ตรวจเบาหวาน แต่ละครั้ง ได้ค่าไม่เท่ากันเลย เป็นแบบนี้เครื่องตรวจวัดน้ำตาลเสียหรือเปล่า?

ตรวจเบาหวาน

         สำหรับใครที่ ตรวจเบาหวาน หรือ ระดับน้ำตาลในเลือด ที่บ้านเป็นประจำ เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมค่าระดับน้ำตาลที่วัดได้ในแต่ละครั้ง ถึงไม่เท่ากัน? แม้จะตรวจวัดในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ค่าที่ได้กลับต่างกัน บางคนก็ด่วนตัดสินไปว่าเกิดจากเครื่องวัดระดับน้ำตาลเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่เสมอไปนะคะ แต่สาเหตุเกิดมาจากอะไรนั้น อ่านบทความนี้เลยค่ะ

ตรวจเบาหวาน

สารบัญ

ตรวจเบาหวาน แต่ละครั้ง ทำไมถึงได้ค่าไม่เท่ากัน?

         อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า เครื่องตรวจเบาหวาน หรือเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด จะตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลจากตัวอย่างเลือด ที่เราได้ทำการเจาะออกมา ซึ่งภายในเลือดหนึ่งหยดจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบมากมาย ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และน้ำเลือด (Plasma) ซึ่งในน้ำเลือดก็จะมีองค์ประกอบภายในนั้นอีกเช่นกัน เช่น โปรตีน น้ำ น้ำตาล เอนไซม์ เป็นต้น

ตรวจเบาหวาน

ในการเจาะเลือดแต่ละครั้ง ไม่มีทางเลยที่เราจะได้ตัวอย่างเลือด ที่มีเกล็ดเลือด เม็ดเลือด หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ออกมาในปริมาณที่เท่ากันทุกครั้ง เพราะฉะนั้น หากค่าระดับน้ำตาลที่ได้ในการตรวจวัดแต่ละครั้ง มีความแตกต่างกัน ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ค่าระดับน้ำตาลที่ได้จะมีความใกล้เคียงกัน หรือต่างกันไม่มากค่ะ

        โดยสมาคมโรคเบาหวานของประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่า ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้จากเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลแบบที่ใช้กันที่บ้าน (Blood Glucose Meter : BGM) ควรมีค่าความต่าง ไม่เกินร้อยละ 10 หรือประมาณ ±5 – 10 มิลลิกรัม/เดซิลิตรค่ะ

         สำหรับใครที่ ตรวจเบาหวาน หรือตรวจระดับน้ำตาลในหลายครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน อาจจะเพื่อต้องการทดสอบว่าเครื่องแม่นยำหรือไม่ หรือทดสอบให้แน่ใจว่าค่าที่ได้จะเป็นค่าที่ถูกต้องจริง ๆ แล้วค่าที่ได้ต่างกันเกินกว่าที่กล่าวข้างต้น มักเกิดจากวิธีการตรวจวัดที่ไม่ถูกต้อง จนทำให้ตัวอย่างเลือด หรือแผ่นทดสอบเกิดการปนเปื้อน หรือเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนในอากาศ (oxidase) จนทำให้ค่าที่วัดได้นั้น แตกต่างกันมาก

ระดับน้ำตาลในเลือด

         ยกตัวอย่างเช่น หากทำการเจาะเลือดครั้งแรกเสร็จ แล้วมีการเช็ดเลือดด้วยสำลีที่ชุบแอลกอฮอล์ แล้วทำการเจาะเลือดในครั้งถัดไปทันที ด้วยนิ้วเดิม จะทำให้ค่าที่ได้มีความแตกต่างกันมาก เนื่องจากตัวอย่างเลือดเกิดการปนเปื้อนกับแอลกอฮอล์นั่นเองค่ะ

         อย่างไรก็ตาม หากต้องการทดสอบว่า เครื่องตรวจวัดน้ำตาลที่ใช้นั้น มีความแม่นยำหรือไม่ ควรทดสอบโดยใช้โค้ดทดสอบ หรือใช้น้ำยาทดสอบความแม่นยำ ที่ทางบริษัทผู้ผลิตมีมาให้แทนการเจาะเลือดหลาย ๆ ครั้งนะคะ เพราะการเจาะเลือดหลาย ๆ ครั้งในเวลาเดียวกัน อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ค่ะ เช่น การปนเปื้อนแอลกอฮอล์ การบีบเค้นเลือด เป็นต้น

อ่านบทความ : วิธีคุมเบาหวานให้อยู่หมัดง่าย ๆ แค่เลือกทาน!

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการ ตรวจเบาหวาน หรือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

         ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ มักมีผลให้การ ตรวจเบาหวาน หรือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดคลาดเคลื่อนได้ค่ะ ดังนั้น เพื่อให้ได้ค่าระดับน้ำตาลที่แม่นยำ ในการตรวจวัดทุกครั้ง ควรป้องกันไม่ให้ปัจจัยเหล่านี้เกิดขึ้นนะคะ

วัดน้ำตาล

  • การบีบเค้นเลือด จะทำให้ได้น้ำเลือดหรือน้ำเหลือง ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส ออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนได้
  • การปนเปื้อนของเลือดหรือแผ่นทดสอบ เช่น ล้างมือไม่สะอาดหรือไม่ได้เช็ดแอลกอฮอล์ก่อนเจาะตัวอย่างเลือด รีบบีบเค้นเลือดในขณะที่แอลกอฮล์ยังไม่ระเหย จับบริเวณเซนเซอร์ของแผ่นทดสอบ
  • การเก็บรักษาแผ่นทดสอบผิดวิธี เช่น นำไปเก็บในตู้เย็น เก็บในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิหรือความชื้นสูง เปิดฝาบรรจุภัณฑ์ของแผ่นทดสอบทิ้งไว้
  • อุณหภูมิในขณะตรวจวัด หากบริเวณที่ตรวจวัดมีอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำมาก ๆ จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้คลาดเคลื่อน
  • ความเข้มข้นของเลือด จากงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญพบว่า การที่มีความเข้มข้นเลือดสูง (อาจเกิดจากการดื่มน้ำน้อย) จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่สูงขึ้นกว่าค่าจริง
  • ยาบางชนิด เช่น พาราเซตามอน ยารักษาโรคพาร์กินสัน วิตามินซี ก็มีผลต่อค่าระดับน้ำตาลเช่นกัน แต่มีผลน้อยหรือน้อยมาก
  • การใช้งานผิดวิธี เช่น การใส่โค้ดทดสอบผิด การป้ายเลือดบนแผ่นทดสอบ เป็นต้น

เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาล ตรวจเบาหวาน จาก ALLWELL ดีอย่างไร?

         หากใครที่กำลังมองหาเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อใช้งานที่บ้านล่ะก็ บทความนี้ ขอแนะนำ เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ALLWELL รุ่น G-426 เพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน หรือดูแลสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังแนวโน้มการป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ค่ะ ซึ่งมีข้อดีอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันค่ะ

เครื่องตรวจเบาหวาน

  • มีวิธีการตรวจวัดที่ง่ายไม่ซับซ้อน : เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ALLWELL รุ่น G-426 มีวิธีการใช้งานที่ง่าย เพราะไม่ต้องใส่โค้ดหรือรหัสควบคุมใด ๆ ให้ยุ่งยาก ลดโอกาสที่จะผิดพลาดในเรื่องของการใส่โค้ด จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องตรวจเบาหวานเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้สูงอายุค่ะ
  • หน้าจอ Backlight อ่านค่าง่าย : สำหรับผู้สูงอายุที่สายตาอาจจะไม่ดี เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ALLWELL รุ่น G-426 มีหน้าจอที่อ่านค่าได้ง่าย ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาสายตา สามารถอ่านค่าได้โดยไม่ต้องเพ่งมองให้ปวดตาเลยค่ะ
  • บันทึกค่าได้ : ผู้ป่วยเบาหวานหลาย ๆ คน เวลาจะไปหาหมอ ก็ต้องจดหรือจำค่าระดับน้ำตาลที่ตรวจได้ในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละวัน เพื่อประกอบการรักษาใช่ไหมล่ะคะ ซึ่งบางคนก็ลืมว่าตรวจได้เท่าไหร่ หรือจดไว้ก็ไม่มีรู้เอาไปวางไว้ที่ไหน ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป เพราะเครื่องวัดน้ำตาล ALLWELL สามารถบันทึกค่าได้ถึง 500 ค่าเลยล่ะค่ะ

เครื่องวัดระดับน้ำตาล

  • มีปุ่ม Strip Ejector สำหรับปลดแผ่นตรวจ : ลดโอกาสที่มือจะสัมผัสโดนเลือดได้ เพราะปุ่ม Strip Ejector จะช่วยปลดแผ่นตรวจออก เพียงสไลด์ปุ่ม โดยที่มือไม่ต้องสัมผัสกับแผ่นตรวจเลยค่ะ
  • ชาร์จไฟบ้าน หรือ Power bank ได้ : หากถ่านหมด แต่จำเป็นจะต้องใช้ทันที ก็สามารถชาร์จพลังงานจาก Power bank หรือไฟบ้านได้ ไม่ต้องเสียเงินหรือเวลาไปซื้อถ่านเลยค่ะ
  • แสดงค่า Ketone อัตโนมัติ : สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานมองข้ามไม่ได้เลยก็คือ ระดับ Ketone ซึ่งหากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับ Ketone ในเลือดที่สูงผิดปกติ จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ เครื่องวัดน้ำตาล ALLWELL จะช่วยแสดงค่าระดับ Ketone เมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ทำให้เราสามารถเฝ้าระวัง และสามารถพบแพทย์ได้ก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยค่ะ

         เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ALLWELL รุ่น G-426 มาพร้อมอุปกรณ์ครบชุดพร้อมตรวจทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปหาซื้ออุปกรณ์จากหลาย ๆ ร้านเลยค่ะ

สนใจ เครื่องตรวจวัดน้ำตาล เครื่องตรวจเบาหวาน คลิกเลย!

สรุป

         การที่ตรวจวัดระดับน้ำตาล แล้วได้ค่าออกมาไม่เท่ากันนั้น ไม่ได้หมายความว่า เครื่องตรวจวัดน้ำตาลเสียเสมอไปนะคะ แต่เนื่องจากเลือดหยดหนึ่ง มีองค์ประกอบไม่เท่ากัน จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่ค่าจะไม่เท่ากันค่ะ แต่ถึงอย่างไร ค่าที่ได้จะมีความใกล้เคียงกันนะคะ หากค่าที่ได้ต่างกันมาก ๆ อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น หากทำการตรวจวัดอย่างถูกต้อง และไม่มีปัจจัยดังกล่าวรบกวนแล้ว ยังได้ค่าที่สูงหรือต่ำผิดปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไปค่ะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup