อาการก่อนเมนส์มา (PMS) เป็นอย่างไร? หายนะก่อนวันแดงเดือดที่สาวๆ ควรระวัง!

อาการก่อนเมนส์มา

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         ในช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือก่อนเมนส์มา สาว ๆ หลายคนจะพบว่าตัวเองนั้นมีอาการผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์แปรปรวน หิวบ่อย น้ำหนักขึ้น ฯลฯ บอกเลยว่าอาการเหล่านี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ ยังมีอาการหลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นมาแล้ว แต่หลายคนไม่รู้ว่าอาการเหล่านั้น เป็น อาการก่อนเมนส์มา หรือ PMS มาดูกันว่า อาการก่อนเมนส์มานั้นมีอะไรบ้าง แล้วต้องรับมืออย่างไรให้ไม่ทรมานกับอาการเหล่านี้ค่ะ

สารบัญ

PMS อาการก่อนเมนส์มา ที่เป็นมากกว่าอาการเหวี่ยงวีน

         Premenstrual Syndrome หรือ PMS คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน หรือที่หลาย ๆ คนนิยมเรียกว่า อาการก่อนเมนส์มา” โดยอาการผิดปกติเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับทั้งร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนวันที่เมนส์จะมา 1-2 อาทิตย์ และจะหมดไปในช่วง 2-3 วันหลังเมนส์มา หรือในบางคนอาจเป็นยาวนาน และหายไปหลังเมนส์หมด

         อาการก่อนเมนส์มา มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่มาจากกระบวนการตกไข่ ซึ่งจะอยู่ในช่วง 1-2 อาทิตย์ก่อนที่เมนส์จะมา และอาจเกิดจากฮอร์โมนเซโรโทนินในสมองมีความผิดปกติ เนื่องจากความเครียด โรคซึมเศร้า การกินอาหาร และพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยอาการก่อนเมนส์มา สามารถแบ่งอาการได้ ดังนี้

อาการก่อนเมนส์มา กับท้อง

1. อาการทางด้านร่างกาย

  • เจ็บ-คัดบริเวณเต้านม
  • สิวขึ้น หน้า-ตัวบวม
  • ปวดหัว คลื่นไส้-อาเจียน
  • ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ หรือตามข้อต่อ
  • ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องเสีย
  • มีตกขาวสีน้ำตาล
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (เช็กด้วย เครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมัน และมวลกาย Click!!)
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย บางรายอาจเป็นลม
  • ชาตามปลายมือปลายเท้า
  • โรคประจำตัวบางอย่างจะรุนแรงขึ้นในช่วงนี้ เช่น โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ไขข้ออักเสบ ฯลฯ

อาการก่อนเมนส์มา

2. อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ร้องไห้กับเรื่องเล็ก ๆ
  • วิตกกังวล และเครียด
  • ขาดสมาธิ จดจ่อได้ยาก มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ
  • อยากอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอยากอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
  • ปลีกตัวออกจากสังคม อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมาก-น้อยเกินไป
  • รู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้
  • มีความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         PMS หรืออาการก่อนเมนส์มา สามารถพบได้ในผู้หญิงที่มีเมนส์ถึง 85% โดยอาการจะไม่รุนแรงหรือรุนแรงน้อย แต่ในบางคนอาจมีอาการรุนแรงมาก จนพัฒนาไปเป็นอาการ PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) ซึ่งก็คืออาการผิดปกติก่อนเมนส์มาเหมือนกับ PMS แต่จัดอยู่ในกลุ่มที่รุนแรงกว่า แต่พบได้น้อย 2-10% ในผู้ที่มีประจำเดือนเท่านั้น

         โดยอาการ PMDD จะคล้ายกับ PMS ดังที่กล่าวข้างต้น แต่จะรุนแรงกว่า เช่น หงุดหงิดโมโหร้าย ซึมเศร้าสิ้นหวัง รู้สึกอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย ซึ่งอาการ PMDD มักจะรุนแรงมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงนับว่าเป็นอาการอันตรายที่ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ทันที

หากพบว่ามีอาการรุนแรง หรือรู้สึกว่า PMS กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาการก่อนเมนส์มา แตกต่างกับอาการท้องอย่างไร?

         เป็นเรื่องที่สาว ๆ หลายคนกังวลมาก เพราะเจ้าอาการก่อนเมนส์มา หรืออาการ PMS นั้น ดันคล้ายคลึงกับอาการของคนที่ตั้งท้องในช่วงแรก จนพาลทำให้กังวลไปว่า อาการผิดปกติที่พบนั้น จริง ๆ แล้วแค่กำลังจะเป็นเมนส์ หรือกำลังตั้งท้องกันแน่ ซึ่งหากจะให้แยกความแตกต่างระหว่างคนที่กำลังจะเป็นเมนส์กับคนที่กำลังตั้งท้องนั้น ต้องบอกเลยว่ายากค่ะ

อาการก่อนเมนส์มากับท้อง

         เพราะการตั้งท้อง ร่างกายจะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งทำให้ระดับสารหรือฮอร์โมนในร่างกายนั้นเปลี่ยนไป จึงทำให้มีอาการคล้ายกับคนที่กำลังจะเป็นเมนส์ค่ะ แต่ก็พอจะแยกความแตกต่างได้เพียงบางอย่างเท่านั้น

อาการที่น่าสงสัยว่ากำลังตั้งท้อง

  • เจ็บคัดหัวนมและเต้านม โดยสังเกตได้ว่าเต้านมมีสีที่เข้มขึ้น และดูขยายใหญ่มากขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อยและมีสีเข้มขึ้น
  • รู้สึกถึงรสชาติแปลก ๆ หรือขม ๆ ในปาก ซึ่งเป็นอาการของกรดไหลย้อน (จากการตั้งท้อง)
  • มีอาการปวดหัว-อาเจียนตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะเวลาได้กลิ่นบางอย่าง เช่น อาหาร น้ำหอม
  • ปวดหลังมากโดยเฉพาะหลังส่วนล่าง
  • อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
  • มีตกขาวมากกว่าปกติ
  • มีเลือดไหลออกมาเล็กน้อย โดยมีสีออกชมพู หรือที่เรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก (พบแค่บางราย)

         อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ตั้งท้องอาจมีอาการเหล่านี้หรือไม่ก็ได้ แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ซึ่งยากที่จะแยกความแตกต่างกับอาการก่อนเมนส์มา แต่สิ่งสำคัญคือ 1-2 อาทิตย์หลังจากพบอาการ PMS หากไม่ได้ทั้งท้อง ประจำเดือนหรือเมนส์จะต้องมาตามกำหนด หรือคลาดเคลื่อนเล็กน้อย แต่หากเมนส์ไม่มาภายใน 7-14 วันหลังกำหนด และก่อนหน้านั้นได้มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน ให้คุณสงสัยได้เลยว่าอาจจะตั้งท้อง

วิธีที่จะแยกความแตกต่างระหว่างอาการ PMS กับการตั้งครรภ์ได้ดีที่สุด คือการใช้ที่ตรวจครรภ์ หรือเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อคอนเฟิร์ม

แบนเนอร์ Bedee

แบนเนอร์ Bedee

ตกขาวสีน้ำตาล ตกขาวสีเหลือง บอกอะไร? เรื่องเล็ก ๆ ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

สินค้าสุขภาพ บันทึกประวัติและประเมินผลผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

NEW
1,390฿

เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี

950฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 20 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

890฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 14 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

บอกลาความทรมานจากอาการ PMS ง่าย ๆ แค่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์

         อาการก่อนเมนส์มา หรือ PMS สร้างความน่าอึดอัดและทรมานให้กับผู้หญิงอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ แถมอาการแบบนี้ก็วนกลับมาเป็นเกือบทุกเดือน ซึ่งเชื่อว่าไม่มีใครอยากให้อาการที่น่ากวนใจเหล่านี้เกิดขึ้นแน่นอน แต่รู้หรือไม่คะว่า อาการ PMS สามารถรับมือได้ แค่เราหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตค่ะ

อาการก่อนเมนส์มา PMS

วิธีการป้องกันการเกิดอาการก่อนเมนส์มา

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การวิ่ง การเต้น โยคะ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เป็นประจำทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด หันมาทานอาหารที่มีกากใยสูง
  • พยายามหาทางผ่อนคลาย หากเครียด กดดัน หรือรู้สึกกังวล
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชม.
  • งดการดื่มเหล้า ชา กาแฟ และการสูบบุหรี่
  • อาบน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และเลือดไหลเวียนดีขึ้น
  • จดบันทึกระยะเวลาและอาการ PMS ที่เคยเกิดขึ้นในแต่ละเดือน เพื่อเตรียมรับมือกับอาการเหล่านั้น

สรุป

         PMS หรืออาการก่อนเมนส์มา เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่โรคหรืออาการป่วยร้ายแรง แต่ก็ควรหาทางรักษาหรือบรรเทาอาการก่อนเมนส์มาเหล่านั้น เพื่อที่จะได้ลดความทรมาน และยังป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงจนพัฒนาไปเป็น PMDD ได้ อย่างไรก็ตาม อาการก่อนเมนส์มาสามารถป้องกันได้ โดยต้องหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้วยวิธีที่บทความนี้ได้นำมาฝากนะคะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup