บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาการออฟฟิศซินโดรม กับพนักงานออฟฟิศนั้นเป็นของคู่กัน จากสถิติในปี 2562 พบว่า คนไทยกว่า 80% มีอาการออฟฟิศซินโดรม! (ข้อมูลเชิงสถิติ รพ.สมิติเวช) ซึ่งอาการปวดกล้ามเนื้อของชาวออฟฟิศก็เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการนั่งทำงานและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ALLWELL ก็ได้รวบรวมวิธีสังเกตอาการ และวิธีบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อง่าย ๆ กับท่าบริหาร office syndrome มาฝากกันค่ะ
“รู้หรือไม่? ออฟฟิศโดรม ไม่ใช่พนักงานออฟฟิศก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดแบบซ้ำ ๆ เช่น นั่งผิดวิธี นั่งหลังค่อม หรือ พฤติกกรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ในท่าเดิมเป็นเวลานาน และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการท่องโลกออนไลน์ โดยขาดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ก็เสี่ยงทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน”
สารบัญเนื้อหา
- ออฟฟิศซินโดรม คือ?
- สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
- อาการของออฟฟิศซินโดรม
- วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม
- ท่าบริหาร Office Syndrome
อาการออฟฟิศซินโดรม คือ
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรม ลักษณะการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งอยู่หน้าคอมในท่าเดิมเป็นเวลานาน ขาดการเคลื่อนไหว เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ขยับไปไหน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ค้างในท่าเดิม กล้ามเนื้อบางส่วนถูกยืดค้าง ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ง่าย ๆ ด้วยท่าบริหาร office syndrome
สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
- สภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น มีแสงสว่างน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ไม่เหมาะสม โต๊ะทำงานอยู่ในระดับที่ไม่พอดี ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำจนเกินไป เก้าอี้ที่นั่งไม่มีพนักพิง
- อิริยาบถในการนั่งทำงานไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม หลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง หรือนั่งไม่เต็มก้น นั่งกอดอก นั่งไขว่ห้าง นั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ไม่ขยับไปไหน
อาการออฟฟิศซินโดรม
อาการออฟฟิศซินโดรม มักจะมีอาการหลากหลาย เริ่มตั้งแต่ปวดกล้ามเนื้อเบา ๆ ไปจนถึงกระดูกทับเส้น อาการออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถบรรเทาลงได้ ด้วยการทำท่าบริหาร office syndrome ซึ่งหากใครที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงาน และสงสัยว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรม สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
- ปวดกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เช่น ไหล่ สะบัก คอ บ่า ท้ายทอย ปวดหลังส่วนบนหรือส่วนล่าง ปวดมือ ข้อมือ ปวดข้อศอก ปวดเข่าหรือข้อเท้า ปวดสะโพกหรือต้นขา มักจะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ปวดร้าวไปบริเวณอื่นใกล้เคียง มีลักษณะการปวดแบบล้า ๆ ไม่สามารถระบุอาการหรือตำแหน่งที่ชัดเจนได้ โดยจะมีอาการปวดตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรงและทรมานอย่างมาก
- มีอาการของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชา ปวดร้าว หรืออาจมีอาการหูอื้อ มึนงง ตาพร่ามัว ปวดไมเกรน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น ชาบริเวณมือและแขน และหากมีการกดทับเส้นประสาทนานเกินไปอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
- อาการทางตา เช่น ปวดตา เมื่อยล้าตา มีอาการแสบตา ระคายเคือง ตราพร่ามัว สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล
- อาการทางผิวหนัง เช่น คันตามลำตัว เป็นผดผื่น แพ้ ผิวหนังแดง
- อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก ไอ จาม คล้ายเป็นภูมิแพ้ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก แสบคอ คอแห้ง
ออฟฟิศซินโดรมหากปล่อยไว้นานอาจทำให้กลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง หรือหากมีอาการรุนแรงมาก อาจทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม
1.ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่นโยคะ
2.ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ดังนี้
- จอคอมพิวเตอร์แนวตรงกับหน้า และอยู่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย โดยขอบบนของจอคอมพิวเตอร์อยู่ตรงกับระดับสายตา ในท่านั่งที่รู้สึกสบาย
- จอคอมตั้งห่างกับความยาวเท่ากับความยาวแขน ซึ่งเป็นระยะที่สายตาอ่านได้สบาย
- แป้นพิมพ์วางอยู่ในระดับศอก ทำมุม 90 องศา
- เบาะของเก้าอี้ต่ำกว่าระดับเข่า ปรับให้มีช่องว่างระหว่างขอบเก้าอี้กับขาด้านหลัง
- ปรับเก้าอี้ให้เท้าวางบนพื้นได้พอดี ประมาณ 90 องศา
- ปรับพนักพิงหลังของเก้าอี้ให้รับกับหลังส่วนล่าง หากเก้าอี้ทำไม่ได้ให้ใช้หมอนหนุนหลังแทน
3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างวัน
- เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายอย่างน้อย ทุกๆ 1 ชั่วโมง
- พักสายตาจากจอคอมทุกๆ 10 นาที
- เปลี่ยนท่านั่งทำงานทุกๆ 20 นาที
- นั่งตัวตรง หลังชิดขอบด้านในของเก้าอี้
- จับเม้าส์ในตำแหน่งตรง ไม่บิด งอ ข้อมือขึ้นหรือลง
4.ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยจัดท่านั่งให้ถูกต้อง และช่วยลดปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น เบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ เป็นต้น
4 ท่าบริหาร บอกลา อาการออฟฟิศซินโดรม
- มือประสานกันไว้ข้างหน้า แล้วดันออกไปจนสุด ค้างไว้ 10-20 วินาที ทำแบบนี้จำนวน 2 ครั้ง จะช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนหลังที่ตึง
- มือประสานกันยกขึ้นเหนือหัว เหยียดขึ้นไปจนสุดและดันค้างไว้ 10-20 วินาที ทำแบบนี้เป็นจำนวน 2 ครั้ง จะช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณส่วนตื้นและต้นแขน
- ท่าดันหลังส่วนล่าง ยืดอกแอ่นตัวไปข้างหลัง ค้างไว้ 20 วินาที ท่านี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณส่วนหลังและอก
- มือไขว้หลังและจับข้อมือไว้ ก้มหน้าลงและเอียงคอไปด้านขวา พร้อมกับดึงมือซ้ายไปทางขวา ทำค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นให้สลับข้างทำ ข้างละ 2 ครั้ง จะช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ และคอ
“อย่าลืมสังเกตอาการ ว่าคุณเข้าข่ายเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่? เพื่อที่จะได้ป้องกันได้ทันก่อนอาการปวดจะเรื้อรังจนเป็นอันตราย”
สรุป
อาการออฟฟิศซินโดรม แม้จะไม่ร้ายแรงแต่ต้องได้รับการรักษาเพราะหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการนั่งทำงานให้เหมาะสม และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็บอกลาอาการออฟฟิศซินโดรมไปได้เลย
BED & MATTRESS PRODUCT
ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700