stroke คือ อะไร? รู้จักกับเส้นเลือดในสมองแตก โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

stroke คือ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         หลายคนคงเคยเห็นความน่ากลัวของการเป็นอัมพฤกษ์ – อัมพาตมาบ้างแล้ว ทั้งเดินไม่ได้ พูดไม่ได้ ทำได้แค่นอนอยู่บนเตียง และยังเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ซึ่งต้นเหตุที่แท้จริงของโรคเหล่านี้คือ Stroke ถึงตรงนี้หลายคนเริ่มสงสัยแล้วว่า Stroke คือ อะไร? เส้นเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน เกิดจากอะไร? หากเป็นแล้วรักษาให้หายได้ไหม? บทความนี้จะตอบทุกข้อสงสัยของคุณเองค่ะ

เส้นเลือดในสมองแตก

สารบัญ

Stroke คือ อะไร? มีสาเหตุมาจากอะไร?

         Stroke คือ โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากการที่สมองไม่สามารถลำเลียงเลือดที่มีทั้งออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมองได้ เนื่องจากมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หลอดเลือดสมอง ส่งผลให้สมองไม่สามารถทำงานได้ จนทำให้ร่างกายเกิดการเป็นอัมพฤกษ์ – อัมพาต หรือเสียชีวิต ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่หลอดเลือดสมองนั้น มีสาเหตุแตกต่างกันไป สามารถแบ่งได้ ดังนี้

stroke คือ

  1. หลอดเลือดในสมองตีบหรือตัน (Ischemic Stroke) เกิดจากการที่มีหินปูน และไขมันสะสมอยู่ภายในผนังหลอดเลือด จนทำให้ขนาดของหลอดเลือดค่อย ๆ ตีบแคบลง ประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง จนไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ ส่วนการที่หลอดเลือดตัน เกิดจากการที่ลิ่มเลือดที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ลุดลอยมากับเลือด จนมาอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ทำให้นำเลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่ได้
  2. หลอดเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดมีความเปราะบาง และโป่งพองจนแตก ส่งผลให้เลือดคั่งในเนื้อสมอง ซึ่งทำให้เนื้อสมองตาย
  3. สมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack : TIA) คือ ภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ แต่สามารถกลับมาไหลเช่นเดิมในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เนื้อสมองยังไม่ตาย ผู้ที่เป็นจะกลับมามีอาการปกติ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง แต่ผู้ที่มีภาวะเช่นนี้ หากไม่ได้รับการรักษา จะนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองภายใน 7 วัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด stroke

  • ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน
  • เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเป็น Stroke เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคซิฟิลิส
  • เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • มีไขมันและคอเรสเตอรอลในเลือดสูง
  • กินยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง
  • ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • เป็นผู้ที่มีความเครียดสะสม
เครื่องวัดความดัน

ใครเสี่ยงเป็นบ้าง?

  • เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบมากที่สุดในผู้สูงอายุ เนื่องจากหลอดเลือดที่เสื่อมสภาพลง
  • ผู้ที่มีครอบครัวเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
  • เป็นผู้มีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือหยุดหายใจขณะหลับ

วิธีสังเกตและรับมือกับอาการ Stroke

         อาการของโรค Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตอาการเบื้องต้นของตัวเอง หรือคนรอบข้าง และต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังนี้

stroke

สังเกตอาการ F.A.S.T สัญญาณเตือนโรค Stroke

  1. Face : มีอาการหน้าเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง ปากเบี้ยว คุมน้ำลายไม่อยู่ และมีอาการชารวมด้วย
  2. Arm : เกิดอาการแขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง จนขยับไม่ได้ หรือสูญเสียการทรงตัว
  3. Speech : พูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่อง ในบางรายไม่สามารถพูดได้เลย อีกทั้งยังเกิดความสับสน นึกคำพูดไม่ออกไม่เข้าใจคำสั่ง หรือคำพูด
  4. Time : หากเกิดอาการข้างต้น หรือในบางรายหมดสติ หรือชักกะทันหัน ต้องรีบนำตัวมาส่งโรงพยาบาลให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะภายใน 4.50 ชั่วโมง หรือ 270 นาที แพทย์อาจสามารถให้ยาสลายลิ่มเลือด ซึ่งทำให้มีโอกาสไม่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

Stroke เป็นแล้วรักษาได้ไหม?

         หากเกิดอาการ Stroke แล้วรีบมาโรงพยาบาลได้เร็ว จะลดโอกาสการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ แต่หากมาช้าหรืออาการเป็นหนัก ผู้ป่วยจะเป็นอัมพฤกษ์ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย แพทย์จะวินิจฉัยแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ หากรุนแรงมาก จะมีการผ่าตัดร่วมด้วย แต่โดยส่วนใหญ่ แพทย์จะจ่ายยารักษา ซึ่งผู้ป่วยต้องทานเป็นประจำอย่างเคร่งครัดตามคำสั่งแพทย์ และต้องมีการกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย

โรคหลอดเลือดสมอง

         สิ่งสำคัญของการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต คือ การกายภาพบำบัด หากกายภาพบำบัดเป็นประจำ นอกจากจะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะมากลับมาเดิน หรือพูดได้มีมากถึง 90% แต่จะรักษาให้หายขาดนั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ ดังนั้น ต้องดูแลตนเองอยู่เสมอ สำคัญที่สุดคือการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคเหล่านี้ซ้ำ เพราะหากเป็นครั้งต่อไปโอกาสที่จะกลับมาหายก็จะลดน้อยลง

         จะเห็นได้ว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีความน่ากลัวมาก การไม่เป็นโรคนี้จึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เราจึงจำเป็นต้องหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเอง และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีนะคะ

วิธีลดความเสี่ยงการเกิด Stroke

         โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภัยร้ายที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ดังนั้น เราต้องเฝ้าระวัง และดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ภัยร้ายนี้เกิดขึ้นกับคุณนะคะ

โรคหลอดเลือดสมองตีบ

  1. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หวาน มัน
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป
  3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีค่า BMI ที่ปกติ
  4. พยายามไม่เครียด หรือคิดมาก
  5. หากเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิด Stroke ต้องคอยสังเกตอาการตนเอง และทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็น Stroke ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที
อ่านบทความ : กินเค็ม กินหวาน กินมัน พฤติกรรมเสี่ยงโรคร้าย อาจตายไม่รู้ตัว!

สรุป

         Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภัยร้ายที่เกิดขึ้นกับใคร และเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้น เราต้องคอยสังเกตอาการของตนเอง และคนรอบข้าง หากมีความผิดปกติใดที่เสี่ยงจะเป็นโรคเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะโอกาสที่จะไม่เป็นอัมพฤกษ์ – อัมพาตมีสูง อย่าลืมที่จะดูแลสุขภาพตนเองด้วยนะคะ

 

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

Close Popup