ปวดท้องตรงกลาง ปวดท้องบิด ปวดแบบไหนควรไปหาหมอ?

ปวดท้องตรงกลาง

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         หลายคนคงเคยประสบปัญหาปวดท้อง ซึ่งอาการปวดแต่ละครั้ง ก็มีตำแหน่งที่แตกต่างกันไป เดี๋ยว ปวดท้องตรงกลาง เดี๋ยวปวดท้องข้างขวา – ข้างซ้าย หรืออยู่ ๆ ก็ปวดบิด ปวดจี๊ด ๆ ขึ้นมาซะอย่างนั้น แถมยังไม่รู้ว่าปวดเพราะอะไรอีก แต่รู้หรือไม่คะว่า จริง ๆ แล้ว ตำแหน่งที่ปวดท้องบอกโรคได้นะ! ซึ่งแพทย์เองก็ใช้วิธีนี้ในการวินิจฉัยอาการของคนไข้ด้วยเช่นกัน มาดูกันว่า ปวดท้องตำแหน่งไหนบอกโรคอะไรบ้าง และปวดท้องแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ปวดท้องตรงกลาง

สารบัญ

ปวดท้องตรงกลาง ปวดท้องบิด ปวดตำแหน่งไหนบอกอะไรบ้าง?

         เชื่อว่าทุกคน คงเคยผ่านความเจ็บปวด จากอาการปวดท้องมาแล้วทั้งนั้น สังเกตไหมคะว่า ปวดท้องแต่ละครั้ง ตำแหน่งในการปวดนั้นแตกต่างกัน ความรุนแรง และลักษณะอาการก็แตกต่างกัน นั่นก็เพราะว่า ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง มาจากอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ในช่องท้องค่ะ เรามาดูกันว่า ตำแหน่งปวดท้องไหนเกิดจากอะไรบ้าง

ปวดท้องตรงกลาง

1.ปวดบริเวณใต้ชายโครงขวา หากมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา กดบริเวณที่ปวด แล้วเป็นก้อนแข็ง ๆ มีอาการตัวเหลืองร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณความผิดปกติของตับและถุงน้ำดี 2.ปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่

  • ร่วมกับมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก อาจเป็นอาการของโรคหัวใจขาดเลือด
  • รู้สึกปวดใต้ลิ้นปี่เป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร
  • หากปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่อย่างรุนแรง มีอาการอาเจียนร่วมด้วย แสดงถึงความผิดปกติบริเวณตับอ่อน อาจเป็นตับอ่อนอักเสบ
  • หากปวดแล้วคลำเจอก้อนเนื้อ ขนาดใหญ่และแข็ง นั่นแสดงถึงอาการตับโต
  • ปวดใต้ลิ้นปี่ แล้วมีอาการท้องอืด หรือแน่นท้องเป็นเวลานาน อาจเป็นนิ่วในถุงน้ำดี

3.ปวดบริเวณชายโครงซ้าย แสดงถึงความผิดปกติที่บริเวณม้าม ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการทันที

ปวดท้องบิด

4.ปวดบริเวณบั้นเอวขวา

  • ปวดมากจนเหงื่อออก ร่วมกับมีปัสสาวะเป็นเลือด อาจจะเป็นนิ่วที่ไต
  • ปวดร้าวถึงต้นขา เป็นอาการเริ่มต้นของโรคนิ่วในท่อไต
  • มีอาการปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น และปัสสาวะขุ่น แสดงถึงอาการของโรคกรวยไตอักเสบ
  • แต่หากปวดและคลำเจอก้อนเนื้อ ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุต่อไป

5.ปวดบริเวณรอบสะดือ ซึ่งเป็นตำแหน่งของลำไส้เล็ก มักจะมีอาการปวดบิด ร่วมกับถ่ายเหลว และอาเจียน หากกดแล้วปวดมาก อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

6.ปวดบริเวณบั้นเอวซ้าย สันนิษฐานโรคได้เช่นเดียวกับบั้นเอวขวา เนื่องจากเป็นตำแหน่งของไตเช่นเดียวกัน

