ความดันสูง เกิดจากอะไร? เช็กอาการพร้อมวิธีรักษาให้ปกติ

ความดันสูง เกิดจาก

       ความดันสูง เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคร้าย ไปจนถึงพันธุกรรม จึงเป็นสาเหตุที่ทำไมเวลาไปโรงพยาบาลหรือคลินิค จะต้องมีการตรวจวัดความดันก่อนเริ่มทำการรักษา เพราะค่าความดันสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายได้ ซึ่งค่าความดันสูงนี้ จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะทราบก็ต่อเมื่อคุณใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องวัดความดันโลหิต (Blood Pressure Monitor) หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า เครื่องวัดความดัน

แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าโรคความดันเหล่านี้อันตรายอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบให้ค่ะ

สารบัญ

ความดันโลหิต (Blood Pressure) คือ ค่าแรงดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยที่เมื่อหัวใจบีบตัว เราจะได้ค่าความดันตัวบน และเมื่อหัวใจคลายตัว เราจะได้ค่าความดันตัวล่าง โดยค่าความดันปกติ คือไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าค่าความดันสูงหรือต่ำกว่านี้ตามเกณฑ์วินิจฉัยของแพทย์ นั่นหมายถึงว่า คุณเป็นโรคความดันค่ะ

ทำความรู้จัก! ความดันสูง เกิดจากอะไร?

         ความดันสูง (Hypertension) คือ ภาวะที่ความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ อันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ โดยค่าความดันสูง เป็นค่าความดันที่มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท (ค่าความดันปกติจะไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท) ซึ่งหากปล่อยให้ความดันในหลอดเลือดสูงต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จะทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหาย และนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ และในกรณีความดันสูงร้ายแแรง อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อีกด้วย

ระดับความดันค่าตัวบน (Systolic)ค่าตัวล่าง (Diastolic)
ความดันปกติไม่เกิน 120 mmHgไม่เกิน 80 mmHg
ความดันสูง140 mmHg90 mmHg
ความดันสูงมาก160 mmHg100 mmHg
ความดันสูงอันตราย≥ 180 mmHg≥ 110 mmHg

(อ้างอิงค่าจาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์)

สาเหตุของความดันสูง

         ความดันสูง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งภายนอก ภายใน ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต ช่วงอายุ โรคประจำตัว ไปจนถึงพันธุกรรม  นอกจากนี้ ในบางรายอาจมีอาการความดันสูง ที่เกิดโดยหาสาเหตุไม่ได้ ดังนั้น จึงขอสรุปสาเหตุของการเกิดโรคความดันสูง โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1.ชนิดทราบสาเหตุ

  • เป็นโรคอื่นอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นผลให้เกิดภาวะความดันเลือดสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแดงตีบ โรคต่อมหมวกไต เนื้องอกบางชนิด
  • การไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน การไหลเวียนของเลือดจึงไม่ปกติ
  • โรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน เพราะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
  • การกินอาหารเค็มอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไตทำงานหนัก อาจนำไปสู่โรคไตชนิดต่าง ๆ ได้
  • พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้อื่น

ความดันสูง เกิดจาก

2.ชนิดไม่ทราบสาเหตุ

         ผู้ที่มีภาวะความดันสูงส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นชนิดไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่พบว่าตนเองเป็นตอนคัดกรองโรค ส่วนสาเหตุที่สันนิษฐานได้ว่าเกิดจากพันธุกรรม การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ หรือในบางราย จะเกิดภาวะความดันสูง แค่ตอนเข้าพบแพทย์เท่านั้น (อ่านบทความ ความดันสูงเฉพาะไปวัดที่โรงพยาบาลเกิดจากอะไร?) ซึ่งสันนิษฐานได้ว่ามาจากภาวะตื่นเต้น กดดัน หรือเครียด

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นความดันสูง

สินค้าสุขภาพ บันทึกประวัติและประเมินผลผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

NEW
1,390฿

เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี

950฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 20 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

890฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 14 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

ลองเช็กดูว่าคุณกำลังมี อาการความดันสูง หรือเปล่า?

         ผู้ที่เป็นโรคความดันสูง หรือมีภาวะความดันสูงชั่วคราวจากสาเหตุบางอย่าง อาจพบอาการผิดปกติเป็นสัญญาณเตือนได้ (แต่บางรายก็อาจจะไม่พบอาการใดๆ) ซึ่งสามารถตรวจเช็กอาการผิดปกติที่อาจพบได้ดังนี้

อาการความดันสูง

ความดันสูงอาการเป็นอย่างไร

  • ปวดหัว เวียนหัว ปวดตึงต้นคอ
  • หน้ามืดจะเป็นลม
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก
  • ใจสั่น ใจเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ตาพร่ามัว ปวดกระบอกตา
  • มือเท้าชา
  • เลือดกำเดาไหล
ความดันสูง เฉพาะตอนไปโรงพยาบาล เกิดจากอะไร?

ความดันสูง รักษาหรือไม่รักษาดี?

         หลายคนอาจตั้งคำถามว่า เป็นความดันสูง ควรไปรักษาหรือไม่รักษาดี เพราะไม่ได้พบอาการผิดปกติอะไรเลย หรือมีก็น้อยมาก ปล่อยไว้เฉย ๆ จะสามารถหายได้เองไหม? ต้องขอตอบเลยว่า ควรเข้ารับการรักษาจะดีที่สุดค่ะ ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติ แต่หากปล่อยให้ความดันสูงต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ สิ่งที่ตามมาคือโรคแทรกซ้อนและอันตรายต่าง ๆ ที่ร้ายแรงและน่ากลัวกว่าความดันสูงหลายเท่าเลยล่ะค่ะ

ความดันสูง รักษา

ความดันสูง ปล่อยไว้เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

ดังนั้น หากพบว่าความดันสูง ควรเข้ารับการรักษา และหมั่นตรวจเช็กให้ค่าความดันปกติอยู่เสมอ

เป็นความดันสูง รักษาได้ไหม?

         เมื่อเป็นโรคความดันสูงแล้ว สามารถรักษาให้ค่าความดันคงที่ได้ แต่จะไม่หายขาด 100% โดยการรักษา แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคความดันสูงที่พบ แล้วแก้ไขสาเหตุนั้น โดยรักษาไปพร้อม ๆ กับการให้ยาลดความดันในบางราย และที่สำคัญแพทย์จะให้คอยตรวจเช็กค่าความดันที่บ้านด้วยตนเองสม่ำเสมอ เพื่อความแม่นยำในการรักษา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่ไปด้วย ดังนี้

เครื่องวัดความดันดิจิตอล

  1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือตามค่า BMI
  2. หลีกเลี่ยงความเครียด ผ่อนคลาย มีสุขภาพจิตที่ดี
  3. หลีกเลี่ยงการกินอาหารเค็ม อาหารโซเดียมสูง
  4. กินยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  5. กินอาหารลดความดัน
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ และลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน
  7. ต้องตรวจเช็กความดันสม่ำเสมอ พร้อมจดบันทึกค่าความดันเอาไว้เพื่อให้แพทย์ติดตามการรักษา

BLOOD PRESSURE MONITOR JPD-HA120

1,390฿

เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี

อ่านเพิ่ม

Body Analyzer Scale with Bluetooth Connection รุ่น BodyA-1B

950฿

วัดไขมันและองค์ประกอบของร่างกายได้ 20 ค่า | Bluetooth ดูค่าผ่าน App ได้ 

รหัสสินค้า: SCA-ZTE-BODYA1BW หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ป้องกันความดันสูง อย่างไรได้บ้าง?

         จะเห็นได้ว่า ความดันสูงไม่ใช่โรคที่เราควรชะล่าใจ เพราะความดันสูงอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งตอนที่เป็นบางรายก็ไม่แสดงอาการหรือสัญญาณเตือนใด ๆ รู้ตัวอีกทีก็เข้าโรงพยาบาลซะแล้ว ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม ดีกว่าการปล่อยให้เป็นแล้วค่อยมาหาทางรักษาทีหลังนะคะ ซึ่งแนวทางการป้องกันความดันโลหิตสูง ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องพึ่งยาหรืออาหารเสริมอะไรเลยค่ะ

ป้องกันความดันสูง

วิธีป้องกันความดันสูง

  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์โดยเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมและอาหารแปรรูป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงหรือลดแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม
  • หมั่นชั่งน้ำหนัก ดูแลให้ค่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีค่า BMI ปกติเสมอ และดูแลให้รอบเอวมีสัดส่วนที่เหมาะสม (ส่วนสูงหารสอง)
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ไม่อดนอนหรือนอนดึก
  • ความเครียดมีผลต่อความดัน พยายามเครียดให้น้อยลง ผ่อนคลายให้มากขึ้น

สรุปโรคความดันสูง ทำไมถึงควรระวัง

         ความดันสุูงเปรียบเสทือนประตูที่เปิดไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต ความดันสูงมีทั้งแบบที่แสดงอาการ และแบบซ่อนแอบ เราจะไม่มีทางเห็นค่าความดันเหล่านี้ด้วยตาเปล่าได้เลย จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำคัญอย่างเครื่องวัดความดันโลหิต ติดบ้านเอาไว้คอยตรวจเช็กสุขภาพตนเอง เพราะค่าความดันที่โรงพยาบาลกับที่บ้านไม่เท่ากัน เพื่อความแม่นยำในการรักษาจึงจำเป็นต้องตรวจเช็กด้วยตนเองสม่ำเสมอนะคะ

สาระเกี่ยวกับความดันโลหิต

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup