เครื่องวัดความดันโลหิต (ต้นแขน) Blood pressure Monitors
เครื่องวัดความดันโลหิต คือ เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดค่าความดัน ของกระแสเลือด ภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยที่เมื่อหัวใจบีบตัว จะได้ค่า ความดันตัวบน (Systolic Blood pressure) และเมื่อหัวใจคลายตัว จะได้ค่า ความดันตัวล่าง (Diastolic blood pressure)
หน้าจอเปลี่ยนสีตามความดันที่วัดได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี
เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี
เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี
ระบบเสียงภาษาไทย | หน้าจอเปลี่ยนสีตามความดันที่วัดได้ | ตั้งปลุกเพื่อเตือนให้วัดความดันโลหิตได้
รับประกันสินค้า 1 ปี
เครื่องวัดความดันโลหิต มีอยู่หลายชนิด แต่ในปัจจุบัน นิยมเลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต ดิจิตอล หรือที่เรียกกันว่า แบบอัตโนมัติ เนื่องจาก เครื่องวัดความดันโลหิต ชนิดนี้ สามารถใช้งานได้ง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน แม้แต่ ผู้สูงอายุ ก็สามารถใช้ได้ ด้วยตนเอง ไม่ต้องใช้ผู้ช่วยเหลือ จึงทำให้หลายคน นิยมเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันดิจิตอล ติดบ้านไว้มากที่สุด
คำถามที่พบบ่อย
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความตื่นเต้น-กังวล การทานยาก่อนการวัด ความเหนื่อยล้าจากการเดินทางมาโรงพยาบาล เป็นต้น
สำหรับผ้าพันต้นแขน ที่มากับตัวเครื่องวัดความดัน จะเป็นขนาดมาตรฐาน 22 – 32 ซม. หากต้องการไซส์ใหญ่ จะมีจำหน่ายแยก เป็นขนาด 22 – 40 ซม. สามารถสั่งซื้อได้ที่ช่องทาง Line OA : @allwell
ไม่สามารถใช้ผ้าพันแขนของยี่ห้ออื่นได้ เนื่องจากอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องวัดความดันลดลง และอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับเครื่องวัดความดันได้
ไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ แต่สามารถเสียบใช้งานกับไฟบ้านหรือพาวเวอร์แบงค์ได้ โดยขณะเสียบใช้งานจากไฟบ้าน แนะนำให้ถอดถ่านออก
สามารถปิดเสียงพูดได้ โดยกดปุ่มตั้งค่า SET หน้าจอจะแสดงสัญลักษณ์ SP กดปุ่มบันทึกค่า MEM เพื่อตั้งค่าระบบเสียง On (เปิด) หรือ Off (ปิด) ตามต้องการ แต่จะไม่สามารถลดหรือเพิ่มระดับเสียงได้
วิธีเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต ดิจิตอล
- ควรเลือก เครื่องวัดความดันโลหิต ดิจิตอล ที่มีการรับรองมาตรฐาน
- เครื่องวัดความดัน ชนิดที่มีผ้าพันรอบต้นเเขน จะมีความแม่นยำ มากกว่าชนิดอื่น เนื่องจาก อยู่ใกล้หัวใจที่สุด
- จออ่านข้อมูล แสดงผลได้ชัดเจน ควรแสดงอัตราการเต้นของหัวใจด้วย
- เลือกเครื่อง ที่สามารถบันทึกค่าความดันได้ เพื่อย้อนดูผลการวัด ย้อนหลัง
- ตัวเครื่องควรมี บริการหลังการขาย และมีการการรับประกัน คุณภาพสินค้ามากกว่า 2 ปี ขึ้นไป
เมื่อ เครื่องวัดความดันโลหิต ดิจิตอล แสดงผล ตัวเลขแบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ?
- ตัวเลขตัวบน เป็นค่าความดันของกระแสเลือด ขณะหัวใจบีบตัว ค่าตัวเลขตัวบน ที่เหมาะสม ควรน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท (แต่ไม่น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท)
- ตัวเลขตัวล่าง เป็นค่าความดันของกระแสเลือด ขณะหัวใจคลายตัว ค่าตัวเลขตัวล่าง ที่เหมาะสม ควรน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท (แต่ไม่น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท)
หากค่าตัวเลข ทั้งตัวบน และตัวล่าง สูงหรือต่ำกว่าที่กล่าวข้างต้นมาก ๆ อาจเสี่ยงเป็นโรคความดันสูง หรือความดันต่ำได้ หากปล่อยทิ้งไว้ ภาวะความดันที่ผิดปกติเหล่านี้ จะนำพาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมามากมาย
โรคร้ายที่มาพร้อมกับความดันที่ผิดปกติ
- โรคหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หรือที่เรียกว่า อาการ Stroke สาเหตุหลักของการเป็น อัมพฤกษ์ – อัมพาต
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต เกิดจากการที่ความดันสูง ทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก ส่งผลให้เหนื่อยง่าย อาจนำไปสู่ ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย มีอาการเจ็บหน้าอก ช็อก หรือหัวใจวายได้
- โรคไตเรื้อรัง ไตวาย ไตเสื่อม เนื่องจากไต สูญเสียความสามารถ ในการทำงาน ซึ่งเกิดมาจาก ความดันโลหิตสูง
อ่านต่อ : ความดันภัยเงียบตัวร้ายสำหรับผู้สูงวัยความดันโลหิตสูง เป็นโรค ที่ควรระวังไว้อย่างมาก เพราะผู้ป่วยมากกว่าครึ่ง จะไม่แสดงอาการ ผิดปกติใด ออกมาเลย ซึ่งกว่าจะรู้ตัว ก็เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง ขึ้นแล้ว โดยเฉพาะ โรคยอดฮิต อย่างโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ - อัมพาต ส่งผลให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น เราต้องหมั่นเช็กความดัน ของตนเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติใด จะทำให้เข้ารับการรักษา ได้อย่างทันท่วงที ลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
วิธีดูแลตนเอง ให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิต
- พยายามไม่เครียด ดูแลสุขภาพจิต ของตนเองให้ดี อย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- หลีกเลี่ยง การกินอาหาร เค็ม หวาน มัน
- กินยาที่แพทย์จ่ายให้ ตามคำสั่งแพทย์ อย่างเคร่งครัด
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
- งดดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดทุกชนิด
- หมั่นตรวจเช็ก ค่าความดัน ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อควบคุม ให้ค่าความดัน เป็นปกติอยู่เสมอ
ไม่อยากความดันสูง! หยุดกินอาหารเหล่านี้
อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่มีผลกับความดันโลหิต ดังนั้น ถ้าไม่อยากความดันสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีรสเค็ม หวาน มัน หรือมีปริมาณโซเดียม และไขมันที่ไม่ดี สูง เช่น
- เครื่องปรุง หรือน้ำจิ้มต่าง ๆ
- ผักดอง และอาหารประเภทดองต่าง ๆ
- น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มคาเฟอีน และแอลกอฮอล์
- เนื้อสัตว์ติดมัน
- ของทอด อาหารฟาสฟู้ด
- อาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง
- ขนมหวาน เบเกอรี่ ไอศกรีม
แต่อาหารเหล่านี้ ช่วยลดความดันสูงได้นะ!
- แตงโม ควบคุมการไหลเวียนของเลือด
- กล้วย สร้างสมดุลให้ร่างกาย ให้เหมาะสม กับการทำงานของไต
- น้ำมันมะกอก ช่วยลดความดัน ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก
- กระเทียม ช่วยป้องกัน ไม่ให้คอลเลสเตอรอล เกาะตามผนังหลอดเลือดแดง
- ข้าวกล้อง ให้พลังงาน และใยอาหารที่ดี ต่อร่างกาย
- งาดำ งาขาว มีโปรตีนดี และไม่มีไขมัน
- ถั่ว เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ช่วยในการเผาผลาญไขมัน
- เนื้อปลา ให้พลังงาน และช่วยทำให้ หลอดเลือดหัวใจ แข็งแรงมากขึ้น
- นมจืดไขมันต่ำ มีแคลเซียม ที่ช่วยดูแลกระดูก ให้แข็งแรง
เลขทะเบียน/เลขสารบบ U1MC000102635164700006666C
ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.1558/2563*อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ผู้จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700