บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
โรคเบาหวาน สาเหตุ เกิดจากอะไร? กินของหวาน เสี่ยงเป็น โรคเบาหวาน จริงไหม? เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยว่าจริง ๆ แล้วของหวานทำให้เราเป็นเบาหวานได้จริงเหรอ? ในปัจจุบัน คนไทยจำนวนมาก กินน้ำตาลเยอะขึ้นทุกวันโดยไม่รู้ตัว เห็นได้จากชานมไข่มุก ที่เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของคนไทย รู้หรือไม่คะว่า ในหนึ่งแก้วมีน้ำตาลสูงถึง 8 – 11 ช้อนชา! แม้จะรู้ว่าน้ำตาลสูงแค่ไหน แต่หลาย ๆ คนก็ยังคงเลือกที่จะดื่มมันอยู่ใช่ไหมล่ะคะ แต่ยิ่งดื่มมาก ๆ ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นเบาหวานได้
เห็นได้จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก โพสต์ผลตรวจของหญิงวัย 46 ปีรายหนึ่ง ที่มีระดับน้ำตาลสูงจนน่าตกใจ จากการซักถามประวัติพบว่า “เธอดื่มชานมไข่มุกเป็นประจำทุกวัน ทำให้เธอเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด” และนั่นก็เป็นอาการเบาหวาน ซึ่งมาจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมาก โรคเบาหวาน สาเหตุ หนึ่งก็เกิดมาจากการทานของหวานนี่แหละค่ะ ดังนั้นของหวานถ้าเลิกไม่ได้ก็ควรบริโภคแต่พอดีนะคะ
ภาพจาก facebook Somroong Sam Chotin
อีกหนึ่งความเชื่อที่หลาย ๆ คนมักเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน คือ “เบาหวานไม่เห็นน่ากลัว เป็นแล้วเดี๋ยวก็หาย ใคร ๆ ก็เป็น” ขอบอกเลยค่ะว่าเป็นความเชื่อที่ผิด! เพราะในความเป็นจริงแล้ว เบาหวานเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดีขึ้นได้หากควบคุมระดับน้ำตาล และได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ
หลายคนมีพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ แม้ว่าคนในครอบครัวจะไม่มีประวัติการเป็นเบาหวานมาก่อน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีสิทธิ์เป็นเบาหวานนะคะ
สารบัญ
- โรคเบาหวาน สาเหตุมาจากอะไร?
- ใครบ้างเสี่ยงเป็นเบาหวาน
- พฤติกรรมเสี่ยงเป็นเบาหวาน
- สัญญาณเตือนอาการเบาหวาน
- ปริมาณน้ำตาลที่ควรได้รับต่อวัน
- กินอย่างไรให้ห่างไกลเบาหวาน
โรคเบาหวาน สาเหตุ มาจากอะไร?
โรคเบาหวาน สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย เนื่องมาจากตับอ่อนมีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น และหากไม่ควบคุมระดับน้ำตาล อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทผู้ป่วยเบาหวานได้ ดังนี้
- เบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- เบาหวานชนิดที่ 2 ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน (ภาวะดื้ออินซูลิน)
- เบาหวานชนิดที่ 3 เกิดจากกรรมพันธุ์หรือโรคบางอย่าง เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
- เบาหวานชนิดที่ 4 เกิดขณะตั้งครรภ์ แต่เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นเบาหวานซ้ำได้อีกในอนาคต
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน
- ผู้ที่ชอบทานกินเค็ม หรือหวานจัด และชอบของทอดของมัน (เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด)
- คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นเบาหวาน มาก่อน
- ไม่ออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่ ติดสุรา
- อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันเบาหวาน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่งเสริมหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดเบาหวาน เช่น การกิน
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
- ลงพุง อ้วน
โรคเบาหวาน สาเหตุ มาจากพฤติกรรมผิด ๆ
- ชอบทานอาหารรสจัด รสจัดในที่นี้ นอกจากหวานจัดแล้ว อาหารเค็มจัดและมันจัด ก็ทำให้เสี่ยงเป็นเบาหวานได้เช่นกัน เพราะอาหารเหล่านี้เมื่อทานมาก ๆ จะทำให้เสี่ยงเกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นแล้ว การ กินของหวาน เสี่ยงเป็นเบาหวาน ได้นะคะ
- ความเครียด ความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา และไปกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของน้ำตาล ดังนั้น เมื่อเราเครียดมาก ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็ยิ่งสูงมากขึ้นนั่นเอง
- ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ตับทำงานหนัก และเกิดการสะสมของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับ เกิดภาวะไขมันเกาะตับ ส่งผลให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน และการสูบบุหรี่ ยังทำให้การทำงานของอินซูลินแย่ลง เป็นสาเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั่นเอง
- ไม่ยอมออกกำลังกาย เพราะโรคเบาหวาน ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินเป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ การออกกำลังกายที่พอเหมาะ จึงช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงขึ้นได้
- ปล่อยตัวเองให้อ้วน น้ำหนักเกิน ไขมันสะสม ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก จะมีระดับคอเรสเตอรอลสูงกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก และเสื่อมเร็ว ส่งผลให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หากร่างกายไม่มีการนำเอาพลังงานจากน้ำตาลมาใช้ อาจเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเป็นเบาหวานในที่สุด
สัญญาณเตือน”อาการเป็นเบาหวาน”
เนื่องจากเบาหวานในระยะแรกนั้น แทบจะไม่มีความรุนแรง จึงมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าครึ่ง มักไม่รู้ตัว ว่าตัวเองเป็นเบาหวาน และเข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่น ๆ ทำให้ไม่สามารถดูแลรักษาตัวเองได้ทัน จนกลายเป็นเบาหวานแบบไม่รู้ตัว โดยอาการเบาหวาน สามารถสังเกต ดังนี้
อาการเบาหวาน
- ปัสสาวะบ่อย และปริมาณมาก เนื่องจากไตพยายามกรองน้ำตาลที่สูงผิดปกติ ให้ออกมาทางปัสสาวะ
- หิวน้ำบ่อย ดื่มน้ำบ่อย ส่งผลมาจากร่างกายมีการขับปัสสาวะในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายขาดน้ำ
- ทานเยอะ แต่น้ำหนักลด
- เป็นแผลง่าย เป็นแล้วหายช้ากว่าปกติ
- สายตาพร่ามัว การมองเห็นแย่ลง
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย เนื่องมาจากร่างกายขาดแหล่งพลังงาน เพราะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเพียงพอ ทำให้มีอาการอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ อีกทั้งยังทำให้หิวบ่อยขึ้น
- ชาตามปลายมือ ปลายเท้า โดยหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อให้สามารถดูแลรักษาได้ทัน และทางที่ดีควรหมั่นตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ดูแลตัวเองได้ทัน
ปริมาณน้ำตาลทั่วไปที่ควรได้รับต่อวัน
น้ำตาลให้พลังงานก็จริง แต่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้น การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินความจำเป็น จะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดีนะคะ โดยน้ำตาลที่ร่างกายควรได้รับต่อวันนั้น ขึ้นอยู่กับอายุด้วยค่ะ เนื่องจากความต้องการพลังงานและความสามารถในการเผาผลาญนั้นต่างกัน ดังนี้ค่ะ
อายุ | น้ำตาลที่เหมาะสม ต่อวัน |
พลังงานที่ใช้ ต่อวัน |
อายุ 6 – 13 ปี | ไม่เกิน 4 ช้อนชา | 1600 kcal |
อายุ 14 – 25 ปี | ไม่เกิน 6 ช้อนชา | 2000 kcal |
ผู้หญิง อายุ 25 – 60 ปี |
ไม่เกิน 4 ช้อนชา | 1600 kcal |
ผู้ชาย อายุ 25 – 60 ปี |
ไม่เกิน 6 ช้อนชา | 2000 kcal |
อายุ 60 ปี ขึ้นไป | ไม่เกิน 4 ช้อนชา | 1600 kcal |
ผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก |
ไม่เกิน 8 ช้อนชา | 2400 kcal |
กินน้ำตาลอย่างไร ให้ห่างไกลเบาหวาน
แม้จะรู้ว่าโรคเบาหวาน สา่เหตุ มาจากพฤติกรรมการทานอาหาร โดยเฉพาะของหวานที่หลายคนไม่สามารถหยุดทานได้ใช่ไหมล่ะคะ จริง ๆ น้ำตาลไม่ใช่ของต้องห้ามนะคะ เพราะร่างกายเองก็ยังคงต้องการน้ำตาลอยู่ เพียงแต่เราต้องควบคุมปริมาณให้เหมาะสมเท่านั้นเองค่ะ โดยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล เพื่อเลี่ยงเบาหวานได้ ดังนี้
- เลือกทานอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เพราะอาหารเหล่านี้ มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง
- เลือกเครื่องดื่มที่มีสูตรน้ำตาลน้อย หรือไม่ผสมน้ำตาลแทน
- หลีกเลี่ยงการทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ลำไย
- จำกัดปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน
สรุป
แม้พันธุกรรม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เสี่ยงทำให้เป็นเบาหวาน แต่รู้หรือไม่ว่า โรคเบาหวาน สาเหตุ หลัก ๆ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง ที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน หากใครที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหมดนี้ หมั่นสังเกตอาการเบาหวาน และรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองตั้งแต่วันนี้ ดีกว่ามานั่งรักษาไปตลอดชีวิตนะคะ