เตียงลม และที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับผู้ป่วย!

เตียงลม

         แผลกดทับ นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาแทรกซ้อน ที่ทำให้ผู้ดูแลเกิดความกังวลใจ ทั้งเรื่องของอาการบาดเจ็บและโรคแทรกซ้อน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับที่ตามมาอีกด้วย การเลือกใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญ ซึ่งอุปกรณ์ที่หลายคนรู้จักนั่นก็คือ เตียงลม หรือที่นอนลม ใช่ไหมล่ะคะ

เตียงลม

ที่นอนลม AD – 1200 ป้องกันแผลกดทับ

        แต่รู้หรือไม่คะว่า นอกจากที่นอนลมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยที่ช่วยป้องกันแผลกดทับได้ดีเช่น นั่นก็คือ “ที่นอนโฟม” ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแผลกดทับได้ในระดับสูง อีกทั้งยังนอนสบาย ไม่มีการขยับของลอนอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยไม่รู้สึกรำคาญเวลานอน ที่สำคัญไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องซ่อมบำรุงปั๊มลมบ่อย ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าไปได้อีกด้วยค่ะ

         ก่อนที่จะเลือกที่นอนกันแผลกดทับ สิ่งหนึ่งที่ผู้ดูแลต้องมีความรู้และความเข้าใจเลยก็คือแผลกดทับ ผู้ดูแลต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ป่วยนั้นเป็นแผลกดทับอยู่ในระดับไหน มีความรุนแรงมากแค่ไหน เพื่อที่จะได้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

สารบัญ

  1. แผลกดทับเกิดจากอะไร
  1. เตียงลมและที่นอนกันแผลกดทับ แบบไหนเหมาะสมกับผู้ป่วย


แผลกดทับเกิดจากอะไร? รุนแรงแค่ไหน ทำไมเราถึงต้องใช้ เตียงลม

         แผลกดทับเกิดจากแรงเสียดสี แรงเฉือน และแรงกดทับที่ผิวหนังจุดใดจุดหนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้น ขาดออกซิเจนและสารอาหา รจากการที่ไม่ได้รับเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้ผิวหนังส่วนนั้นเสียหายและเกิดเป็นแผลขึ้น ซึ่งอาจทำให้บาดแผลติดเชื้อแบคทีเรียได้ เตียงลม และที่นอนโฟม จึงเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เสริมในการลดแรงเสียดสี และแรงเฉือนซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลกดทับได้

 ความรุนแรงของแผลกดทับ แบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้ ที่นอนลม

  • ระยะที่ 1   แผลกดทับในระยะนี้ ลักษณะแผลจะไม่เปิดออก ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี แต่สำหรับผู้ที่มีผิวขาวอาจเกิดรอยแดงได้ ส่วนผู้ที่มีผิวเข้มอาจเกิดสีเขียวอมม่วง เมื่อจับดูจะมีลักษณะอุ่น นุ่ม หรือแข็ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและระคายเคืองได้
  • ระยะที่ 2    แผลกดทับระยะนี้ เป็นแผลแบบเปิดหรือมีแผลตุ่มน้ำพอง ลักษณะแผลจะหลุดลอก เนื่องจากหนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้น
  • ระยะที่ 3     แผลจะมีลักษณะเป็นโพรงลึก จนอาจเห็นไขมันที่แผล เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดลอกออกไป รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย
  • ระยะที่ 4    ในระยะนี้ผิวหนังบริเวณแผลทั้งหมดถูกทำลายอย่างรุนแรง รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตาย กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไป ก็อาจถูกทำลายด้วย

ใครเสี่ยงเป็นแผลกดทับบ้าง?

  1. ผู้ที่ขยับร่างกายไม่ได้มากหรือไม่ได้เลย จนทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานาน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงไม่เพียงพอ เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ จึงถูกทำลายหรือตาย
  2. ผู้ที่มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระ มักจะเกิดความอับชื้นบริเวณผิวหนัง ทำให้ผิวหนังที่เสียดสีกับเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอน จนเกิดแผลกดทับ (ผ้ารองกันเปื้อน ช่วยป้องกันของเหลวต่างๆไม่ให้ซึมเข้าสู่ที่นอน และลดการเกิดแผลกดทับจากความอับชื้นได้ Click!!!)
  3. ผู้ป่วยนอนไถลตัวลงมาในขณะที่เตียงปรับระดับสูง ทำให้ชั้นผิวหนังถูกรั้งกันไว้ โดยเฉพาะบริเวณก้นกบ เกิดการดึงรั้ง จนเกิดเป็นแผลกดทับ (ป้องกันผู้สูงอายุไม่ให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงด้วยเตียงปรับระดับผู้สูงอายุ Click!!!)
  4. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางชนิด อาจเสี่ยงเกิดแผลกดทับได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน เส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวาย เป็นต้น
  5. ผู้สูงอายุ เนื่องจากผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นไปตามวัย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง
จะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ป่วยที่คุณดูแลเสี่ยงแผลกดทับมากแค่ไหน? มาลองทำแบบประเมินแผลกดทับเลย!

การดูแลรักษาแผลกดทับ

  • เปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชั่วโมง โดยจัดท่าให้ ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำ กึ่งตะแคง สลับกันไป เพื่อลดแรงกดทับที่ผิวหนังของผู้ป่วย
  • ดูแลความสะอาดของผิวหนัง หมั่นตรวจความเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติของผิวหนังอยู่เสมอ และควรทำความสะอาดผิวหนังให้เช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ผิวหนังอับชื้น
  • ดูแลอาหารของผู้ป่วย ให้มีโภชนาการที่ดี ห้ามให้ขาดสารอาหารเด็ดขาด โดยเฉพาะ วิตามิน A วิตามิน C  โปรตีน เหล็ก สังกะสี เพราะจะช่วยให้บาดแผลฟื้นตัวได้ไวขึ้น เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้จะไปช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวได้เป็นอย่างดี
  • ห้ามให้ผู้ป่วยอดอาหาร โดยทำตารางเวลาการรับประทานอาหารของผู้ป่วยไว้ หากผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบาก ให้ดื่มเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารอาหาร หรือทานอาหารเหลวแทน
  • อุปกรณ์เสริมลดแรงกดทับ อาจใช้หมอนรองหรือผ้าพัน เพื่อปกป้องผิวหนังและบรรเทาแรงกดทับ หรือเลือกใช้ที่นอนที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแผลกดทับ เช่น เตียงลม หรือ ที่นอนโฟม
ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ Mercury นวัตกรรมใหม่ใช้แทนที่นอนลมได้

เตียงลม และที่นอนโฟม เลือกแบบไหนให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

         ปัจจัยหลัก ๆ ในการเลือกที่นอนกันแผลกดทับ นอกจากคุณสมบัติในการเกิดแผลกดทับแล้ว อีกสิ่งหนึ่งเลยที่ต้องคำนึงถึง คือ อายุการใช้งาน และความทนทานของที่นอน และความเหมาะสมในการใช้งานของผู้ป่วย โดยที่นอนกันแผลกดทับหลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน ดังนี้

1.เตียงลม หรือที่นอนลม

        เตียงลมหรือที่นอนลม คืออุปกรณ์ที่ช่วยกระจายแรงกดทับ ทำงานโดยระบบปั๊มลมไฟฟ้า โดยการสลับยุบพองของที่นอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผิวหนังบริเวณนั้นไม่ถูกกดทับเป็นเวลานาน และเป็นการลดความรุนแรงในการเกิดแผลกดทับลง ที่นอนลม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้

  • ที่นอนลมแบบลอนขวาง ทำจาก PVC มีลักษณะเป็นลอน 20-22 ลอนโดยประมาณ สลับการยุบพองของลอนทุก ๆ 5 นาที ในกรณีที่มีลอนใดลอนหนึ่งชำรุดหรือมีรูรั่วสามารถถอดลอนเปลี่ยนได้

เตียงลม

  • ที่นอนลมแบบรังผึ้ง หรือบับเบิ้ล ใช้การสลับความดันลมสลับยุบพองแต่ละจุดทุก ๆ 8 – 9 นาที สามารถปรับระดับความนิ่มของที่นอนได้ แต่หากที่นอนชำรุดหรือมีรูรั่วเพียงจุดเดียว จะทำให้ที่นอนเสียหายทั้งหมด ซึ่งยากต่อการซ่อมบำรุง

ที่นอนลมเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน?    

         ที่นอนลมเหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับอยู่แล้ว (แผลกดทับระดับ 1-4)

ข้อจำกัดของที่นอนกันแผลกดทับแบบลม    

         ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Phlebothrombosis) ผู้ป่วยกระดูกสันหลังหัก ซึ่งอาจมีการเคลื่อนที่ของกระดูก (Unstable spinal fractures) และผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บเกี่ยวกับไขสันหลัง มีการแตกหักของกระดูกที่ยังไม่เข้าที่ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผิวแผ่นที่นอนลม อาจเป็นอันตรายได้

2.ที่นอนโฟม

         ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแผลกดทับได้เช่นเดียวกับที่นอนลม  ซึ่งข้อแตกต่างของที่โฟมที่ไม่เหมือนที่นอนลมคือที่นอนโฟมไม่ใช้ไฟฟ้า ประหยัดไฟ ไม่ต้องซ่อมบำรุงปั๊มลม

         บทความนี้จะกล่าวถึง ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ รุ่น Mercury  จากประเทศอังกฤษ  ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแผลกดทับในระดับ high risk (ป้องกันได้ระดับ 1-3) เนื้อโฟมทำจาก Polyurethane Foam ที่มีความหนาแน่นสูงร่องโฟมแบบ “Castellated Cut” ถูกออกแบบให้มีขนาดของร่องโฟมทั้งเล็กและใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับน้ำหนักในแต่ละส่วนของผู้ป่วย ช่วยในการกระจายน้ำหนักและรองรับสรีระของผู้ป่วยได้ดี ช่วยลดแรงเสียดสี และแรงเฉือน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลกดทับได้ที่นอนโฟม

ที่นอนโฟม Mercury มีอายุการใช้งานนานกว่า 8 ปี

         มีผ้าคลุมป้องกันน้ำเข้าที่นอนได้ 100 % ทำความสะอาดง่าย ไม่เกิดเชื้อรา ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น ลดอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ

ที่นอนโฟม

ที่นอนโฟมเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน? 

         ที่นอนโฟมเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับ ในระดับ 1-3 หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นแผลกดทับ

ที่นอนโฟม

Fletcher, et al. (2016). Wounds UK

ผ่านการวิจัย ได้รับมาตรฐานสากล และรางวัลอีกมากมาย จากการนำไปใช้งานจริง ในโรง- พยาบาล Royal Wolverhampton Hospital ประเทศอังกฤษ พบว่า ที่นอนโฟม MERCURY ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยแผลกดทับได้มากกว่าครึ่ง

ได้รับการยอมรับจาก National Health Service (NHS)  รวมถึงได้รับรางวัล Queen’s Award for Enterprise สำหรับหมวดหมู่สินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่

เตือนภัย!! ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ราคาถูก อาจเสี่ยงโดนหลอกขาย!!!
ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

         เนื้อโฟมด้านข้างและด้านล่าง เป็นโฟมชนิดพิเศษ Combustion modified ether foam หรือ CME ที่ช่วยรักษารูปทรงที่นอนไม่ให้ยุบตัว และไม่ต้องพลิกตัวเพื่อเปลี่ยนจุดกดทับ ทำให้ที่นอนโฟม mercury มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าที่นอนทั่วไป และในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกระดูกก็สามารถพลิกที่นอนอีกด้านที่มีความหนาแน่นกว่าได้

  

ความแตกต่างระหว่างเตียงลม และที่นอนโฟม

ที่นอนลม

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

Close Popup