อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ที่หนึ่งชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงควรมี

อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย

         สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ดั่งใจ ส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวัน เป็นไปได้อย่างยากลำบาก ผู้ดูแลจึงกลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยในเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง แต่ด้วยปัญหาเรื่องสรีระ น้ำหนักตัว การทรงตัวต่าง ๆ ของผู้ป่วย ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการช่วยเหลือ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย และของใช้ผู้ป่วยติดเตียง จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรได้ดียิ่งขึ้น ผู้ดูแลก็เหนื่อยน้อยลง แต่อุปกรณ์เหล่านั้นต้องมีอะไรบ้าง? จำเป็นแค่ไหน? ไปดูกันเลยค่ะ

สารบัญ

เป้าหมายสำคัญในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย

         ผู้ป่วยติดเตียง บางคนอาจจะพอขยับร่างกายบางส่วนได้บ้าง แต่บางคนก็ขยับไม่ได้ หรืออาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรคทางสมองหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งการที่ต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานาน สิ่งที่ตามมาคือโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วย เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การเกิดแผลกดทับ ดังนั้น ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยมีเป้าหมายหลัก ดังนี้

อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและสุขอนามัยที่ดีขึ้น ไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อ การข้อติด
  2. ลดโอกาสนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพราะหากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแล มีอาการทรุดลงหรือมีภาวะแทรกซ้อน ก็จำเป็นต้องส่งตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ซึ่งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแต่ละครั้ง มีทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย และอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายมากมาย
  3. ลดภาระของผู้ดูแลลง เพราะหากดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ในบางรายอาจกลับมาช่วยเหลือตัวเองได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยติดเตียงต้องระวัง

         เนื่องจากปัญหาและข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จึงทำให้กิจวัตรส่วนใหญ่ของผู้ป่วยติดเตียง ต้องอยู่บนเตียงโดยส่วนใหญ่ ซึ่งผู้ดูแลต้องเอาใจใส่ผู้ป่วย ดังนี้

อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย

1.แผลกดทับ

         การที่ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงนาน ๆ โดยไม่ขยับร่างกาย ทำให้บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ ขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง ส่งผลให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลกดทับไปเรื่อย ๆ ซึ่งมักเกิดบริเวณท้ายทอย สะบัก สะโพก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า โดยผิวจะค่อย ๆ ลอก และลามกัดกินลึกไปเรื่อย ๆ จนถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • การดูแล : ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ผู้ดูแล จึงควรพลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป เมื่อทำความสะอาด ไม่ควรให้ผิวหนังเปียกชื้น

2.ภาวะกลืนลำบาก

         ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ มักมีความผิดปกติบริเวณช่องปาก และคอหอย จนทำให้เกิดภาวะกลืนลำบาก ส่งผลให้สำลักขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้เศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลม ทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ หรือหายใจไม่ออกได้

  • การดูแล : ขณะรับประทานอาหาร ผู้ดูแลควรปรับเตียง 45-90 องศา จับผู้ป่วยให้นั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว และควรปรับอาหารให้เหมาะสม เริ่มจากการให้อาหารข้น แต่ในปริมาณน้อยก่อน เช่น โจ๊กปั่น เพื่อดูว่าผู้ป่วยสามารถกลืนได้หรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ดูแลต้องค่อย ๆ ป้อนอาหาร ห้ามแหงนคอไปข้างหลัง และหยุดป้อนทันที หากผู้ป่วยมีอาการสำลัก

3.ความสะอาด

         ผู้ป่วยที่ต้องอาบน้ำและขับถ่ายบนเตียง มักประสบปัญหาเรื่องความสะอาด ซึ่งเป็นการสะสมเชื้อโรค อาจทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอลงหรืออาจติดเชื้อได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

  • การดูแล : ควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ หมั่นทำความสะอาดสายและร่างกายด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งการดูแลช่องปากและฟัน โดยเฉพาะผู้ที่บ้วนปากไม่ได้ ผู้ดูแลควรเช็ดทําความสะอาดช่องปากและลิ้นหลังอาหารทุกมื้อ

4.ภาวะสุขภาพจิต

         อีกสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามคือเรื่องของสุขภาพจิต ผู้ป่วยมักประสบปัญหากับความเจ็บปวด ความวิตกกังวล และความเศร้า ที่เกิดขึ้นจากอาการป่วย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตไม่ได้ดั่งใจเหมือนเคย

  • การดูแล : ผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วย รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น อาจปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม

เลือก อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย อย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

         การดูแลผู้ป่วยจะเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น หากมีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโดยเฉพาะ นอกจากอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยผ่อนแรงผู้ดูแลแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยบางคนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกด้วย

อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย

         ดังนั้น การรู้จักชนิด วิธีใช้งาน และเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อทุกอย่างนะคะ ให้เลือกซื้อเฉพาะของใช้ผู้ป่วยติดเตียงที่จำเป็นต้องใช้ก็เพียงพอแล้วค่ะ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทผู้ป่วย ออกเป็น 5 ประเภท ตามระดับความต้องการการช่วยเหลือ ซึ่งแต่ละระดับจะมี อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยที่แตกต่างกันออกไป

อุปกรณ์สำหรับผู้ต้องการความช่วยเหลือระดับ 1-2

         ผู้ป่วยในระดับ 1 สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่อาจจะต้องการความช่วยเหลือบางส่วน ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือผู้ป่วยอาจจะทำได้ไม่คล่อง เช่น การเดิน การอาบน้ำ การขับถ่าย อุปกรณ์ที่ต้องใช้ จะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น

  • เตียงผู้ป่วย ที่มีราวข้าง เพราะสามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุพลัดตกเตียงเวลานอน หรือเลือกเตียงผู้ป่วยที่มีเสาดึงตัว เพื่อใช้จับพยุงตัวขณะลุกขึ้น

อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Dali Low Entry สามารถปรับระดับได้ 4 ฟังก์ชัน รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 175 กิโลกรัม มีราวกั้นข้างเตียง และมีเสาดึงตัว สามารถถอดประกอบพับเก็บได้ สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย

  • รถเข็นผู้ป่วย อุปกรณ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก เมื่อต้องออกนอกบ้าน หากผู้ป่วยมีกำลังแขนที่แข็งแรง สามารถใช้รถเข็นผู้ป่วยช่วยในการเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้ดูแล

รถเข็นผู้ป่วย

รถเข็นผู้ป่วยวีลแชร์ แบบล้อใหญ่ รุ่น GK863LAJ-20 มีวงปั่นให้ผู้ป่วยเข็นเอง น้ำหนักเบา พับเก็บใส่ท้ายรถได้ รองรับน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม

  • ราวจับในห้องน้ำ ช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในห้องน้ำ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในบ้านสำหรับผู้ป่วย และผู้สูงอายุ

การหกล้มในผู้สูงอายุ

         สำหรับผู้ในระดับ 2 มีความต้องการความช่วยเหลือมากกกว่าระดับที่ 1 เพียงเล็กน้อย เช่น การล้างหน้า การล้างมือ จึงสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยได้เหมือนกัน

อุปกรณ์สำหรับผู้ต้องการความช่วยเหลือระดับ 3-4

         สำหรับผู้ป่วยระดับนี้ จะเริ่มทำกิจกรรมส่วนใหญ่บนเตียง และต้องการช่วยเหลือเกือบทุกอย่าง เช่น การอาบน้ำ ป้อนอาหาร ขับถ่าย การนั่งรถเข็นผู้ป่วย บกพร่องเรื่องการทรงตัว มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรง และต้องการความช่วยเหลือมากขึ้น โดยเฉพาะการเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยในระดับนี้จึงเน้นในเรื่องเตียงนอน และอุปกรณ์ที่ช่วยในการทรงตัวเป็นพิเศษ เช่น

  • เข็มขัดช่วยพยุงตัว เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านด้วยความปลอดภัย

ดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยติดเตียง

  • เก้าอี้นั่งถ่ายแบบมีล้อ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถเดินไปเข้าห้องน้ำได้ด้วยตนเอง หากมีผู้ดูแลก็สามารถช่วยเหลือให้ลุกขึ้นมาขับถ่ายบนเก้าอี้นั่งถ่ายได้

รถเข็นนั่งถ่าย และอาบน้ำ รุ่น MOEM ถอดฝาปิดและถังรองรับของเสียได้ อำนวยความสะดวกในการทำความสะอาด และใช้งานกับสุขภัณฑ์ได้

         ส่วนผู้ป่วยในระดับที่ 4 จะทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียง ผู้ดูแลช่วยเหลือเกือบทุกอย่าง โดยเฉพาะการอาบน้ำ หรือเช็ดตัว เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ สระผมบนเตียง อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องใช้จึงคล้ายกับระดับที่ 3 แต่มีความจำเป็นต้องใช้มากกว่า

อุปกรณ์สำหรับผู้ต้องการความช่วยเหลือระดับ 5

         ผู้ป่วยในระดับนี้ คือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว และไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้ จึงต้องการความช่วยเหลือโดยสมบูรณ์ ผู้ดูแลจึงต้องช่วยเหลือในทุกด้านของผู้ป่วย สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษเลยก็คือเรื่องของแผลกดทับ เพราะผู้ป่วยในระดับนี้ เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากที่สุด ผู้ดูแลจึงต้องขยับพลิกตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ใช้ จึงเน้นไปที่เรื่องของแผลกดทับ

  • ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ เนื่องจากแผลกดทับเกิดจากแรงกดทับ ที่นอนโฟมจะช่วยกระจายน้ำหนักออก จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับให้น้อยลงได้

การดูแลแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

ที่นอนโฟมลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ รุ่น MERCURY ช่วยกระจายน้ำหนักได้ดี รองรับสรีระ ระบายความอับชื้น

สรุป

         ผู้ป่วยติดเตียง ไม่จำเป็นจะต้องนอนอยู่บนเตียงเพียงอย่างเดียวเสมอไปนะคะ แม้อาจจะออกกำลังกายไม่ได้ แต่การได้อาบน้ำ สระผม ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ช่วยกายภาพผู้ป่วยไปในตัวทั้งนั้นเลยล่ะค่ะ ซึ่งการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยและของใช้ผู้ป่วยติดเตียงต่าง ๆ จะช่วยให้การทำกิจวัตรของผู้ป่วย เป็นไปได้อย่างราบรื่นและสะดวกมากขึ้น ไม่เพียงแค่นั้น ยังช่วยลดอุบัติเหตุได้อีกด้วยนะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup