เท้าบวม เกิดจากอะไร? เท้าบวมแบบไหนอันตราย

เท้าบวม เกิดจาก

         อาการผิดปกติที่เกิดกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ย่อมสำคัญ อย่างเท้า แม้จะเป็นจุดที่เราไม่ค่อยได้มองหรือสังเกตมากนัก ก็สามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ บทความนี้เราจะพูดถึงปัญหา เท้าบวม เกิดจากปัญหาสุขภาพและโรคต่าง ๆ ที่อยากให้ผู้อ่านได้สังเกตและระวังไว้ค่ะ

เท้าบวม เกิดจากอะไร?

         เท้าบวม เป็นอาการบวมเริ่มต้นตั้งแต่ฝ่าเท้า ส้นเท้า ข้อเท้าไปจนกระทั่งถึงหน้าแข้ง โดยบางกรณีก็ปรากฎอาการเท้าบวมเพียงข้างใดข้างหนึ่ง แต่บางกรณีก็มีอาการบวมให้เห็นทั้งสองข้าง โดยอาการเท้าบวมมักเกิดมาจากสาเหตุดังนี้

เท้าบวม เกิดจาก

สาเหตุของอาการเท้าบวม

  1. เกิดการบาดเจ็บหรือติดเชื้อที่บริเวณเท้า
  2. ยืนหรือนั่งนานเกินไป
  3. เป็นโรคเบาหวาน ทำให้ของเหลวคั่งจากการไหลเวียนของเลือดไม่ดี
  4. เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ไต และตับ
  5. กินของเค็มมากไป หรือดื่มน้ำเยอะเกินพอดี
  6. ร่างกายได้รับโปรตีนบางชนิดต่ำ
  7. น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  8. กินยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดัน
  9. ตั้งครรภ์ และอาจเกิดความผิดปกติขณะตั้งครรภ์

ทำไมผู้สูงอายุถึงเท้าบวมบ่อย?

         กลุ่มบุคคลที่มักจะมีอาการเท้าบวมอยู่เป็นประจำก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ โดยอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุนั้นเป็นอาการเท้าบวม เกิดจากการคั่งค้างของของเหลวภายในเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยส่วนมากก็จะเกิดการคั่งค้างที่บริเวณต่ำสุดของร่างกาย ซึ่งก็คือบริเวณเท้านั่นเอง

         ซึ่งอาการเท้าบวมมีศัพท์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Edema ปกติแล้วผู้สูงอายุจะปรากฎอาการดังกล่าวเมื่อมีอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป แต่ในบางรายก็จะมีอาการให้เห็นได้ไวกว่าจากปัจจัยอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะนำความอึดอัด ความไม่สบาย และในบางรายก็นำมาซึ่งความเจ็บปวดแก่ผู้สูงอายุอีกด้วย

ปวดส้นเท้า-ฝ่าเท้าซ้ำ ๆ เพราะ “โรครองช้ำ” หรือเปล่า?!

เท้าบวม แบบไหนอันตราย?

         เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุของอาการเท้าบวมกันไปแล้ว ถัดมาเราก็จะพาทุกท่านไปพบกับอาการเท้าบวมที่นับว่าเป็นอาการบวมที่ไม่ปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนอาการจะหนักไปมากกว่าเดิม

เท้าบวม เกิดจาก

อาการเท้าบวมที่ไม่ปกติ

  1. สตรีมีครรภ์ที่เกิดอาการเท้าบวมเฉียบพลันรุนแรง ซึ่งส่วนนี้อาจเป็นการแสดงออกถึงอาการครรภ์เป็นพิษที่เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กได้ โดยภาวะดังกล่าวนี้เท้าบวมเกิดจากการรั่วไหลของโปรตีนไปในปัสสาวะที่จะมีอาการร่วมคืออาเจียน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และปัสสาวะบ่อย ต้องรีบนำส่งแพทย์ทันที
  2. มีอาการเท้าบวม ร่วมกับการมีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งไม่ควรปล่อยให้หายเองต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาการเท้าบวมที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันนี้อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึกที่นับว่ารุนแรงมาก หากการอุดตันดังกล่าวลุกลามเข้าไปภายในปอด

วิธีแก้อาการเท้าบวม

         อย่างไรก็ดีเมื่อเราได้ทราบกันแล้วว่าอาการเท้าบวม เกิดจากช่วงอายุ กิจวัตรหรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราร่วมด้วยแล้วนั้น ดังนั้นเราก็จะสามารถบรรเทาอาการ และลดอาการเท้าบวมลงได้ ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนวิธีการง่าย ๆ ดังต่อไปนี้เลยค่ะ

นิ้วเท้าบวม

วิธีแก้เท้าบวมด้วยตนเอง

  • เปลี่ยนอิริยาบทเมื่อนอน โดยการยกส่วนของเท้าให้สูงขึ้น หรือหนุนหมอนบริเวณตั้งแต่หน้าแข้งลงไปเป็นเวลาครั้งละ 5 – 10 นาที ซึ่งจะช่วยลดและบรรเทาอาการฝ่าเท้าบวมได้เป็นอย่างดี
  • เปลี่ยนอิริยาบทบ้างเมื่อมีการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ โดยอาการเท้าบวมนี้มักเกิดในผู้ที่ทำงานออฟฟิตแบบนั่งโต๊ะ และอาการดังกล่าวนี้ก็เป็นอาการหนึ่งในออฟฟิตซินโดรม ที่เราสามารถลดและบรรเทาได้เพียงแค่ลุกขึ้นเดินบ้างในทุก ๆ ครึ่งชั่วโมงของการนั่งทำงาน
  • ลดการสวมใส่รองเท้า ถุงเท้าที่รัดแน่นจนทำให้เกิดการคั่งค้างของของเหลวภายในร่างกายแล้วทำให้เกิดอาการบวม ซึ่งมักปรากฎอาการนิ้วเท้าบวม โดยเฉพาะบริเวณนิ้วก้อยของเท้าทั้งสองข้าง หนึ่งในปัจจัยที่หลาย ๆ ท่านสามารถหลีกเลี่ยงเพื่อลดและบรรเทาอาการเท้าบวมได้ก็คือการลดการสวมใส่รองเท้าผ้าใบที่มีการรัดเท้าอยู่ตลอดเวลา อาจเปลี่ยนจากรองเท้าผ้าใบมาเป็นรองเท้าใส่อยู่บ้านเมื่ออยู่ในบ้านหรืออยู่ภายในออฟฟิตแทนก็ได้
  • ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารสำเร็จรูปที่ปริมาณโซเดียมสูง รวมถึงปริมาณของเกลือที่เกินกว่าความจำเป็นของร่างกาย และอาหารเหล่านี้ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เท้าบวมได้ด้วย รวมถึงโซเดียมและเกลือในอาหารที่ลดลงจากการบริโภคก็จะช่วยลดการสะสมของของเหลวภายในเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงช่วยลดและบรรเทาอาการบวมของเท้าได้อีกทางหนึ่งนั่นเอง

แบนเนอร์ Bedee

แบนเนอร์ Bedee

สรุป

         เมื่อเราทราบแล้วว่าเท้าบวมเกิดจากอะไรได้บ้าง เราก็จะสามารถจำแนกสาเหตุ ซึ่งจะนำไปสู่การบรรเทา การลด หรือการรักษาที่ถูกต้องได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น อย่างไรก็ดีหากอาการเท้าบวมนั้น ๆ เป็นอาการเรื้อรังหรือปรากฎอยู่นาน คุณเองก็ควรปรึกษา และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคอื่น ๆ ตามมาก็ได้

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup