดูแลรักษาแผลกดทับ
- เปลี่ยนท่านอนทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยจัดท่าให้ ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำ กึ่งตะแคง สลับกันไป เพื่อลดแรงกดทับที่ผิวหนังของผู้ป่วย
- ดูแลความสะอาดของผิวหนัง หมั่นตรวจความเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติของผิวหนังอยู่เสมอ และควรทำความสะอาดผิวหนังให้เช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ผิวหนังอับชื้น
- ดูแลอาหารของผู้ป่วย ให้มีโภชนาการที่ดี ห้ามให้ขาดสารอาหารเด็ดขาด โดยเฉพาะ วิตามิน A วิตามิน C โปรตีน เหล็ก สังกะสี เพราะจะช่วยให้บาดแผลฟื้นตัวได้ไวขึ้น เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้จะไปช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวได้เป็นอย่างดี
- ห้ามให้ผู้ป่วยอดอาหาร โดยทำตารางเวลาการรับประทานอาหารของผู้ป่วยไว้ หากผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบาก ให้ดื่มเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารอาหาร หรือทานอาหารเหลวแทน
- อุปกรณ์เสริมลดแรงกดทับ อาจใช้หมอนรองหรือผ้าพันเพื่อปกป้องผิวหนังและบรรเทาแรงกดทับ หรือเลือกใช้ที่นอนที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแผลกดทับ เช่น เตียงลม หรือ ที่นอนโฟม