กดจุดลดความดัน ตามแบบฉบับแพทย์แผนจีน แนะนำให้ลอง!!

กดจุดลดความดัน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         กดจุดแก้ความดันสูง ศาตร์แพทย์แผนจีนโบราณ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้เป็นโรคความดันสูง ที่มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน นอนไม่หลับ  และรู้สึกได้ว่าชีพจรตึงจนเกินไป โดยผู้ป่วยโรคความดันจะมีระดับชีพจรมากกว่า 140/90 mmHg  ส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้น

         สาเหตุหลักเกิดจากการสะสมของไขมันในเลือด ทำให้การไหลเวียนของระบบเลือดภายในร่างกายไม่ปกติ เป็นจุดเริ่มต้นในการเกิดโรคอื่น ๆ อีก เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคไต อาการทางจิต เช่น โรคเครียด โรคนอนไม่หลับ เป็นต้น โดยการกดจุดลดความดัน จะช่วยให้อาการบรรเทาลง ซึ่งเป็นการรักษาตามแบบฉบับของแพทย์แผนจีน

สารบัญ

กดจุดลดความดัน ช่วยลดความดันได้อย่างไร

         ในทางศาสตร์จีน เชื่อว่าอาการป่วยเป็นความดันสูง เกิดจากธาตุลม ธาตุไฟ เสมหะ ความพร่อง และเกิดอาการติดขัด ทำให้เลือดภายในร่างกายมีปริมาณน้อย ประกอบกับการดำเนินชีวิตไม่เหมาะสม เช่น  ทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ พักผ่อนไม่เพียงพอ และสภาพจิตใจย่ำแย่

กดจุดลดความดัน

         ก่อให้เกิดการติดขัดของเสมหะในหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคความดันสูงขึ้น  การนวดกดจุด เป็นการนวดผ่านอวัยวะที่เป็นตัวแทนของระบบต่างๆ  เพื่อให้พลังงานภายในไหลเวียนได้ดี จะทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งการนวดกดจุดลดความดันนี้มีงานวิจัยรับรองผลลัพธ์ ดังนั้นจึงเชื่อถือได้

เครื่องวัดความดัน ตัวช่วยจับความดันสูง เลือกอย่างไรจึงจะเหมาะสม?

วิธีกดจุดลดความดัน

         หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า การกดจุดลดความดัน ช่วยลดความดันได้อย่างไรไปแล้วนั้น เรามาดูกันต่อเลยว่าการกดจุดมีวิธีอย่างไร โดยอ้างอิงจากวิชาแพทย์แผนจีนโบราณ สำหรับการนวดลดความดัน สามารถทำได้ 6 บริเวณตามร่างกายของเรา ซึ่งมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

กดจุดลดความดัน

วิธีกดจุดลดความดัน

1.จุดกลางศีรษะด้านบน หรือไป่ฮุ่ย

         สามารถใช้นิ้วลากจากใบหูทั้งสองข้าง ไปบรรจบกันในแนวเดียวกับสันจมูกหรือด้านบนของศีรษะ ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางพอดี โดยสามารถใช้นิ้วกดวนไปเรื่อยๆ ในเวลา 1-2 นาที ในบางคนอาจรู้สึกเจ็บและตึงบริเวณที่กด จุดนี้จะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเลือดบริเวณศีรษะได้ดี ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการผ่อนคลายมากขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดศีรษะลงได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังช่วยให้เราหลับสนิทมากขึ้นด้วย

2.บริเวณจุดกลางคิ้ว หรืออิ้นถัง

         ใช้นิ้วชี้หรือหัวแม่มือข้างที่ถนัด กดลงตรงกลางระหว่างคิ้วทั้งสอง ทำพร้อมๆ กับลากนิ้วตั้งแต่หัวคิ้วไปจนถึงปลายคิ้วของทั้งสองข้างประมาณ 10 ครั้ง และลากจากหัวคิ้วไปจรดไรผมที่บริเวณหน้าผากอีกประมาณ 10 ครั้ง  จุดนี้จะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนทั่วใบหน้า จึงช่วยคลายกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนบนได้ เราจึงรู้สึกผ่อนคลาย และลดความดันลง

กดจุดลดความดัน

3.จุดกึ่งกลางบริเวณข้อมือ หรือเน่ยกวน

         จุดนี้สามารถใช้นิ้วข้างถนัดกดลงที่เส้นข้อมือ เป็นจุดกึ่งกลางที่อยู่ระหว่างเอ็นทั้งสองข้าง ซึ่งห่างจากเส้นข้อมือประมาณ 2 นิ้ว โดยกดค้างไว้ประมาณ 3-5 นาที จะทำให้ระบบของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลายได้ดี

4.บริเวณรอยพับข้อศอกด้านนอก หรือชวีฉือ

         เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออก ให้บริเวณรอยพับข้อศอกหงายขึ้น แล้วใช้ฝ่ามืออีกหนึ่งข้าง ตีไปบนข้อพับ ประมาณ 200 ครั้งหรือตีจนเกิดสีแดงระเรื่อ การทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด สลายสารพิษในร่างกาย ทำให้อาการปวดศีรษะลดลงได้

นวดลดความดัน

5.จุดเหนือข้อเท้าด้านใน หรือซานอินเจียว

         ในการกดจุดลดความดัน จุดนี้สามารถช่วยให้เกิดการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น รวมถึงส่งผลดีต่อระบบสืบพันธ์ในผู้หญิงและผู้ชาย สามารถทำได้โดยกดและนวดบริเวณจุดเหนือข้อเท้าด้านใน ซึ่งอยู่เหนือตาตุ่มประมาณ 3 นิ้ว ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดคลึงในทุกๆ วัน ในเวลา 3-5 นาที

6.จุดกึ่งกลางระหว่างฝ่าเท้า หรือหย่งเฉวียน

         ในแพทย์แผนจีน เชื่อว่าจุดนี้เป็นพื้นฐานของร่างกาย การกดจุดนี้จะช่วยให้เพิ่มขยายของหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด รวมถึงลดความหนืดภายในเส้นเลือด จุดนี้สามารถกดได้ง่ายๆ เพียงใช้นิ้วมือข้างถนัดคลึงและนวดบริเวณกึ่งกลางระหว่างฝ้าเท้า เป็นเวลา 5 – 10 นาที นอกจากนั้นแล้วการนวดที่จุดนี้เป็นประจำ จะช่วยรักษาอาการอ่อนเพลีย โรคภูมิแพ้ วัยทอง รวมถึงอาการนอนไม่หลับได้อีกด้วย

ความดันต่ำ – ความดันสูง ภัยเงียบตัวร้ายสำหรับผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังในการกดจุดลดความดัน

         ในส่วนของการกดจุดลดความดันนั้น ถ้าหากต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการนวดกดจุดโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะมีข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่สามารถกดจุดเพื่อการรักษาโรคความดันได้

กดจุดลดความดัน

กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษานวดกดจุดลดความดันได้

  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรกดจุด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้
  • ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังหรือแผลเปิด
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติกระดูกแตกหัก
มารู้จักกับ “อาหารลดความดัน” แบบ DASH Diet กินทุกวัน ความดันลด แบบไม่ต้องพึ่งยา!

สรุป

         อย่างไรก็ตาม การกดจุดลดความดัน เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาหารปวดศีรษะ วิงเวียน ซึ่งเป็นอาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งการกดจุดยังสามารถกระตุ้นระบบต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ดี อาทิเช่น ไต ม้าม ตับ ลดอาการปวดเมื้อย อ่อนล้า ที่เกิดจากการทำงาน อาการนอนไม่หลับ ฝันเยอะเกินไป ให้กลับมาเป็นปกติ

         ส่งผลให้เรามีร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น รวมถึงสถาพจิตใจที่ดี เพราะสามารถใช้ชีวิตได้เต็มที่ ไม่มีปัญหาสุขภาพมากวนใจ สำหรับใครที่ต้องการเปลี่ยนวิธีการรักษาหรือกำลังมองหาตัวช่วยที่ใช้วิธีธรรมชาติ แพทย์แผนจีนโบราณถือเป็นตัวเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งเลยทีเดียว

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup