เชื่อว่าคุณผู้อ่านเกือบทุกคน คงเคยผ่านการวัดความดันโลหิตมาบ้างใช่มั้ยล่ะคะ ไม่ว่าจะไปโรงพยาบาล คลินิก หรือซื้อเครื่องวัดความดันมาตรวจวัดเองที่บ้าน แล้วเคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมตรวจความดันเด็กเล็กถึงต่างกับผู้ใหญ่? นั่นก็เพราะว่า ค่าความดันปกติ ของแต่ละช่วงอายุนั้นไม่เท่ากันค่ะ แล้วอายุเท่าคุณเหมาะกับตัวเลขเท่าไหร่? หากวัดหลายครั้งแล้วตัวเลขไม่ตรงกันผิดปกติไหม? หาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ
ค่าความดันโลหิต คืออะไร?
ความดันโลหิต คือ ค่าความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยที่เมื่อหัวใจบีบตัว เราจะได้ค่าความดันตัวบน และเมื่อหัวใจคลายตัว เราจะได้ค่าความดันตัวล่าง โดยที่ค่าความดันปกติ เฉลี่ยโดยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งค่าความดันเหล่านี้วัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดัน
สารบัญ
- ค่าความดันปกติ แต่ละช่วงอายุ ควรอยู่ที่เท่าไหร่?
- ทำไมวัดความดันแต่ละครั้ง ถึงไม่เท่ากัน?
- เครื่องวัดความดัน ใช้แบบไหนถึงจะดี?
ค่าความดันปกติ แต่ละช่วงอายุ ควรอยู่ที่เท่าไหร่?
หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างว่า ค่าความดันปกติ โดยเฉลี่ยแล้วควรอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรใช่มั้ยล่ะคะ แต่การที่ตัวเลขที่ตรวจวัดได้สูงหรือต่ำกว่านี้ ก็ไม่ได้น่ากังวลใจเสมอไปนะคะ เพราะในแต่ละช่วงอายุ ก็มีตัวเลขที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป (อ้างอิงจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ดังนี้ค่ะ
- วัยทารก : ไม่ควรเกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท
- เด็กเล็ก 3 – 6 ปี : ไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท
- เด็กโต 7 – 17 ปี : ไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- วัยทำงาน 18 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท
ดังนั้น ค่าความดันปกติที่เราคุ้นเคยอย่าง 120/80 ไม่ใช่ความดันปกติของทุกช่วงวัยนะคะ เช่น ถ้าวัดเด็กเล็ก แล้วได้ค่าความดัน 120/80 นั่นหมายถึงมีความดันสูงจนผิดปกติ เพราะฉะนั้น การดูช่วงวัยหรือช่วงอายุ ก็สำคัญนะคะ
หากค่าความดันสูงเกินกว่าที่กล่าวข้างต้น อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเหนื่อยล้า อุณหภูมิ สภาพแวดล้อม โรคภัย แต่ถึงอย่างไร เมื่อมีค่าความดันที่ผิดปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไปนะคะ
ทำไมวัดความดันแต่ละครั้ง ถึงไม่เท่ากัน?
การที่วัดความดันโลหิต แล้วมีค่าออกมาไม่เท่ากัน ไม่ได้แปลว่าเครื่องวัดความดันโลหิตเสียหรือไม่แม่นยำเสมอไปนะคะ จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบผิดวิธี (วิธีการวัดความดันให้ถูกวิธีควรทำอย่างไร Click!) แต่ละครั้งวัดติด ๆ กันทันที หรือก่อนวัดความดันอาจจะเพิ่งทานอาหารมา ดังนั้น ถ้าอยากรู้ว่าค่าความดันไม่เท่ากันแบบไหนที่ผิดปกติ ก็ควรตัดปัจจัยที่ทำให้ค่าความดันคลาดเคลื่อนออกก่อนนะคะ หากทำแล้วยังไม่เท่ากันอยู่ ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้ค่ะ
1.วัดความดันในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน
ในกรณีที่วัดแขนข้างเดียวกันและในท่าเดียวกันอย่างถูกวิธี แต่ได้ค่าความดันในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ให้วัดใหม่อย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที ค่าความดันที่ได้ จะต้องไม่ห่างกันเกิน 5 มิลลิเมตรปรอท หากเกินให้วัดซ้ำ 1 – 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ในการวัดครั้งแรก มักมีค่าความดันสูงกว่าครั้งถัด ๆ ไป ให้นำค่าที่ได้ในแต่ละครั้งมาหาค่าเฉลี่ยค่ะ ถ้าวัดหลายครั้งหรือหาค่าเฉลี่ยแล้วยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุนะคะ
2.วัดความดันที่บ้าน ไม่เท่ากับวัดที่โรงพยาบาล
การวัดความดันที่บ้าน แล้วได้ค่าที่ไม่เท่ากับที่โรงพยาบาล จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องปกตินะคะ อาจเกิดจากการเพิ่งเดินทาง ตื่นเต้นหรืออาจจะตื่นกลัวคุณหมอ ให้นั่งพักให้ผ่อนคลายอย่างน้อย 5 นาทีก่อนทำการวัด โดยส่วนใหญ่ค่าที่โรงพยาบาลจะสูงกว่าที่บ้านไม่เกิน 5 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันโลหิตที่สูงคือ วัดที่โรงพยาบาลได้มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท วัดจากที่บ้านได้มากกว่า 135/85 มิลลิเมตรปรอท โดยแนะนำให้ยึดผลวัดความดันจากที่บ้านมากกว่านะคะ เพราะสามารถเป็นความดันที่เกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนได้ อีกทั้งคุณหมอส่วนใหญ่ จะดูค่าความดันที่วัดได้จากที่บ้าน (อย่างสม่ำเสมอ) เพื่อใช้ประกอบการรักษาอีกด้วย
3.วัดความดันแขน 2 ข้างไม่เท่ากัน
จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะวัดความดันที่แขนข้างซ้ายหรือขวา ผลลัพธ์ที่ได้ก็ควรจะใกล้เคียงกันนะคะ โดยที่ความดันตัวบนของแขนสองข้าง จะต่างกันมากกว่า 10 มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่เกิน 20 มิลลิเมตรปรอท ในกรณีนี้จะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หากค่าความดันของแขนทั้งสองข้างต่างกันเกิน 20 มิลลิเมตรปรอท ให้วัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หากยังเป็นเช่นนี้อยู่ นั่นอาจจะมีความผิดปกติของหลอดเลือด แนะนำให้พบคุณหมอเลยค่ะ
เครื่องวัดความดัน ใช้แบบไหนถึงจะดี?
การวัดความดันแล้วได้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำ เครื่องวัดความดันที่ไม่ได้คุณภาพก็มีส่วนนะคะ (6 วิธีเลือกเครื่องวัดความดันให้คุ้มค่าคุ้มราคา Click!) ดังนั้น หากเราจะเลือกซื้อเครื่องวัดความดันมาใช้ที่บ้านสักเครื่อง เราต้องรู้จักข้อดีข้อเสียของเครื่องวัดความดันแต่ละประเภทก่อนนะคะ1.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นหลัก จะใช้งานด้วยการบีบกระเปาะ เพื่อให้ปลอกแขนพอง เพื่อดูค่าความดัน ใช้ควบคู่กับหูฟังแพทย์ เพื่อฟังเสียงชีพจร ภายในบรรจุสารปรอทที่มีความอันตราย
- ข้อดี : มีความแม่นยำสูง
- ข้อเสีย : มีขนาดใหญ่ พกพาลำบาก หากมีการรั่วหรือแตกหัก อาจจะได้รับอันตรายจากสารปรอทได้ มีวิธีการใช้งานที่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นถึงจะแม่นยำ อีกทั้งการอ่านค่าจะต้องอ่านจากแท่งปรอท ในท่าตรงระดับสายตา จึงส่งผลเสียกับผู้ที่สายตาไม่ดีหรือผู้สูงอายุ
2.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบขดลวด
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบขดลวด มีวิธีใช้งานที่ซับซ้อน เหมาะกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่าคนทั่วไป เพื่อให้แม่นยำ จะต้องปรับเครื่องมือโดยการเทียบกับชนิดปรอทอยู่บ่อย ๆ
- ข้อดี : ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา สามารถวางตำแหน่งไหนก็ได้
- ข้อเสีย : มีวิธีการใช้งานที่ซับซ้อน หากผู้ป่วยใช้ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เครื่องชำรุด ผู้ที่สายตาไม่ดี หรือได้ยินไม่ชัด จะทำให้การวัดได้ผลไม่แม่นยำ
3.เครื่องวัดความดันแบบดิจิทัล
เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องมีหูฟังหรือลูกยางสำหรับบีบลมทำให้สะดวกในการใช้งาน เมื่อวัดผลจะแสดงผลเป็นตัวเลขที่หน้าจอพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุสายตาและการได้ยินไม่ดี
- ข้อดี : ใช้งานและอ่านค่าได้ง่าย บางรุ่นสามารถบันทึกผลได้ ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญก็สามารถใช้ได้เพียงกดปุ่ม
- ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างแพง และต้องใช้ไฟฟ้าการพันสายรัดแขนต้องพันให้ถูกตำแหน่ง
4.เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน
มักนิยมใช้ตรวจคัดกรองในโรงพยาบาล เนื่องจากใช้งานง่าย เหมาะกับการใช้งานกับคนจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะมีการพิมพ์ผลค่าความดันออกมาให้ด้วย
- ข้อดี : ใช้งานง่ายเพียงสอดแขน เหมาะกับใช้งานกับคนจำนวนมาก
- ข้อเสีย : มีราคาสูงมาก (50,000 – 100,000) พกพาไม่ได้ เนื่องจากตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ จะต้องตั้งไว้บนโต๊ะเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เครื่องวัดความดันที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้งานที่บ้านมากที่สุด คือ เครื่องวัดความดันแบบดิจิทัล เนื่องจากใช้งานง่าย มีราคาที่จับต้องได้ แถมบางประเภทยังบันทึกผลได้อีกด้วยค่ะ
เครื่องวัดความดัน ALLWELL BSX593 ดีอย่างไร?
หากจะหาซื้อเครื่องวัดความดันสักเครื่อง มาใช้เองที่บ้าน ก็คงหนีไม่พ้นเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัล เพราะด้วยวิธีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน หาซื้อได้ง่าย และราคาย่อมเยากว่าแบบอื่น ๆ แต่เมื่อไปหาซื้อก็เจอร้านนู่นร้านนี้ หลากหลายราคาเต็มไปหมด แล้วแบบนี้ควรเลือกซื้อแบบไหนดี?
ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนไกลค่ะ ALLWELL ภูมิใจนำเสนอ เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิทัล รุ่น BSX593 ที่มาพร้อมฟังก์ชันสุดล้ำไม่เหมือนใคร
- ระบบเสียงพูดภาษาไทย : สำหรับใครที่มีผู้สูงอายุในบ้าน ที่อาจจะสายตาไม่ค่อยดี ไม่ต้องเพ่งมองจอให้ปวดตาเลยค่ะ เพราะเครื่องวัดความดัน BSX593 มีผู้ช่วยอัจฉริยะ ที่จะคอยบอกค่าความดันของคุณ โดยไม่ต้องอ่านค่าเองเลยค่ะ
- หน้าจอเปลี่ยนสีตามค่าความดันที่วัดได้ : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าค่าความดันที่วัดได้ปกติหรือเปล่า? จำไม่ได้เลยว่าตัวเลขไหนควรไปหาหมอ? สำหรับใครที่ขี้ลืมบ่อย ๆ แบบนี้ ไม่ต้องกังวลใจไปเลยค่ะ เครื่องวัดความดัน BSX593 จะเปลี่ยนสีหน้าจอตามค่าความดันที่วัดได้ (เขียว เหลือง แดง) แม่นยำตามเกณฑ์การวัดความดันโลหิต ตามองค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่ต้องจำค่านู่นนี่นั่นให้ปวดหัวเลยค่ะ
- ตั้งปลุกเพื่อเตือนให้วัดความดันได้ : เครื่องวัดความดันรุ่นนี้ ยังสามารถตั้งปลุกได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะลืมวัดความดันเลยค่ะ
- บันทึกค่าได้ : เคยไหมคะ จดค่าความดันที่วัดได้ใส่กระดาษไว้ แล้วกระดาษหาย! ดันลืมไปแล้วว่าค่าความดันเมื่อวานได้เท่าไหร่ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะ BSX593 สามารถบันทุกค่าความดันที่วัดไว้ได้ถึง 2 คน คนละ 99 ค่า! ไม่ต้องจดให้เสียเวลาเลยค่ะ
- อุปกรณ์ครบเซต : ไม่เสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะเครื่องวัดความดัน BSX593 มีให้ทั้งตัวเครื่อง ผ้าพันแขน ถ่าน สายชาร์จแบตเตอรี่ และกระเป๋าใส่อุปกรณ์ พกพาสะดวก พร้อมวัดได้ทันทีเลยค่ะ
เครื่องวัดความดันโลหิต ALLWELL รุ่น BSX593 มาพร้อมกับฟังก์ชันพิเศษต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถใช้งานง่าย แค่เพียงกดปุ่ม ผู้สูงอายุก็สามารถวัดความดันเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งลูกหลานเลยล่ะค่ะ
สรุป
ปัจจัยเรื่องอายุก็มีผลต่อค่าความดันโลหิตที่ตรวจวัดได้ ซึ่งในช่วงวัยก็มีเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ถึงอย่างนั้น หากมีค่าความดันที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะช่วงวัยไหนก็ควรปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติบางอย่างได้ ดังนั้น อย่าพลาดที่จะมีเครื่องวัดความดันติดบ้านไว้สักเครื่อง เพื่อคอยตรวจเช็กสุขภาพในทุก ๆ วันนะคะ