ตำแหน่งปวดท้อง

7. ปวดบริเวณท้องน้อยขวา

  • มีลักษณะปวดเกร็งจนถึงต้นขา เป็นอาการของโรคกรวยไตอักเสบ หรือนิ่วท่อไต
  • หากปวดเสียด รู้สึกเหมือนบีบอยู่ตลอดเวลา เมื่อกดแล้วรู้สึกเจ็บมาก อาจจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดท้องน้อยขวา ร่วมกับมีไข้สูง และมีตกขาว แสดงถึงความผิดปกติบริเวณมดลูก อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบได้
  • หากปวดแล้วคลำเจอก้อนเนื้อ ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด อาจเป็นอาการก้อนไส้ติ่งอักเสบ หรือรังไข่ผิดปกติก็ได้

8.ปวดท้องน้อยตรงกลาง

  • ร่วมกับปัสสาวะกะปริบกะปรอย และปวดเวลาปัสสาวะ อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้
  • ปวดท้องน้อย มีไข้สูง ร่วมกับมีตกขาวที่มีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นโรคมดลูกอักเสบ
  • ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนบ่อยครั้งจนเรื้อรัง และมีลักษณะปวดเกร็ง เป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติบริเวณมดลูก ควรรีบพบแพทย์
เครื่องชั่ง BFS200B
คลิก อ่านบทความ : ปวดท้องประจำเดือน อันตรายไหม? ปวดแบบไหนต้องไปหาหมอ

9.ปวดท้องน้อยซ้าย

  • มีลักษณะปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ ร้าวมาที่ต้นขา อาจเป็นนิ่วในท่อไต
  • ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น และมีตกขาว เป็นอาการของมดลูกอักเสบ
  • ปวดท้องน้อยซ้าย และถ่ายอุจจาระผิดปกติ เป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • มีอาการท้องผูกเป็นประจำ หากปวดท้องน้อยซ้าย แล้วอุจจาระมีมูกปนเลือด ท้องเสีย น้ำหนักลด และคลำพบก้อน อาจเป็นอาการของเนื้องอกในลำไส้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

          ตำแหน่งที่ปวดท้อง สามารถบอกโรคได้จริง แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัด จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ และหาทางรักษาต่อไป

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

แบนเนอร์ Bedee

แบนเนอร์ Bedee

โรคในช่องท้องที่พบได้บ่อย

         อาการปวดท้อง แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้อง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีโรคที่เกิดในบริเวณช่องท้องที่มักพบได้บ่อย ๆ ดังนี้

ปวดท้องด้านขวา

1.นิ่วในถุงน้ำดี

         ถุงน้ำดี ทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำดี และเพิ่มความเข้มข้นในการย่อยสลายอาหารประเภทไขมันให้ดียิ่งขึ้น การเกิดนิ่วที่บริเวณถุงน้ำดี เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น กินอาหารที่มีไขมันสูงมาก ๆ เป็นโรคอ้วน หรือโรคเลือดต่าง ๆ ทำให้องค์ประกอบของน้ำดีเสียไป จนเกิดการตกตะกอนกลายเป็นนิ่วขึ้น

2.ไส้เลื่อน

         ไส้เลื่อน คือ การที่ผนังของกล้ามเนื้ออ่อนแอลง หรือความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้เกิดการหย่อน หรือฉีกขาด ทำให้อวัยวะในช่องท้องเคลื่อนตัวออกมา จนท้องนูนเป็นก้อนจนสังเกตได้ มักพบบริเวณ สะดือและขาหนีบ ซึ่งมีสาเหตุมักเกิดจากน้ำหนักตัวที่มาก ทำให้ผนังหน้าท้องขยาย จนทำให้ผิวบริเวณหน้าท้องตึงและบาง หรือมีความดันในช่องท้องมากกว่าปกติ เช่น ยกของหนัก การเบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระแรง ๆ ท้องผูก

3.ไส้ติ่ง

         ไส้ติ่ง อวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อตัน เป็นส่วนหนึ่งที่ยื่นออกจากลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันของเศษอาหาร ส่งผลให้มีอาการปวดท้องที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อยด้านขวา ซึ่งอาการปวดไส้ติ่งนี้ ไม่สามารถหายเองได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้ไส้ติ่งแตก จนเกิดอันตรายได้

ปวดท้องขวาล่าง

4.แผลในกระเพาะอาหาร / ลำไส้อักเสบ

         โรคแผลในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยรวมไปถึงเด็กเล็ก ส่วนลำไส้เล็กอักเสบ มักพบในผู้ป่วยอายุน้อย ทั้งสองโรคนี้มักมีสาเหตุมาจาก การกินข้าวไม่ตรงเวลา กินอาหารรสเผ็ดจัด ดื่มกาแฟเป็นประจำ มีความเครียด ติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร

5.กรดไหลย้อน

         กรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร จนทำให้ปวดแสบปวดร้อนในช่องท้องส่วนบน ไปถึงบริเวณกลางอก มักมีสาเหตุมาจากเป็นโรคอ้วน สูบบุหรี่และดื่มชากาแฟเป็นประจำ กินอาหารแล้วนอนทันที หรือคนที่ชอบเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อย ๆ เพราะเป็นการเรียกน้ำย่อย และกระตุ้นกรดในกระเพาะอาหาร

6.ตับและตับอ่อนอักเสบ

         หน้าที่ของตับอ่อนคือ ผลิตน้ำย่อย และฮอร์โมนบางชนิด สาเหตุของตับอ่อนอักเสบส่วนใหญ่ มักเกิดในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา จะมีอาการปวดท้องจนต้องงอตัว เพื่อให้ความปวดทุเลาลง ซึ่งมักพบบ่อยในเพศชาย หากตับอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้การทำงานของตับผิดปกติ เกิดตับแข็ง หรือเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับตามมาได้

ปวดท้องใต้ลิ้นปี่

7.กระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ

         กระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ เกิดจากการที่มีท้องผูกเรื้อรัง หากปล่อยทิ้งไว้อาจมีการแตก หรือการอุดตัน หรือถ่ายเป็นเลือดได้

8.โรคทางนรีเวช

         อาการปวดท้องของโรคทางนรีเวช อาการสังเกตคือ การปวดบริเวณท้องน้อยด้านล่าง ตรงกลาง หรืออาจจะซ้ายและขวาก็ได้ อาจเป็นการส่งสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวกับมดลูก หรือปีกมดลูกในผู้หญิง หรือการสังเกตความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมามาก หรือน้อยผิดปกติ มากะปริบกะปรอย

 
ไวรัสโคโรน่า

อาการปวดท้องแบบไหน ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน!

         หากมีอาการปวดท้อง แล้วไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเลย ไม่ควรนิ่งนอนใจนะคะ โดยเฉพาะอาการปวดท้องที่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย มาเช็กกันว่า อาการปวดท้องแบบใดที่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ปวดไส้ติ่ง

  • ปวดท้องโดยมีอาการตาเหลืองและอาเจียนร่วมด้วย
  • ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมง ไม่มีทีท่าจะดีขึ้น แต่กลับรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • กินอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย
  • ยิ่งขยับตัว ยิ่งปวดมากขึ้น
  • ปวดท้องที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดอันตราย
  • อาการปวดรุนแรง จนไม่สามารถนอนหลับได้
  • มีเลือดออกจากช่องคลอด
  • มีไข้ 37.5 – 38 องศาตลอดเวลา

สรุป

        ตำแหน่งของการปวดท้อง ไม่ว่าจะเป็น ปวดท้องตรงกลาง ปวดท้องข้างซ้าย ปวดท้องข้างขวา สามารถบอกโรคได้จริง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์นะคะ อย่าเพิ่งวิตกกังวลจนด่วนสรุปว่าตัวเองเป็นโรคร้าย แต่เป็นเพียงสัญญาณเตือนที่ช่วยให้เราตระหนัก ถึงภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ควรชะล่าใจปล่อยทิ้งไว้จนอาการร้ายแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียด หากป่วยเป็นอะไรขึ้นมา จะได้รักษาได้ทันที หรือหากไม่ได้เป็นอะไร อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงโรคที่อาจเกิดขึ้นนะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup