การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ กับ 6 ปัญหายอดฮิต พิชิตอย่างไรให้อยู่หมัด!

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

         คงเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจไม่น้อย เมื่อวันหนึ่งรู้ว่า คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งพ่วงมาด้วยภาวะสมองเสื่อมที่มีปัญหาหลัก ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความทรงจำ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหลงลืมเรื่องเล็ก ๆ อย่างวันเดือนปีเกิด ไปจนถึงเรื่องใหญ่ ๆ อย่างวิธีการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน ALLWELL จึงมีคู่มือการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ให้เหมาะสมกับอาการที่พบ พร้อมมีทริคดี ๆ มาฝากผู้ดูแลกันค่ะ

สารบัญ

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ กับ 6 ปัญหาหลัก ๆ ที่ผู้ดูแลต้องเจอ

         การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะต้องอาศัยทั้งแรงกายและแรงใจของผู้ดูแลเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามระยะอาการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาละวาด-ก้าวร้าว ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่ยอมนอน ปัญหาเรื่องการหลงลืม การสื่อสาร และการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมอาการอัลไซเมอร์ที่พบบ่อย พร้อมวิธีรับมืออาการนั้น ๆ อย่างเหมาะสมค่ะ

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

1.ปัญหาด้านความจำ : ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม แม้กระทั่งเรื่องใกล้ตัวหรือเรื่องที่คุ้นเคยดี ไม่สามารถจำสิ่งใหม่ ๆ ได้ และความสามารถในการจำเหตุการณ์ปัจจุบันลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ

วิธีรับมือ : หากผู้ป่วยถามหรือจำไม่ได้ ให้ค่อย ๆ อธิบายให้ผู้ป่วยฟังอย่างใจเย็น ในทุก ๆ วันพยายามให้ผู้ป่วยได้อยู่กับบุคคลหรือสถานที่คุ้นเคย ชักชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อทบทวนความจำ

2.ปัญหาทางอารมณ์และทางจิต : ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ มีอาการตื่นกลัว เห็นภาพหลอน หูแว่ว วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว รู้สึกสิ้นหวัง หรือซึมเศร้า

วิธีรับมือ : ผู้ดูแลพูดให้กำลังใจ ชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยชื่นชอบและคุ้นเคย พยายามพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ให้ที่จะดึงดูดความสนใจผู้ป่วย จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้สดชื่น กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีการจ่ายยาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น

3.ปัญหานอนไม่หลับ : ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หรือไม่ยอมนอน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองเนื่องจากภาวะสมองเสื่อม รวมทั้งวงจรที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ทำให้กินหรือนอนไม่เป็นเวลาที่ควรจะเป็น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่น ซึมเศร้า สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เป็นโรคขาอยู่ไม่สุข ฯลฯ

วิธีรับมือ : พยายามอย่าให้ผู้ป่วยนอนกลางวัน โดยหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำเพื่อไม่ให้ง่วง หลีกเลี่ยงพวกชา-กาแฟ ที่ทำให้นอนไม่หลับ ที่สำคัญ ผู้ดูแลจะต้องให้ผู้ป่วยเข้านอนและตื่นเป็นเวลา โดยก่อนนอนให้ผู้ป่วยดื่มนมอุ่น ๆ งดดูโทรทัศน์หรือโทรศัพท์ก่อนนอน จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม เช่น ปรับอุณหภูมิในห้องในไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป เปิดโคมไฟเพื่อให้ผู้ป่วยไม่กลัวไม่เห็นภาพหลอน เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

4.ปัญหาทางพฤติกรรม : ผู้ป่วยลืมวิธีในการดูแลตัวเอง เช่น การแต่งตัว การอาบน้ำ-แปรงฟัน รวมทั้งมีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น พูดตะคอก-ตะโกนซ้ำ ๆ เดินหนีออกจากบ้าน พฤติกรรมก่อกวน

วิธีรับมือ : ผู้ดูแลจะต้องช่วยเหลือผู้ป่วยในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน ส่วนเรื่องพฤติกรมที่ไมเหมาะสม ให้พยายามถามว่าผู้ป่วยต้องการอะไร รับฟังสิ่งที่เขาพูด ให้ผู้ป่วยได้อธิบายเหตุผล แล้วเบี่ยงเบนความสนใจผู้ป่วยไปเรื่องอื่น หากผู้ป่วยมีการตะโกนเสียงดังโดยไม่มีสาเหตุ ขอให้ผู้ป่วยหยุดแล้วไม่สำเร็จ ให้ลองพยายามเรียกชื่อคนที่ผู้ป่วยรัก (แม้ว่าคนนั้นจะไม่อยู่)

5. ปัญหาเรื่องการสื่อสาร : ผู้ป่วยใช้ภาษาหรือไวยากรณ์ผิดเพี้ยน ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ หรือไม่เข้าใจในการสื่อสารของผู้อื่น

วิธีรับมือ : เบื้องต้นลองพาผู้ป่วยไปตรวจตา หู และฟัน (โดยเฉพาะฟันปลอม) ก่อน เพราะอาจเป็นเพราะอวัยวะที่ใช้ในการสื่อสารมีความผิดปกติ หากเป็นเพราะภาวะสมองเสื่อมให้พยายามสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยข้อความสั้น ๆ เข้าใจง่าย ๆ หรือาจะใช้ภาษากายในการสื่อสาร พยายามสังเกตท่าทางและตั้งใจฟังผู้ป่วย

6.ปัญหาเดินไปเดินมา : ผู้ป่วยเดินไปเดินมาบ่อย ๆ โดยไม่มีสาเหตุ

วิธีรับมือ : พยายามถามผู้ป่วยว่าเบื่อหรือกังวลอะไรหรือเปล่า กำจัดปัญหาที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกมาเดิน แล้วบอกผู้ป่วยว่าตอนนี้ผู้ป่วยอยู่ที่ไหน เวลาอะไรแล้ว หรือปรับเปลี่ยนการเดินของผู้ป่วยให้เป็นกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย เดินเล่น

อัลไซเมอร์รักษาไม่หาย แต่ดีขึ้นได้ด้วย “พลาสมาโลเจน”

         อีกหนึ่งตัวเลือกที่ผู้ดูแลจะพลาดไม่ได้เลย คือการเลือกอาหารเสริมซึ่งเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการช่วยให้อาการผู้ป่วยนั้นดีขึ้น ควบคู่ไปกับการรักษาจากแพทย์และดูแลจากผู้ดูแลค่ะ ซึ่งต้องบอกเลยว่าในปัจจุบันมีนวัตกรรมจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีการค้นคว้าและวิจัยแล้วว่า อาหารเสริมจากธรรมชาติตัวนี้ จะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการที่ดีขึ้นได้ทั้งอาการภายนอกจนไปถึงอารมณ์ภายในเลยค่ะ

พลาสมาโลเจน คือ

พลาสมาโลเจน ช่วยเรื่องอัลไซเมอร์อย่างไร?

         พลาสมาโลเจน (Plasmalogen) คือสารประเภทหนึ่งที่อยู่ในร่างกายค่ะ โดยมีบทบาทสำคัญในการปกป้องเซลล์สมองไม่ให้ถูกทำลาย และช่วยในกระบวนการสื่อสารของเซลล์ประสาท บอกเลยว่าเป็นสารจำเป็นที่สำคัญต่อร่างกายมาก ๆ เพราะถ้าหากเจ้าสารตัวนี้ลดลงจนเหลือไม่เพียงพอล่ะก็ จะส่งผลต่อทั้งระบบประสาท สมอง และอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายจนนำไปสู่โรคร้าย หนึ่งในนั้นคือ “โรคอัลไซเมอร์” ค่ะ

         ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะมีปริมาณสารพลาสมาโลเจนในร่างกายน้อยมาก แถมร่างกายยังอยู่ในขั้นที่ผลิตเองไม่ได้ด้วย ทางเดียวที่จะเพิ่มสารพลาสมาโลเจนได้ คือการรับสารพลาสมาโลเจนจากภายนอกนั้นเข้าสู่ร่างกายค่ะ แต่ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอนะคะ

         นายแพทย์ทาเคฮิโกะ ฟูจิโนะ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคสมองจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารพลาสมาโลเจนกับโรคอัลไซเมอร์ จนค้นพบว่า การรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วยการเพิ่มระดับสารพลาสมาโลเจน และ DHA ช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ ทั้งยังช่วยลดการอักเสบของเซลล์ และฟื้นฟูสมองได้ดีอีกด้วย จึงเกิดเป็นอาหารเสริมที่ชื่อว่า “พลาสมาโลเจน” ขึ้นมา

         พลาสมาโลเจน (Plasmalogen) หรือพลาสมาโลเกน เป็นอาหารเสริมที่ผลิตจากหอยเชลล์ญี่ปุ่น (โฮตาเตะ) ที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่า เป็นแหล่งรวมสารพลาสมาโลเจนที่เยอะที่สุด จึงถูกนำมาสกัดด้วยกรรมวิธีเฉพาะทางจากนายแพทย์ทาเคฮิโกะ ฟูจิโนะ บอกเลยว่าต้องผ่านการศึกษาวิจัยอยู่หลายปี กว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์พลาสมาโลเจนที่วางขายในประเทศญี่ปุ่นค่ะ

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์กินพลาสมาโลเจน แล้วได้ประโยชน์อย่างไร?

  • จะช่วยฟื้นฟูและชะลออาการอัลไซเมอร์
  • ช่วยบำบัดความเหนื่อยล้าของสมอง ให้สมองทำงานได้ดี มีความจำดีขึ้น
  • นอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น ไม่ตื่นกลางดึก
  • ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้น ลดอาการซึมเศร้า เครียด หรือวิตกกังวลต่าง ๆ
  • ช่วยให้ผู้ป่วยสื่อสาร และรับฟังสารได้ดีขึ้น

ผู้ป่วยกินยารักษา หรือมียาโรคประจำตัวอยู่กินได้ไหม?

         หากผู้ป่วยมียารักษาอัลไซเมอร์ หรือยารักษาโรคประจำตัวที่ต้องกินอยู่ ก็สามารถรับประทานพลาสมาโลเจนได้ตามปกติเลยค่ะ ไม่มีผลอันตรายใด ๆ เพราะพลาสมาโลเจนไม่ใช่นารักษา แต่เป็นเพียงอาหารเสรอมที่มีสารสกัดมาจากธรรมชาติค่ะ

หาซื้อพลาสมาโลเจน ของแท้ได้ที่ไหน?

         เนื่องจากพลาสมาโลเจนเป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศญี่ปุ่น จะให้บินไปซื้อถึงญี่ปุ่น หรือรอหาคนหิ้ว-พรีออเดอร์เป็นเดือน ๆ เพื่อให้ได้ของดีของแท้มันก็ดูลำบากไปใช่ไหมล่ะคะ บอกเลยว่า ถ้าอยากได้ผลิตภัณฑ์พลาสมาโลเจนที่เป็นของแท้ 100% ในประเทศไทย ที่เป็นร้านค้าที่สามารถตรวจสอบและไว้ใจได้ ก็ต้องซื้อจากตัวแทนนำเข้าและจำหน่ายจากพลาสมาโลเจนโดยตรงจะดีที่สุดค่ะ

         ใครสนใจก็สามารถหาหาซื้อได้ที่ ALLWELL (บริษัท ออลล์เวล ไลฟ์ จำกัด) ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่น มีการจดสัญญาอย่างถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ จึงไว้ใจได้ว่าจะได้ของแท้มีมาตรฐานเหมือนไปซื้อเองจากประเทศญี่ปุ่นเลยค่ะ หมดแล้วก็สามารถมาซื้อได้เรื่อย ๆ ไม่ต้องรอของนาน จะช้อปหน้าร้านให้มั่นใจ หรือจะเน้นสะดวกแบบช้อปออนไลน์ก็ได้ของแท้ทุกช่องทางค่ะ

อาหารเสริมบำรุงสมอง
อาหารเสริมบำรุงสมอง

สรุป

         การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ นอกจากจะต้องใช้พลังกายแล้ว พลังใจก็เป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ เพราะด้วยอาการของโรคอัลไซเมอร์ต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ ความอดทน และความถูกต้องในการดูแล ดังนั้น นอกจากการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้ดีแล้ว ผู้ดูแลก็ต้องดูแลตนเองด้วยเช่นกันนะคะ พยายามหาเวลาว่างให้ตัวเองได้พักผ่อน ทำในสิ่งที่ชอบบ้าง เพื่อที่จะได้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีความสุขนะคะ

ความรู้น่าสนใจเกี่ยวกับสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup