กินเค็ม กินหวาน กินมัน พฤติกรรมเสี่ยงโรคร้าย อาจตายไม่รู้ตัว!

กินเค็ม

         หลายคนคงชอบกินอาหารที่มีรสชาติเค็ม หวาน หรือมัน เพราะเป็นรสชาติที่ทำให้รู้สึกอยากอาหาร ยิ่งกินยิ่งอร่อย แต่รู้ไหมคะว่าความอร่อยเหล่านี้ ทำให้คนเสียชีวิตมาไม่น้อยแล้ว บางคนอาจจะคิดว่า “ไม่ได้ปรุงเพิ่ม ไม่เสี่ยงหรอก” แต่แท้จริงแล้ว แม้เราจะไม่ได้ปรุงเพิ่ม แต่ปริมาณน้ำตาล โซเดียม หรือน้ำมัน มันแฝงตัวอยู่ในอาหารแบบที่เรากินโดยไม่รู้ตัวเลยค่ะ ดังนั้น  มาเช็กดูกันว่า คุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายจากการ กินเค็ม กินหวาน และกินมันมากน้อยแค่ไหน

สารบัญ

แบบทดสอบพฤติกรรม กินเค็ม กินหวาน กินมัน คุณเสี่ยงเป็นโรคร้ายหรือไม่?

         อาหารเค็ม หวาน และมัน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคร้าย ที่เรียกว่า NCDs หรือชื่อเต็ม คือ Non – Communicable Diseases คือ กลุ่มโรคที่ไม่มีการติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้ ส่วนใหญ่เกิดมาจากโซเดียม น้ำตาล และไขมัน หรือก็คือพวกอาหารรสเค็ม หวาน มัน ที่คนส่วนใหญ่ชอบกิน

กินเค็ม

         โรคกลุ่ม NCDs จึงมีจำนวนผู้ที่เป็นและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อไม่ให้โรคเหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณ ลองทำแบบทดสอบพฤติกรรมการบริโภค เพื่อเฝ้าระวังภัยร้ายกันค่ะ

กินเค็ม

ประเมินคะแนนการกินเค็ม

  • 5 คะแนน                ดีใจด้วย! คุณยังไม่ติดเค็ม
                                   ทำดีแล้ว แนะนำให้ปฏิบัติแบบนี้ต่อไป
  • 6 -9 คะแนน          ได้รับโซเดียมปานกลาง
                                  ยังไม่อันตรายต่อสุขภาพ แต่ต้องตระหนักว่าไม่ควรบริโภคไปมากกว่านี้
  • 10 -13 คะแนน       ได้รับโซเดียมสูงแล้วนะ!
                                  ต้องลดบ้างแล้ว ไม่งั้นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต ได้ถามหาคุณแน่ ๆ
  • 14 – 15 คะแนน      ได้รับโซเดียมสูงมาก!!!
                                  เปลี่ยนพฤติกรรมด่วน ถ้าไม่อยากเป็นโรคไตหรือความดันโลหิตสูง 

กินหวาน

ประเมินคะแนนการกินหวาน

  • 5 คะแนน                ดีใจด้วย! คุณยังไม่ติดหวาน
                                   มีความเสี่ยงต่ำในการมีรอบเอวเกิน
  • 6 -9 คะแนน          เสี่ยงติดหวานปานกลาง
                                   มีความเสี่ยงในการมีรอบเอวเกิน ดัชนีมวลกายอาจเกินมาตรฐาน
  • 10 -13 คะแนน       เสี่ยงติดหวานสูงแล้วนะ!
                                   ได้รับน้ำตาลสูงเกินกว่าที่แนะนำ (6 ช้อนชา) เสี่ยงน้ำหนักเกินและเป็นเบาหวาน
  • 14 – 15 คะแนน      เสี่ยงสูงมาก!!!
                                  ได้รับน้ำตาลเกินจนทำร้ายสุขภาพ ทำให้อ้วน เสี่ยงเบาหวาน โรคอื่น ๆ ตามมา                                  อีกมากมาย

กินมัน

ประเมินคะแนนการกินของมัน

  • 5 คะแนน                มีความเสี่ยงน้อย
                                   ไม่เกิดโรคจากการทานไขมัน หากคุณทานอย่างเหมาะสม
  • 6 -9 คะแนน          คุณมีความเสี่ยงปานกลาง
                                  อาจรอบเอวเกินน้อยถึงปานกลาง และค่าดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น
  • 10 -13 คะแนน       คุณมีความเสี่ยงสูง!
                                  พยายามลดลง ไม่อย่างนั้นโรคไขมันในเลือด และโรคตาม ๆ ตามมาอีกเพียบ
  • 14 – 15 คะแนน      เสี่ยงสูงมาก!!!
                                  คุณเสี่ยงเป็นโรคไขมันในเลือด อาจเกิดภาวะ STOKE ได้ในอนาคต รีบเปลี่ยน                                    พฤติกรรมโดยด่วน

รู้หรือไม่? กินเค็ม ไม่ได้เสี่ยงโรคไตแค่อย่างเดียว

         รสเค็ม ได้มาจากโซเดียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ อีกทั้งยังช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไต และลำไส้เล็ก

กินโซเดียมเยอะ

         ทุกคนพอจะทราบอยู่แล้วว่า การกินอาหารรสเค็มหรือได้รับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป จะทำให้เป็นโรคไต นอกจากนี้ การกินเค็มมาก ๆ ไม่ได้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โดยการที่มีโซเดียมในร่างกายปริมาณมาก จะส่งผล ดังนี้ค่ะ
1.ไตทำงานหนักขึ้น เพื่อเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกาย ทำให้ความดันในไตสูงขึ้น และเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารบางอย่างซึ่งมีผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น
2.เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แขน ขา บวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก
3.ทำให้ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ สมอง จนทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

เครื่องวัดความดัน

         เห็นไหมคะว่าโรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ไตเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบริโภคอาหารให้มาก โดยแพทย์แนะนำให้บริโภคโซเดียมได้ไม่เกินวันละ 1 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 2,000 มิลลิกรัม)

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคืออาหารที่ไม่ได้มีรสเค็ม แต่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง ไส้กรอก

         บางท่านอาจสงสัยว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารที่กินมีโซเดียมไหม? ไม่ยากเลยค่ะ สิ่งสำคัญคือการอ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเลือกที่มีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หากเป็นอาหารทั่วไปที่ไม่มีฉลาก ให้ดูวัตถุดิบที่ใช้ทำ ซึ่งโซเดียมมักอยู่ในรูปของเกลือ น้ำปลา กะปิ ผงชูรส ผงฟู เป็นต้น

กินหวาน แล้วหงุดหงิดง่ายจริงเหรอ?

         สาเหตุของอาการหงุดหงิดโมโหนั้นมาจากตับ ในทางแพทย์แผนจีน ภายในตับจะมี “ชี่ (气)” หรือลมปราณ เป็นสสารที่เล็กที่สุดในร่างกาย มีการเคลื่อนไหวขึ้นบนลงล่างตลอดเวลา ซึ่งการไหลเวียนของชี่ในตับมีความสัมพันธ์กับอารมณ์อย่างมาก ซึ่งการกินของหวานที่มีฤทธิ์ร้อนเข้าไปมาก ๆ จะทำให้การไหลเวียนของชี่ในตับรุนแรงจนเกินไป ส่งผลให้มีอาการปวดหัว หงุดหงิด โกรธ โมโหง่าย แต่ในกรณีที่กินของที่มีฤทธิ์ทั้งเย็นและหวาน จะทำให้เกิดอาการปวดจี๊ดที่ศีรษะอย่างเฉียบพลัน แบบที่หลายคนคงเคยเป็นบ่อย ๆ ตอนที่ดื่มน้ำปั่นหรือน้ำแข็งใสเย็น ๆ นั่นเอง

กินหวานเยอะ

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า กินหวานแล้วหงุดหงิด โมโหง่าย ซึ่งประโยคยอดฮิตที่เราเคยได้ยินกันนี้ เป็นเรื่องจริงนะคะ

       ซึ่งความหวานเหล่านี้ ได้มาจากน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลเป็นสารอาหารหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียกับร่างกาย ดังนี้
1.ทำให้เลือดเหนียวข้น จนไหลเวียนและนำสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ช้าลง ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อก็จะลดลง ทำให้เส้นเลือดฝอยตีบตันได้ง่าย
2.ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็น จนกลายเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
3.ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป หากได้รับน้ำตาลมากเกินไป จะเสี่ยงเป็นซีสต์ที่รังไข่ และประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความดันสูง นิ่ว ไต เส้นเลือดหัวใจตีบ และไขมันแทรกในตับ
4.น้ำตาลในปริมาณมากจะทำลายคอลลาเจนในผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย ความเหี่ยวย่น ผิวหยาบกร้าน ดูแก่เร็วอีกด้วย

อ่านบทความ : วิธีคุมเบาหวานให้อยู่หมัดง่ายๆ แค่เลือกทาน!

         ซึ่งการกินหวานที่เหมาะสม คือ ผู้ใหญ่ควรบริโภคน้ำตาลที่เติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หรือ 24 กรัม ส่วนเด็กไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน หรือ 16 กรัม

หากร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป จะเริ่มส่งสัญญาณเตือน เช่น น้ำหนักลดยาก อยากกินหวานตลอดเวลา ถ้าไม่ได้กินจะรู้สึกหงุดหงิด ผมร่วง มีสิวขึ้น

         แต่ในบางคน อาการเหล่านี้อาจจะยังไม่แสดงออกมา แต่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงไปแล้วโดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้น ต้องหมั่นเช็กระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ เพื่อเฝ้าระวังโรคเบาหวานที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เครื่องตรวจระดับน้ำตาล ตรวจเบาหวาน

กินของมัน ของทอด ความอร่อยที่มาพร้อมโรคร้าย

         หลายคนคงชอบกินบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ ชาบู กันใช่ไหมล่ะคะ โดยเฉพาะหมูสามชั้นหรือเบค่อนเยิ้ม ๆ บางคนชอบมาก ๆ ถึงกับกินทุกวันเลยก็มี ยิ่งกินยิ่งอร่อย กินไปกินมา รู้ตัวอีกทีก็เป็นโรคร้ายไปเสียแล้ว ซึ่งของมันพวกนี้ ส่วนใหญ่มาจากน้ำมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเผาผลาญกลายเป็นไขมัน

กินของมันเยอะ

         ซึ่งไขมันเป็นสิ่งที่จําเป็นต่อร่างกาย เพราะช่วยให้พลังงานและความอบอุ่น และควบคุมกลไกการทํางานของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยดูดซึมและละลายวิตามิน และยังช่วยห่อหุ้มอวัยวะที่สําคัญของร่างกายอีกด้วย
         ไขมัน มีหลายประเภท มีทั้งไขมันดีและไม่ดี ดังนี้

  1. ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) เป็นไขมันที่แข็งตัวได้ เพิ่มไขมันไม่ดีในเลือด เช่น เนย ครีมเทียม ไขมันสัตว์ ไขมันมะพร้าว ไขมันปาล์ม
  2. ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นไขมันที่ถูกนำไปเพิ่มไฮโดรเจน จนกลายเป็นไขมันอิ่มตัว เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นหืนและเก็บไว้ได้นานขึ้น ไขมันทรานส์จะเพิ่มไขมันไม่ดีและลดไขมันดีในเลือด เช่น เนยถั่ว มายองเนส มาการีน ช็อกโกแลต
  3. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fat) เป็นไขมันประเภทของเหลวในอุณหภูมิปกติ สามารถแข็งตัวได้หากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ เช่น น้ำมันมะกอก อโวคาโด น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันถั่วลิสง ช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือด รวมทั้งทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นที่สร้างเองไม่ได้
  4. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fat) เป็นไขมันประเภทของเหลวในอุณหภูมิปกติ สามารถแข็งตัวได้หากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา ไขมันประเภทนี้จะช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือด ให้สารอาหารที่เสริมสร้างเซลล์ในร่างกาย และทำให้ได้รับกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้

         จะเห็นได้ว่าไขมันประเภทไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ มีข้อเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ถึงแม้ไขมันดีจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายแทน ดังนี้

  1. หากร่างกายมีปริมาณไขมันในเลือดเกินความจำเป็น ไขมันที่เกินจะเกิดการซึมผ่านสู่ใต้ผนังหลอดเลือดแดง และแตกตัวปล่อยสารที่ทำลายผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการตีบ แตก หรือตัน ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
  2. เมื่อร่างกายเผาผลาญไขมันไม่หมด จะนำไขมันส่วนที่เกินเก็บสะสมเอาไว้ ก่อให้เกิดโรคอ้วน เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนอย่างโรคหัวใจ โรคไขมันพอกตับ
  3. เนื่องจากไขมันทำให้เป็นโรคอ้วน สิ่งที่ตามมาคือเรื่องของระบบทางเดินหายใจ เช่น เหนื่อยง่าย หอบ
  4. โดยส่วนใหญ่แล้วอาหารที่มีไขมันสูงมักจะได้มาจากอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันไม่ว่าจะเป็นลูกชิ้นทอด ไก่ทอด ซึ่งบางร้านมักจะใช้น้ำมันที่ทอดแล้วซ้ำหลายครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง จนเป็นโรคมะเร็งได้
  5. เมื่อเป็นโรคอ้วนไขข้อกระดูก จะต้องรองรับน้ำหนักตัวที่มาก ซึ่งหากกระดูกต้องแบกรับน้ำหนักมากไปนาน ๆ จะมีความเสี่ยงของโรคกระดูกเสื่อมตามมา

ดังนั้น ควรบริโภคไขมันไม่เกิน 65 กรัมต่อวัน หรือใช้น้ำมันประกอบอาหารไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวันนะคะ

วิธีลดเค็ม หวาน มัน ง่าย ๆ ทำได้ทุกวัน

         หลังจากที่ทราบถึงข้อเสียของการติดเค็ม หวาน และมันกันไปแล้ว เรามาดูวิธีลดพฤติกรรมเหล่านั้น ที่ทำได้ง่าย ๆ ทุกวัน

ลดโซเดียม

  1. อ่านฉลากก่อนซื้อ เพื่อให้ทราบว่าอาหารชนิดนั้นประกอบด้วยส่วนผสมอะไรบ้าง โดยเฉพาะน้ำตาล เกลือ น้ำมัน ต้องมีปริมาณที่ไม่มากกว่าที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน
  2. ชิมก่อนปรุงทุกครั้งที่ทานอาหาร ถ้าเป็นไปได้ให้ลดการปรุงลงจะดีที่สุด
  3. ไม่ใช้น้ำมันซ้ำ พยายามเลือกใช้น้ำมันประเภทไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา
  4. หลีกเลี่ยงขนม เครื่องดื่มรสหวาน อาหารทอด และอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ
  5. พยายามจิ้มน้ำจิ้มต่าง ๆ ให้น้อย
  6. หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ
  7. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกหลักโภชนาการ

สรุป

         การกินเค็ม หวาน และมันในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ความอร่อยในระยะสั้น แต่ส่งผลเสียเป็นโรคในระยะยาว แต่อย่าเข้าใจผิดว่าจะต้องงด ไม่กินเกลือ น้ำตาล น้ำมันเลยนะคะ เพราะถ้างดร่างกายจะเสียสมดุล จนเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ส่งผลเสียมากกว่าผลดีนะคะ สิ่งที่ควรทำคือลด กินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป และอย่าลืมออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยนะคะ

 

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup