เครื่องวัดน้ำตาล ตรวจน้ำตาล ตรวจเบาหวาน
เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับ ผู้ที่ต้องการควบคุมเบาหวานอย่างเคร่งครัด / ผู้ที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงและต่ำบ่อย ๆ / ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน และผู้ที่ต้องการดูแลตนเอง
แผ่นตรวจ 25 ชิ้น/กล่อง | เข็มเจาะเลือด 50 ชิ้น/กล่อง
บันทึกค่าได้ 400 ข้อมูล | ตั้งค่าโหมดการวัดก่อน-หลังมื้ออาหารได้ | รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
แผ่นและเข็มอย่างละ 25 ชิ้น | รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
เข็มเจาะเลือด 1 กล่อง ( 50 ชิ้น )
แผ่นตรวจ 25 ชิ้น/กล่อง | เข็มเจาะเลือด 50 ชิ้น/กล่อง
คำถามที่พบบ่อย
ในการเจาะเลือดแต่ละครั้ง ปกติแล้วมักจะได้ค่าไม่เท่ากัน เนื่องจากเลือดแต่ละหยดมีปริมาณขององค์ประกอบในเลือด (เกล็ดเลือด เม็ดเลือด ฯลฯ) ที่ไม่เท่ากัน รวมทั้งปัจจัยแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การบีบเค้นเลือด การปนเปื้อนจากแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ควรมีค่าความต่าง ไม่เกิน ±5 – 10 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
อ่านบทความ : ทำไมตรวจเบาหวาน แต่ละครั้งถึงได้ค่าไม่เท่ากัน?แผ่นทดสอบมีอายุการใช้งาน ประมาณ 2 ปีนับจากวันที่ผลิต (สามารถดูวันหมดอายุได้ที่ข้างกระปุกแผ่นทดสอบ) แต่หากมีการเปิดกระปุกแล้ว แผ่นทดสอบของ Glucosure Autocode จะมีอายุการใช้งาน 6 เดือน และ G-426 มีอายุการใช้งาน 3 เดือน
โดยปกติแล้ว เครื่องวัดน้ำตาลทุกรุ่น จะต้องใช่แผ่นทดสอบเฉพาะของรุ่นนั้น ๆ ดังนั้น ตัวเครื่องวัดน้ำตาลทั้งสองรุ่น ไม่สามารถใช้งานร่วมกับแผ่นทดสอบยี่ห้ออื่นได้
เกิดจากการปรับระดับความลึกปากกาเจาะเลือด ในระดับที่ไม่เหมาะสมกับความหนา-บางผิวของผิวนิ้วมือ โดยสามารถปรับระดับความลึกของปากกาเจาะเลือดได้ที่ส่วนหัวของปากกา โดย Glucosure Autocode สามารถปรับระดับความลึกได้ 6 ระดับ และ G-426 สามารถปรับได้ 5 ระดับ
ไม่มีจำหน่ายแยก หากน้ำยาทดสอบความแม่นยำหมด แล้วต้องการตรวจสอบความแม่นยำของตัวเครื่อง สามารถส่งมาตรวจสอบกับทีมช่างเทคนิค ได้ที่ศูนย์บริการ ALLWELL โดยตรงได้เลย
ควรใช้ เครื่องวัดน้ำตาล เวลาไหน? และควรควบคุมตัวเลขให้อยู่ที่เท่าไหร่?
- ก่อนทานอาหาร ระดับน้ำตาลควรอยู่ที่ 90 - 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- หลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- หากคุณรู้สึกใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออก เป็นลม ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย จะต้องเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด โดยที่ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ควรน้อยกว่า 7%
ใครบ้างที่ควรใช้ เครื่องวัดน้ำตาล
- ผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25
- มีความดันโลหิต หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง (เป็นโรคใดโรคหนึ่ง ความเสี่ยงต่ออีกโรคก็เพิ่มขึ้น) มีระดับไขมันในเลือดสูง
- สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กก.ไม่ออกกำลังกาย ดื่มสุรา และ/หรือสูบบุหรี่
จริงๆ แล้ว เครื่องวัดน้ำตาล สามารถใช้ได้กับทุกคน ไม่จำเป็นจะต้องใช้เฉพาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงเท่านั้น เพราะถึงแม้จะไม่มีความเสี่ยง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่เป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น เครื่องวัดน้ำตาลจึงเป็นตัวเลือกสำคัญหนึ่ง ที่ควรมีติดบ้านไว้สักเครื่อง เพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว
สังเกตได้อย่างไรว่าเสี่ยงเป็นเบาหวาน ?
ผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าครึ่ง มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นป่วยเป็นเบาหวาน กว่าจะรู้ตัวอีกที อาการก็อาจจะเป็นหนักไปเสียแล้ว กลายเป็นโรคเบาหวานแบบไม่รู้ตัว ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเอง ซึ่งสามารถสังเกตได้ ดังนี้- ปัสสาวะบ่อย และปริมาณมาก เพราะไต ได้ทำการกรองน้ำตาลส่วนเกินที่มากกว่าความจำเป็นของร่างกาย ให้ออกมาทางปัสสาวะ
- หิวน้ำบ่อย ซึ่งเกิดมาจากร่างกายที่ขับปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงรู้สึกหิวน้ำนั่นเอง
- กินมากกว่าปกติ แต่น้ำหนักลดลง
- ร่างกายเป็นแผลง่าย เมื่อเป็นแล้วหายช้ากว่าปกติ
- ตาพร่ามัว เบลอ มองอะไรไม่ชัดเจน
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย หิวบ่อย
- ชาตามปลายมือและปลายเท้า
คำเตือนสำหรับผู้มีภาวะเบาหวาน
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เครื่องและไม่ควรใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดนี้ ในการวินิจฉัยรักษาโรคหรือสั่งยาด้วยตนเอง
- ก่อนใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ควรอ่านฉลากเอกสารกำกับเครื่องและปฏิบัติตามทุกครั้ง
- หากมีปัญหาหรือต้องการทราบข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด โปรดติดต่อแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์
ข้อดีของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
- ใช้ตรวจสอบผลเลือดสำหรับผู้ที่มีอาการแสดงหรือมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน
- ใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว หรือต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด
- ใช้ประเมินผลการรักษาและประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
- ใช้ในการตรวจป้องกัน อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันทีเมื่อมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ในผู้ป่วยเบาหวาน
นอกจากการใช้ เครื่องวัดน้ำตาล แล้ว ควรดูแลตนเองอย่างไรถึงจะดี?
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ดื่มน้ำเปล่าสะอาด พยายามจิบน้ำบ่อย ๆ ตลอดวัน
- ทานอาหารในปริมาณน้อย โดยแบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ 5 - 6 มื้อ แทนการทานอาหารมื้อใหญ่
- หลีกเลี่ยงการทานของหวาน เพราะในของหวานมีส่วนประกอบของน้ำตาล มากกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ
- มองโลกในแง่ดี ไม่เครียด
- ตรวจวัดน้ำตาลอยู่เป็นประจำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด
- ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะนอกจากจะเสี่ยงเป็นเบาหวานแล้ว โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ จะตามมาด้วย เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิต
- ควบคุมแคลอรี่ โดยปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน จะอยู่ที่ประมาณ 30 - 35 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัวมาตรฐาน 1 กิโลกรัม
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.1537/2563*อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ผู้จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700