3 เดือนแรกสำคัญ! การดูแลผู้ป่วย Stroke (โรคหลอดเลือดสมอง) ตั้งแต่ระยะแรก-ระยะทรงตัว

การดูแลผู้ป่วย Stroke

         โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นโรคร้ายที่เหมือนพรากชีวิตผู้ป่วยไปส่วนหนึ่ง สุญเสียทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย การทำกิจวัตรประจำวัน แม้การกินข้าวกินอาหารก็ยังไม่เหมือนเดิม ไหนจะต้องมาคอยระวังโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่คอยจ้องจะทำร้ายผู้ป่วยตลอด “ผู้ดูแล” จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการฟื้นคืนชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วย ให้กลับมาแข็งแรงและสามารถใช้ชีวิตได้อีกครั้ง มาดูวิธี การดูแลผู้ป่วย Stroke ในบทความนี้กันค่ะ

สารบัญ

ผู้ป่วย Stroke มักมีปัญหาเรื่องใด?

         ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก หรือเส้นเลือดในสมองตัน ผู้ป่วยทุกคนมักจะมีอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตโดยส่วนใหญ่ นอกจากปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังมีปัญหาในส่วนอื่น ๆ ทั้งการพูดการสื่อสาร ระบบการทำงานบางส่วนของร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วย มาลองเช็กกันว่ามีอาการใดบ้างที่ผู้ป่วยที่คุณดูแลกำลังเผชิญอยู่ค่ะ

การดูแลผู้ป่วย Stroke

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

  • ร่างกายอ่อนแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย หรือไม่ได้เลย (อัมพฤกษ์-อัมพาต)
  • อวัยวะในส่วนที่เป็นอัมพาต จะไม่มีความรู้สึกแม้จะโดนของร้อนหรือของมีคม
  • กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่อ่อนแรง ทำให้ข้อไหล่หลวมหลุด
  • กล้ามเนื้อเกร็ง-กระตุก
  • แขน ขา และมือ เกิดอาการปวดบวม

การดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ แตก

DYNA-TEK PROFILE

Original price was: 8,900฿.Current price is: 3,950฿.

รับน้ำหนักได้ 114kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Profile หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ DYNA-TEK SUPERIOR

Original price was: 9,900฿.Current price is: 4,990฿.

เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ | หนา 10 cm | รับน้ำหนักได้ 127kg | ผ้าคลุมเบาะกันน้ำ

รหัสสินค้า: Dyna-Tek หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

เก้าอี้ผู้ป่วยปรับไฟฟ้า G-2

Original price was: 449,000฿.Current price is: 220,000฿.

นั่งพักผ่อน | ปรับเอนหลังได้ | นำเข้าจากประเทศอังกฤษ

รหัสสินค้า: G2 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ผ้าปูที่นอน Allwell

Original price was: 2,490฿.Current price is: 1,090฿.

ผ้าปูขนาด 3 ฟุต (ขนาดมาตรฐานเตียงผู้ป่วย) | เนื้อผ้า Microtex 350 เส้นด้าย | ผ้าไม่ยับ ไม่ต้องรีด

*สีอื่นๆ สามารถสอบถาม และสั่งซื้อผ่าน LINE ได้เลยนะคะ*

รหัสสินค้า: AW-S หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ผ้ารองกันเปื้อน ชนิดกันน้ำ

Original price was: 2,890฿.Current price is: 1,650฿.

คุณสมบัติกันน้ำ ป้องกันของเหลวซึมผ่านที่นอน | ระบายความอับชื้นได้ดี | ป้องกันไรฝุ่น และแบคทีเรีย

รหัสสินค้า: MPAllwell หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ที่นอนลม AD-1200

7,900฿

ที่นอนลม | ปั๊มลมทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง | รับประกัน 1 ปี

อ่านเพิ่ม

MOEM

Original price was: 36,900฿.Current price is: 21,900฿.

  • นำเข้าจากบริษัท Tecnimoem ประเทศสเปน
  • รับประกันสินค้าเป็นระยะเวลา 1 ปี
อ่านเพิ่ม

การดูแลผู้ป่วย Stroke ในระยะต่าง ๆ

         หลังจากผู้ป่วยเริ่มมีภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรือตัน (Stroke) หลังจากทำการรักษาโดยแพทย์แล้ว ร่างกายและความสามารถของผู้ป่วยจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น โดยเราสามารถแบ่งระยะอาการของผู้ป่วยได้เป็น 3 ระยะใหญ่ ๆ โดยแต่ละระยะก็จะมีวิธีในการฟื้นฟูและรับมือแตกต่างกันไป ดังนี้ค่ะ

การดูแลผู้ป่วย Stroke เส้นเลือดในสมองตีบ

1. ระยะเฉียบพลัน : ช่วง 1-2 อาทิตย์หลังจากเกิดภาวะ Stroke ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะนอนเฉย ๆ อยู่บนเตียงโดยส่วนใหญ่

การดูแล : เนื่องจากชีวิตผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่บนเตียงและไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ระยะนี้จะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น แผลกดทับ ข้อติด โรคปอดอักเสบ เป็นต้น ด้วยการหมั่นพลิกตัว และใช้อุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับ

2. ระยะฟื้นตัว : ช่วง 3-6 เดือนหลังจากเกิดภาวะ Stroke ผู้ป่วยจะเริ่มขยับร่างกายได้ พัฒนาการพูดคุย การเคลื่อนไหว และการรับรู้ต่าง ๆ ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะฟื้นรวดเร็วมาก จึงนับเป็นเวลาทอง (Golden Period) ในการที่จะเร่งฟื้นฟูความสามารถต่าง ๆ ของผู้ป่วย

การดูแล : เนื่องจากเป็นช่วงที่ฟื้นฟูได้ไว ช่วงนี้การดูแลจะเน้นไปที่การกระตุ้นให้เซลล์สมองกลับมาทำงาน และสามารถสั่งให้ร่างกายที่ผิดปกติกลับมาทำงานได้ใหม่ โดยเน้นการทำกายภาพบำบัด (การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง ด้วย 10 ท่าบริหารง่ายๆ Click) โดยผู้ดูแล ควบคู่ไปกับการรักษาฟื้นฟูโดยแพทย์ และการใช้ยาและวิตามินช่วย (ในความดูแลของแพทย์)

การดูแลผู้ป่วย Stroke

3. ระยะทรงตัว : ช่วง 6 เดือนขึ้นไป นับตั้งแต่เกิดภาวะ Stroke จะเป็นช่วงที่การฟื้นฟูและพัฒนาของผู้ป่วยเริ่มคงที่ การฟื้นฟูจะไม่ได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การพัฒนาจะเป็นไปอย่างช้า สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูตั้งแต่ 3-6 เดือนแรก มีโอกาสสูงที่อาการบกพร่องต่าง ๆ จะเป็นเช่นนั้นไปตลอดชีวิต

การดูแล : แม้ช่วงนี้จะพัฒนาได้น้อย แต่ผู้ดูแลจำเป็นต้องทำการบำบัดดูแลอย่างต่อเนื่องไม่ขาด เพื่อให้อาการบกพร่องต่าง ๆ แย่ลงไปกว่าเดิม หรือเป็นเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น การฟื้นฟูดูแลผู้ป่วย Stroke ช่วงเวลาสำคัญ คือช่วง 3-6 เดือน หลังมีภาวะหลอดเลือดสมอง ที่เรียกกันว่า เวลาทอง (Golden Period) เป็นโอกาสที่ไม่ควรมองข้าม

ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

การดูแลผู้ป่วย Stroke กับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่พบ

         หลังจากที่ทราบการดูแลผู้ป่วย Stroke ในแต่ละระยะไปแล้วว่า ในบทบาทของผู้ดูแลต้องรับมือและปฏิบัติตัวอย่างไร ในหัวข้อนี้ เรามาดูกันว่า ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ของผู้ป่วยที่ผู้ดูแลลจะต้องพบเจอ จะสามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไรบ้างค่ะ

การกายภาพบำบัดผู้ป่วย Stroke

  • อาการอัมพฤกษ์-อัมพาต ในระยะแรกที่ผู้ป่วยขยับไม่ได้ ผู้ดูแลจะต้องทำการกายภาพ ขยับข้อต่อต่าง ๆ ให้มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง เมื่อผู้ป่วยเริ่มขยับได้แล้วให้เขาลองขยับเคลื่อนไหวออกแรงด้วยตัวเอง เช่น การยกแขน-ยกขา ลุกขึ้นมานั่งเอง เมื่อผู้ป่วยเริ่มแข็แงรงขึ้นแล้ว ให้ทำการฝึกเดิน ฝึกยืน และฝึกการใช้กิจวัตรต่าง ๆ
  • ภาวะเกร็งกล้ามเนื้ ในเบื้องต้นผู้ดูแลลองทำการยืดกล้ามเนื้อที่เกร็ง ใช้อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อช่วย และประคบเย็น แต่ถ้ายังไม่หายแพทย์อาจพิจารณาจ่ายยารักษาให้ผู้ป่วย
  • ปัญหาด้านการรับรู้-การเรียนรู้ ฝึกให้ผู้ป่วยบอกชื่อคนในครอบครัว วันเดือนปี สถานที่หรือสิ่งของต่าง ๆ ฝึกวาดรูป ฝึกเลียนแบบการเคลื่อนไหวของผู้ดูแล ส่วนร่างกายที่ไม่รับรู้ความรู้สึก ให้ผู้ดูแลหมั่นนำผ้าหรือแปรงนุ่ม ๆ มาถูกระตุ้นผิวผู้ป่วย
  • ภาวะกลืนลำบาก หากผู้ป่วยฟื้นตัวดี นั่งทรงตัว ให้ผู้ป่วยฝึกการกลืน อาจใช้วิธีก้มศีรษะลงขณะกลืน โดยให้ผู้ป่วยหันหน้าไปทางข้างที่เป็นอัมพาตเพื่อป้องกันการสำลัก

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จำกัดปริมาณน้ำดื่มผู้ป่วย และแบ่งให้ดื่มเป็นเวลา กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าห้องน้ำเป็นเวลาแม้ไม่ได้รู้สึกปวด ถ้าไม่หาย อาจต้องปรึกษาแพทย์
  • กลั้นอุจจาระไม่ได้ ฝึกเข้าห้องน้ำเป็นเวลา และให้ผู้ป่วยได้รับกากใยอาหารและน้ำเพียงพอ
  • ปัญหาเรื่องการประกอบกิจวัตรประจำวัน อธิบายและบอกขั้นตอนในการทำกิจวัตรนั้น ๆ ให้ผู้ป่วยเข้าใจ เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน สวมเสื้อผ้า ฝึกให้ผู้ป่วยทำแบบนั้นเป็นประจำต่อเนื่อง แต่อาจจะมีความยากในการทำกิจวัตร เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการอัมพาตครึ่งซีก แนะนำให้ปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้วิธีการทำกิจวัตรด้วยร่างกายเพียงซีกเดียว
เส้นเลือดในสมองตีบ จําใครไม่ได้ พูดไม่ชัด รักษาได้ไหม? รู้จักภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

สรุป

         การดูแลผู้ป่วย Stroke ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องรู้เทคนิคในการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะ และการรับมือปัญหาต่าง ๆ อย่างถูกวิธี ถ้าผู้ดูแลสามารถฟื้นฟูได้อย่างถูกต้อง โอกาสที่ความสามารถต่าง ๆ ของผู้ป่วย Stroke นั้นจะกลับมาได้สูง ถึงแม้ผู้ป่วยจะอยู่ในระยะทรงตัวแล้ว ผู้ดูแลก็จำเป็นจะต้องทำการฟื้นฟูบำบัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้อาการบกพร่องต่าง ๆ แย่ลงไปกว่าเดิม หรือเป็นเพิ่มมากขึ้นนะคะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup