อาการอัลไซเมอร์ ต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม โรคที่เป็นมากกว่าการหลงลืม

อาการอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         หากพูดถึง อาการอัลไซเมอร์ ในความเข้าใจของใครหลาย ๆ คน คงหมายถึงอาการหลงลืมของผู้สูงอายุ แต่แท้จริงแล้วโรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หลายคนอาจสงสัยว่า อาการอัลไซเมอร์ เป็นอย่างไร? ผู้สูงอายุทุกคนต้องเป็นอัลไซเมอร์ไหม? ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นอัลไซเมอร์? ถ้าอยากรู้ล่ะก็ ไปอ่านบทความนี้กันเลยค่ะ

อาการอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์ สาเหตุ

สารบัญ

เช็กลิสต์! 10 อาการอัลไซเมอร์

         แม้อาการขี้หลงขี้ลืม เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุก็จริง แต่อาการเหล่านั้นมีความแตกต่างจากอาการอัลไซเมอร์อยู่นะคะ เพราะโรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่โรคที่หลงลืม แต่เป็นภาวะสมองเสื่อม ซึ่งมีอาการหลงลืมเป็นลักษณะเด่นค่ะ โดยอาการเด่นของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้

อาการอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์ อาการ

  1. ความจำแย่ลง ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา ถามคำถามเดิมซ้ำไปมา
  2. ไม่สามารถทำสิ่งที่เป็นขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง เช่น ขั้นตอนการใส่เสื้อผ้า ขั้นตอนการอาบน้ำ
  3. ลืมสถานที่หรือสิ่งที่คุ้นเคย เช่น ลืมทางกลับบ้านที่ต้องกลับทุกวัน ลืมวิธีการใช้โทรศัพท์
  4. ลืมวันเวลา ลืมสถานที่ที่ตัวเองอยู่
  5. อ่านหนังสือลำบาก ลืมชื่อสีต่าง ๆ ให้ตัวเองในกระจกไม่รู้ว่าเป็นใคร
  6. นึกคำพูดไม่ออก เรียบเรียงคำไม่ถูก พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ เรียกชื่อสิ่งของผิด เช่น เรียกปากกาว่าจาน หรือเห็นสิ่งของที่ใช้เป็นประจำแต่เรียกชื่อไม่ได้
  7. วางของผิดที่ หรือลืมไว้ในที่ที่ไม่ควรลืม เช่น เก็บโทรศัพท์ไว้ในตู้เย็น
  8. ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำอะไร หรือการตัดสินใจไม่ถูกต้อง เช่น ไปเที่ยวข้างนอก แต่ไม่ล้างหน้าแปรงฟัน ไม่อาบน้ำ อย่างที่ควรจะเป็น แล้วมักจะเถียงว่าตนทำถูกแล้ว
  9. เก็บตัว ไม่เข้าสังคม เฉื่อยชา เช่น ปกติจะไปกินข้าวกับลูกทุกสัปดาห์ แต่อยู่ ๆ ก็ไม่ไปโดยไม่มีเหตุผล
  10. อารมณ์และบุคลิกเปลี่ยนไป เช่น หวาดกลัว ก้าวร้าว วิตกกังวล
อาการอัลไซเมอร์

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอัลไซเมอร์

  • ภาวะเคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก
  • ทรงตัวไม่ได้ จนเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ จนบาดเจ็บ เช่น หกล้มศีรษะฟาด
  • ไม่สามารถควบคุมลำไส้และกระเพาะปัสสาวะได้
  • ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากลืมว่ายังไม่ได้ทานอาหาร
  • สำลักอาหารหรือน้ำลงปอด ทำให้ปอดบวมหรือเกิดการติดเชื้อ
  • แผลกดทับ สาเหตุมาจากการเดินหรือนั่งไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียง
ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

อาการอัลไซเมอร์ เป็นอย่างไร? โรคอัลไซเมอร์ สาเหตุเกิดจากอะไร?

         โรคอัลไซเมอร์ คือ โรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้าอะไมลอยด์ (Beta Amyloid) ไปจับตัวอยู่ที่เซลล์สมอง ส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหาย ส่งผลโดยตรงกับการทำงานของสมอง จนเกิดอาการอัลไซเมอร์ เช่น ความทรงจำ ความคิด การใช้ภาษา การตัดสินใจ

อาการอัลไซเมอร์

ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด 60-80% มาจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งในประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ กว่า 600,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันเองได้

เช็กระยะของอาการอัลไซเมอร์

  • อาการระยะแรก : ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะเริ่มหลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นบ่อย ๆ ย้ำคิดย้ำทำ ถามคำถามเดิมซ้ำ ๆ ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆ ได้ ตื่นตกใจง่าย ซึมเศร้า แต่ยังใช้ชีวิตประจำวันได้
  • อาการระยะปานกลาง : อาการอัลไซเมอร์ในระยะนี้ จะเริ่มจำคนรู้จัก หรือคนในครอบครัวไม่ได้ สับสนเรื่องวันเวลา นอนไม่หลับ หลงทาง กลับบ้านเองไม่ได้ คิดในสิ่งที่ไม่ใช่ความจริง เช่น คิดว่ามีคนมาทำร้าย คิดว่ามีคนขโมยของ
  • อาการระยะสุดท้าย : เป็นระยะที่รุนแรง ผู้ป่วยจะเห็นภาพหลอน ก้าวร้าว เคลื่อนไหวช้าลง ไม่สามารถเดินเองได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระราด ไม่สามารถกินข้าวหรืออาบน้ำเองได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

  1. ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  2. พันธุกรรม มีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มาก่อน
  3. โรคดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิด ซึ่งทำให้สามารถเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
  4. ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ จะเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าคนทั่วไป
  5. มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง
  6. พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกาย ชอบสูบบุหรี่

ทำอย่างไร? ในวันที่คนที่คุณรักต้องเผชิญกับ อาการอัลไซเมอร์

         ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ที่มีอาการอัลไซเมอร์ จะได้รับการรักษาและยาจากแพทย์ ซึ่งคนในครอบครัวควรประพฤติและดูแลผู้ป่วย ตามคำแนะนำของแพทย์ ควบคู่ไปกับการรักษาได้ โดยการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมุ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ดังนี้

สมองเสื่อม

  1. ฝึกให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง โดยมีคนในครอบครัวคอยสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของผู้ป่วย เช่น ฝึกให้กินข้าว อาบน้ำ ขับถ่าย
  2. สนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว หรือออกไปพบปะสังคมภายนอกตามความเหมาะสม เช่น ร่วมโต๊ะกินข้าวกัน ไปพักผ่อนที่สวนสาธารณะด้วยกัน
  3. ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการอัลไซเมอร์แย่ลง เช่น เสียงรบกวน และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยต่อผู้ป่วย เช่น ดูแลไม่ให้พื้นห้องน้ำลื่น ไม่มีของเกะกะตามทางเดิน มีแสงสว่างเพียงพอ
  4. ช่วยฟื้นฟูด้านกายภาพ กระตุ้นระบบประสาทสัมผัสโดยการบีบ นวด และฝึกให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอด
  5. ดูแลเรื่องสุขภาพจิตและพฤติกรรม เช่น การเบี่ยงเบนความสนในผู้ป่วยออกจากเรื่องที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห
  6. กินอาหารเสริมบำรุงสมอง ที่ช่วยทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น รวมทั้งช่วยในเรื่องของอาการนอนไม่หลับหรือปัญหาอารมณ์ไม่คงที่ของผู้ป่วย
อาหารเสริมบำรุงสมอง
อาหารเสริมบำรุงสมอง
Plasmalogen คืออะไร? ทำความรู้จักทางเลือกใหม่ ช่วยห่างไกลอัลไซเมอร์

สรุป

         โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลกับสมองโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น หากคนใกล้ตัวมีอาการอัลไซเมอร์หรือสงสัยว่าอาจจะเป็น ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาทางรักษาหรือป้องกันต่อไป

ความรู้น่าสนใจเกี่ยวกับสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup