บอกลา อาการกรดไหลย้อน แบบไม่ย้อนกลับมาเป็นอีก! ด้วย 10 วิธีง่าย ๆ ไม่ว่าใครก็ทำได้!

อาการกรดไหลย้อน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         มีท่านไหนกำลังประสบปัญหากับ อาการกรดไหลย้อน ไหมคะ? ทั้งเรอมีกลิ่นเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก แน่นท้อง ทำให้ใช้ชีวิตได้ไม่สะดวกสบายเหมือนเคย บางท่านอาจจะทรมานจนนอนไม่หลับ บทความนี้ มีวิธีบอกลากรดไหลย้อน ไม่ให้ย้อนกลับทำร้ายอีก ด้วย 10 วิธีง่าย ๆ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

สารบัญ

อาการกรดไหลย้อน เป็นอย่างไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?

         กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) คือ ภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เกิดการไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหาร และอวัยวะทางช่องคอ เกิดการระคายเคือง ซึ่งการที่น้ำย่อยหรือกรด ไหลย้อนกลับขึ้นมานี้ เกิดมาจากหูรูดของหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่กั้นไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นไป มีการบีบตัวหรือคลายตัวมากกว่าปกตินั่นเอง

อาการกรดไหลย้อน

         โรคกรดไหลย้อน ไม่เพียงแต่สร้างความทรมานให้กับผู้ที่เป็นอย่างเดียว แต่ในกรณีที่รุนแรง อาจจะเกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ภาวะกลืนลำบาก เลือดออกในหลอดอาหาร ปอดอักเสบ (ในผู้ที่มีการขย้อนน้ำและอาหารขึ้นมาขั้นรุนแรง) ในกรณีที่แย่ที่สุดอาจนำไปสู่โรคมะเร็งหลอดอาหารได้ อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ

ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน

  • พฤติกรรมการกิน เช่น กินแล้วนอนทันที กินอาหารไม่เป็นเวลา กินแต่อาหารมัน ๆ
  • กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนกระตุ้นเป็นประจำ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม รวมไปถึงการสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคผิวหนังแข็ง 
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาโรคหอบหืดบางตัว
  • มีภาวะเครียด
  • ตั้งครรภ์
  • ผู้สูงอายุ จะเสี่ยงมากกว่าวัยอื่น เนื่องจากหูรูดหลอดอาหารและเยื่อบุต่าง ๆ จะเสื่อมสภาพลง

อาการกรดไหลย้อน

อาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างไร?

  • แสบร้อนกลางอกหรือบริเวณลิ้นปี่
  • รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ และมักเรอมีกลิ่นเปรี้ยวบ่อย
  • จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด และมักขย้อนอาหารหรือน้ำขึ้นมาบ่อย ๆ
  • กลืนลำบาก คล้ายมีก้อนอยู่ในคอ
  • เจ็บคอเกือบตลอดเวลา และในตอนเช้ามักมีเสมหะ
  • ในเด็กเล็ก มักอาเจียนบ่อยหลังดูดนม น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย มีการหยุดหายใจขณะหลับ

อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วย

  • เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เสียงเปลี่ยนหรือแหบ
  • ฟันผุ มีกลิ่นปาก
  • พบไซนัสอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ หูอักเสบ
  • รู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน
  • สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด มีอาการหอบมากขึ้น แม้ใช้ยาก็ไม่ดีขึ้น

หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องรุนแรง ถ่ายอุจจาระดำ ตัวซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

Body Composition Scale รุ่น JPD-BFS200B

890฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 14 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

รหัสสินค้า: JPD-BFS200B หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

10 วิธีบอกลา อาการกรดไหลย้อน แบบไม่ย้อนกลับมาทำร้ายอีก!

         สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหากรดไหลย้อนอยู่ จะทราบดีเลยล่ะค่ะว่า อาการกรดไหลย้อนนั้นทรมานแค่ไหน ซึ่งวิธีการรักษา มีทั้งวิธีกินยาและผ่าตัด แต่สำหรับผู้ที่เป็นในระยะเริ่มต้น ไม่รุนแรงมาก แค่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ก็สามารถบอกลากรดไหลย้อนที่แสนทรมานนี้ได้ แบบไม่ต้องพึ่งยาเลยล่ะค่ะ แถมผู้ที่ยังไม่เป็นโรคกรดไหลย้อน ก็สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้นะคะ

กรดไหลย้อน รักษา

         1.ปรับหัวนอนให้สูงขึ้น โดยไม่ควรใช้วิธีการนอนหมอนสูงหรือนอนหมอนซ้อนกัน เพราะจะทำให้ท้องโค้งงอ แล้วความดันในช่องท้องจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้กรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นมากกว่าเดิม นอกจากจะทำให้อาการหนักขึ้นแล้ว ยังอาจเสี่ยงที่จะเกิดอาการคอเคล็ดหรือนอนตกหมอนอีกด้วย

         หากต้องการปรับหัวนอนให้สูงขึ้น ควรใช้วิธีหาอุปกรณ์มารองขาเตียง หรือสอดอุปกรณ์ใต้ที่นอนให้หัวนอนอยู่ในลักษณะลาดเอียง แต่ก็เป็นวิธีที่มีความยุ่งยาก เสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างนอน แถมยังทำให้นอนไม่สบายอีกด้วย

ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการใช้ เตียงไฟฟ้าหรือเตียงปรับระดับ ที่มีฟังก์ชันในการปรับหัวเตียงให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมในการนอน ทำให้ช่องท้องไม่โค้งงอ กรดจึงไม่ไหลย้อนขึ้นมา อีกทั้งยังทำให้นอนสบาย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้ยุ่งยากเหมือนวิธีอื่น

สนใจ เตียงไฟฟ้า เตียงปรับระดับ ที่มีฟังก์ชันปรับหัวเตียง คลิกเลย!

         2. เปลี่ยนท่านอนเป็นท่าตะแคงซ้าย เพราะจะทำให้ถุงเก็บอาหารภายในกระเพาะอาหาร ย้อยลงมาช่วยปิดหลอดอาหาร ทำให้กรดหรือน้ำย่อยไม่ไหลย้อนขึ้นมา

         3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดและเป็นกรด รวมทั้งแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และอาหารไขมันสูง พยายามกินอาหารให้เป็นเวลา โดยที่มื้อเย็นควรกินอาหารให้น้อย และเมื่อกินเสร็จแล้ว ให้นั่งพักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนล้มตัวนอน

         4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (ดู วิธีเลิกบุหรี่ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล แบบไม่กลับไปสูบอีก Click!!!)

         5. ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐานหรือ BMI

         6. ควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในภาวะปกติ เช่น โรคเบาหวาน ก็ควรคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ หากมีการกินยาที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว

เครื่องตรวจระดับน้ำตาล ตรวจเบาหวาน

         7. พยายามไม่เครียด เพราะการทำงานของกระเพาะอาหารไวต่อความเครียด

         8. ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปมากเกินไป โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่รัดบริเวณหน้าท้อง

         9. อย่าปล่อยให้ท้องผูก ควรกินอาหารที่มีส่วนช่วยในการขับถ่าย

         10. ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะการเคี้ยวหมากฝรั่งจะเพิ่มน้ำลายในช่องปาก ทำให้ต้องกลืนน้ำลายและลมบ่อย ส่งผลให้กรดไหลย้อนขึ้นมาง่าย

สรุป

         แม้โรคกรดไหลย้อนจะดูไม่อันตราย แต่หากชะล่าใจไม่รีบรักษา อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยนะคะ ดังนั้น มาลองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ด้วย 10 วิธีที่บทความนี้นำมาฝาก รับรองว่าความทรมานจาก อาการกรดไหลย้อน ที่เป็นอยู่ต้องดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ เพราะวิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ก่อนที่จะเริ่มตัดสินให้ยาหรือผ่าตัดผู้ป่วยนั่นเองค่ะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup