การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง ด้วย 10 ท่าบริหารผู้ป่วยง่าย ๆ ทำตามได้ที่บ้านเลย!

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

         สำหรับผู้ป่วยติดเตียง การไม่ได้ขยับร่างกายส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะส่วนกระดูกและกล้ามเนื้อที่ต้องการการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด จึงทำให้ผู้ป่วยติดเตียง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ แต่ผู้ดูแลสามารถป้องกันได้ด้วย การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง บทความนี้จึงมี 10 ท่าบริหารผู้ป่วยติดเตียงง่าย ๆ ยิ่งทำทุกวันยิ่งช่วยป้องกันและลดการเกิดปัจจัยแทรกซ้อนได้ดีเลยค่ะ

สารบัญ

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

รวม 10 ท่าบริหารผู้ป่วยติดเตียง ทำตามที่บ้านได้เลย!

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปที่โรงพยาบาล หรือศูนย์กายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียวนะคะ ผู้ดูแลสามารถกายภาพบำบัดผู้ป่วยได้ด้วยตนเองที่บ้านได้ค่ะ ด้วยการทำท่าบริหารร่างกายแบบ Passive Rehabilitation exercise เปรียบเสมือนการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย เป็นวิธีการกายภาพบำบัดที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเสียแรงเยอะเลยค่ะ สามารถทำให้ผู้ป่วยบนเตียงนอนได้เลย บทความนี้มีท่าบริหารผู้ป่วยง่าย ๆ มาฝากกันค่ะ มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

1.ให้ผู้ป่วยนอนหงายแขนแนบลำตัว จากนั้นยกแขนผู้ป่วยขึ้นเหนือศีรษะ โดยมีมืออีกข้างที่ไม่ได้ใช้ยก จับประคองบริเวณข้อศอกของผู้ป่วยไว้ แล้วค่อย ๆ วางแขนลงที่เดิม

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

2.กางแขนผู้ป่วยออกทางด้านข้าง โดยมีมืออีกข้างที่ไม่ได้ใช้ยก จับประคองบริเวณข้อศอกของผู้ป่วยไว้ แล้วค่อย ๆ ยกแขนขึ้นไปจนแนบกับใบหู จากนั้นหุบแขนลงแนบข้างลำตัว

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

3.ท่านี้ให้ผู้ดูแลใช้มือข้างหนึ่งตั้งแขนผู้ป่วยขึ้นและงอศอก จากนั้นให้ใช้มืออีกข้างหมุนแขนผู้ป่วยขึ้น – ลง

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

4.ให้ผู้ป่วยนอนหงายแขนแนบกับลำตัว ค่อย ๆ งอศอกผู้ป่วยให้ถึงไหล่ แล้วค่อย ๆ เหยียดออกจนสุด

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

5.ผู้ดูแลใช้มือข้างข้างหนึ่ง ตั้งศอกผู้ป่วยขึ้น จากนั้นใช้มืออีกข้างบิดหมุนข้อมือผู้ป่วย ให้คว่ำและหงาย

กายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง กายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

6.ตั้งศอกผู้ป่วยขึ้น จากนั้นกระดกข้อมือผู้ป่วยพร้อมกับแบมือ และกระดกข้อมือลงพร้อมกับกำมือ

ท่าบริหารผู้ป่วยติดเตียง ท่าบริหารผู้ป่วยติดเตียง

7.เริ่มมาบริหารบริเวณขา โดยให้ผู้ดูแลจับบริเวณหัวเข่าและข้อเท้าของผู้ป่วย แล้วค่อย ๆ งอเข่าขึ้นจนสุด แล้วเอาลงมาท่าเดิม

ออกกำลังกายผู้ป่วยติดเตียง ออกกำลังกายผู้ป่วยติดเตียง

8.ผู้ดูแลจับบริเวณหัวเข่าและข้อเท้าของผู้ป่วย แล้วค่อย ๆ กางขาผู้ป่วยออกทางด้านข้าง แล้วกลับมาชิดใหม่ เหมือนท่าเริ่มต้น

กายภาพบำบัด กายภาพบำบัด

9.ให้ผู้ดูแลจับบริเวณหัวเข่าและข้อเท้าของผู้ป่วยเหมือนเดิม จากนั้นงอเข่าขึ้นประมาณ 90 องศา ออกแรงหมุนขาเข้าออก

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

10.ท่าสุดท้าย ให้ผู้ดูแลจับบริเวณหน้าแข้งและข้อเท้าของผู้ป่วยไว้ แล้วออกแรงดันข้อเท้าขึ้นลง (เหมือนกระดกเท้า)

แต่ละท่านั้น ให้ทำซ้ำท่าละ 20 ครั้ง จากนั้นให้เปลี่ยนไปทำกับขาและแขนอีกข้างของผู้ป่วย ทำซ้ำท่าละ 20 ครั้งเช่นกัน ควรบริหารเช่นนี้ทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องทำ?

หากไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ย่อมเกิดผลเสียตามมา แม้แต่คนทั่วไปเอง เมื่อไม่ได้ออกกำลังกายหรือไม่ได้เคลื่อนไหวบ่อย ๆ จะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพต่าง ๆ จะเริ่มตามมา ทั้งการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ ระบบเผาผลาญหรือขับถ่ายไม่ดี ภาวะเหล่านี้ ก็จะยิ่งนำพาโรคแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ มาอีก ฉะนั้นในผู้ป่วยติดเตียง ย่อมมีความรุนแรงและเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนมากกว่า เพราะไม่สามารถขยับร่างกายได้เลย

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง

         เพราะเหตุนี้ โรงพยาบาลจึงมีการทำกายภาพบำบัด สังเกตได้จากผู้ป่วยติดเตียงหลาย ๆ ราย แพทย์จะนำการกายภาพบำบัด มาเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมการรักษา หรือแม้ว่าจะออกจากโรงพยาบาลมาแล้ว แพทย์บางท่านอาจจะมีการกำชับผู้ดูแล ว่าต้องทำการกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยเป็นประจำ นั่นก็เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย และป้องกันภาวะแทรกซ้อนนั่นเอง ซึ่งหากไม่ได้กายภาพล่ะก็ อาจเสี่ยงเกิดโรคหรือภาวะเหล่านี้ค่ะ

  • ภาวะข้อติด เป็นปัจจัยแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากร่างกายอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ จะทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ยึดติดไม่สามารถเหยียดข้อออกได้ หากฝืนเหยียดออก จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บทรมาน ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะแก้ไขได้ยากอีกด้วย
  • กล้ามเนื้อฝ่อลีบ จากการที่ไม่ได้เคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจึงไม่มีการถูกกระตุ้นหรือพัฒนา จึงค่อย ๆ ลีบตัวลงจนเล็กกว่าปกติ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขน ขา และมือ
  • ภาวะปอดแฟบ เกิดจากการที่ถุงลมในปอด ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหมุนเวียนก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าสู่ถุงลมได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจได้ไม่เต็มที่ เจ็บหน้าอก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นภาวะที่ร้ายแรงมาก (มารู้จักกับ ภาวะพร่องออกซิเจน จากการมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้โดยไม่รู้ตัว! Click!!!)
  • แผลกดทับ โรคแทรกซ้อนยอดฮิต ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยติดเตียง โดยเกิดจากการที่ผู้ป่วยนอน เป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณที่กดทับนั้น ถูกทำลายจนเนื้อเยื่อตายและเกิดเป็นแผล อีกทั้งยังมีอาการเจ็บปวดทรมานร่วมด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเกิดอันตราย จนถึงขั้นเสียชีวิต (ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ Mercury นวัตกรรมใหม่ใช้แทนที่นอนลมได้ Click!!!)

อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ยังสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงได้ ด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการกายภาพบำบัด เช่น เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า  ที่นอนป้องกันแผลกดทับ อุปกรณ์บริหารปอด เป็นต้น

อ่านบทความ : อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ที่หนึ่งชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงควรมี

สรุป

แม้ว่าผู้ป่วยติดเตียง จะไม่สามารถเคลื่อนไหวเองได้ แต่ผู้ดูแลสามารถช่วยทำ การกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย และช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่มีสาเหตุมาจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกายได้ ดังนั้น การกายภาพบำบัด จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยค่ะ ลองนำ 10 ท่าบริหารร่างกายผู้ป่วยติดเตียง ที่บทความนี้ได้นำมาฝาก ไปบริหารให้ผู้ป่วยกันนะคะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup