รักษาแผลกดทับ ต้องใช้เงินเท่าไหร่? ที่นอนกันแผลกดทับ ใช้ได้จริงไหม? เช็กเลย!

รักษาแผลกดทับ

         สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยหรือไม่ได้เลย ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันต้องอยู่บนเตียงเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะเรื่องของ “แผลกดทับ” ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย หากเป็นแล้วก็อาจส่งผลร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เรามาดูกันว่า หากต้องการ รักษาแผลกดทับ ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่? แล้วที่นอนกันแผลกดทับ ใช้ได้ผลจริงไหม? อ่านบทความนี้เลยค่ะ

สารบัญ

แผลกดทับ คือ อะไร?

         แผลกดทับ คือ แผลที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เนื่องจากถูกแรงกดทับเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดเนื้อตายและเป็นแผลขึ้นมา และอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ซึ่งบริเวณเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้มากนั้น มักเป็นบริเวณที่มีไขมันปกคลุมผิวหนังน้อยและต้องรับแรงกดทับโดยตรง โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ

แผลกดทับ คือ

ภาพจาก : แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แผลกดทับ เกิดจากอะไร? ใครเสี่ยงเป็นบ้าง? คลิกเลย!!!

รักษาแผลกดทับ ให้หายได้ไหม? มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

         แผลกดทับ สามารถรักษาให้หายได้ค่ะ แต่จะมีความซับซ้อนในการรักษา ทั้งในการดูแลและการใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น แพทย์ผู้ดูแลแผนการรักษา แพทย์ผิวหนัง ศัลยแพทย์ด้านประสาท กระดูก นักกายภาพบำบัด เป็นต้น

รักษาแผลกดทับ

ภาพจาก : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

         หากกล่าวถึงวิธี รักษาแผลกดทับ แล้วล่ะก็ มีหลายวิธีค่ะ ขึ้นอยู่กับระยะอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยผู้ป่วยที่มีแผลกดทับระยะที่ 1 และระยะที่ 2 สามารถหายได้หากได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยระยะที่ 3 และระยะที่ 4 อาจใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่า ทั้งนี้ มีวิธีการรักษาตามอาการ ดังนี้

  1. ลดแรงกดทับ ผู้ป่วยที่นอนให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา สำหรับผู้ที่นั่งรถเข็นผู้ป่วย ควรขยับร่างกายทุก 15 นาที
  2. ดูแลแผล หากบริเวณแผลปิด ให้ล้างแผลด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่อน ๆ และเช็ดให้แห้ง ส่วนผู้ที่แผลเปิด ให้ล้างด้วยน้ำเกลือสำหรับล้างแผลทุกครั้งเมื่อต้องทำแผล ควรพันแผลเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากช่วยให้แผลชุ่มชื้นอยู่เสมอ อีกทั้งยังลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  3. การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย อีกทั้งอาจต้องให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  4. การรักษาอื่น ที่ช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น • ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดบริเวณแผล • อาหารเสริมที่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น (ได้รับคำแนะนำจากแพทย์) เช่น โปรตีน สังกะสี วิตามิน • การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่รักษาแผลให้หายไม่ได้ จำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัด เพื่อนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายมาปิดแผล

ค่าใช้จ่ายรักษาแผลกดทับ

ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเท่าไหร่?   

         หากกล่าวถึงค่าใช้จ่ายทั่วไป ในการดูแลชีวิตประจำวันของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุติดเตียง จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 36,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 900 – 2,000 บาทต่อวัน โดยราคานี้เป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะ เช่น การรับประทานอาหาร ยา

         ซึ่งหากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีภาวะเป็นแผลกดทับเพิ่มเติมจากอาการที่เป็นอยู่ ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นจากเดิม บางรายอาจสูงถึงเดือนละ 65,000 บาทต่อเดือน หรือเฉลี่ยประมาณ 500 – 1,000 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผลกดทับ โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ยังไม่รวมค่ายาและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำแผล         

         การ รักษาแผลกดทับ จะมีค่าใช้จ่ายในทุกขั้นตอน ทั้งในเรื่องของการดูแลชีวิตประจำวันของผู้ป่วย อุปกรณ์ในการรักษา ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน แต่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็จะมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ตามมาอีก อีกทั้งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายของผู้ดูแลอีกด้วย

(ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์)

จะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับนั้น มีราคาเฉลี่ยที่สูงมาก ดังนั้น หากไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพิ่มเติมล่ะก็ ควรป้องกันไม่ให้แผลกดทับนี้เกิดหรือรุนแรงขึ้นนะคะ

หากไม่รักษาแผลกดทับ จะอันตรายแค่ไหน?

         การเป็นแผลกดทับ นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยแล้ว หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา แผลกดทับนั้น จะค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะคะ อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเลยล่ะค่ะ

รักษาแผลกดทับ

  1. เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ : เกิดจากการที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณแผลกดทับเกิดการติดเชื้อ จนอาจทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย โดยเฉพาะผู้ที่แผลกดทับบริเวณก้นกบและหลังส่วนล่าง หากเนื้อเยื่อมีการติดเชื้อมากขึ้น อาจส่งผลให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
  2. ติดเชื้อในกระแสเลือด : ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับติดเชื้อ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้สูง ภาวะนี้จะทำลายอวัยวะต่าง ๆ ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลงมาก โดยผู้ป่วยจะตัวเย็นและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นเสียชีวิต
  3. ติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ : แผลกดทับที่ติดเชื้ออาจลุกลามจนไปที่ข้อต่อหรือกระดูก โดยจะทำลายกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อ ทำให้การทำงานของข้อต่อและแขนขาลดน้อยลง ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อรุนแรง อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดนำกระดูกหรือข้อต่อที่ติดเชื้อออก
  4. เนื้อเน่า : เป็นภาวะติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณแผลกดทับอย่างรุนแรง ลึกถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อเยื่อตายอย่างรวดเร็ว ในบางราย อาจเป็นภาวะเนื้อเน่าแบบมีก๊าซ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่จะผลิตก๊าซและปล่อยสารพิษออกมา ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมและเจ็บแผลอย่างรุนแรง ผู้ที่เกิดภาวะเนื้อเน่าจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดนำหนังส่วนที่เน่าออกไป หากรุนแรงมากจำเป็นต้องตัดอวัยวะส่วนที่เกิดภาวะดังกล่าว เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น
  5. มะเร็งผิวหนัง : ผู้ป่วยแผลกดทับที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาเป็นเวลานาน อาจลุกลามจนเกิดเป็นมะเร็งผิวหนังได้

แผลกดทับหากปล่อยไว้โดยไม่รีบรักษา จะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะคะ ดังนั้น หากผู้ป่วยเป็นแผลกดทับแล้ว จึงต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุดค่ะ

รู้หรือไม่?! แผลกดทับป้องกันได้ไม่ยากอย่างที่คิด!

         แม้ว่าปัญหาเรื่องแผลกดทับ จะเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ในทางกลับกัน ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกันค่ะ โดยเฉพาะการเลือกใช้อุปกรณ์ในการดูแลแผลกดทับ เป็นการป้องกันหรือรักษาแผลกดทับในระยะยาว ที่ช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วย ซึ่งเมื่อแผลกดทับไม่เกิดหรือมีความรุนแรงน้อย ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับที่จะต้องจ่ายได้เยอะเลยล่ะค่ะ

แผลกดทับ

         จะเห็นได้ว่า ในระยะเวลา 8 ปี หากเลือกรักษาหรือป้องกันแผลกดทับด้วยที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 16,000 – 18,000 บาท หรือเฉลี่ยประมาณ 166 – 187 บาทต่อเดือนเท่านั้น ในทางกลับกัน หากเลือกที่จะไม่ใช่ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ในการลดความเสี่ยงหรือความรุนแรงของแผลกดทับ จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่ที่ประมาณ 1,440,000 – 6,240,000 บาท หรือเฉลี่ย 15,000 – 65,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ดังนั้น การเลือกใช้ที่นอนโฟมจะลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้สูงสุดถึง 64,800 เลยล่ะค่ะ         

         ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ จาก ALLWELL เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการดูแลแผลกดทับ ที่มองข้ามไม่ได้เลยล่ะค่ะ เนื่องจากตัวร่องโฟม ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กและใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับน้ำหนักตัวของผู้ป่วยในแต่ละส่วน เป็นการช่วยกระจายน้ำหนักและลดแรงกดทับ แรงเสียดสี และแรงเฉือน ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลกดทับได้ค่ะ

ที่นอนกันแผลกดทับ

         ซึ่งที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ต่างจากที่นอนลมที่ใช้กันทั่วไปนะคะ เพราะที่นอนโฟมไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟ และการซ่อมบำรุงปั๊มลม นอกจากนี้ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับนี้ ไม่มีเสียงรบกวนผู้ป่วย เหมือนกับนอนลมที่ต้องมีการปั๊มลม สลับยุบพองของลอนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้ป่วยได้ แถมที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับนี้ อายุกันใช้งานยังยาวถึง 8 ปีเลยล่ะค่ะ          

        หลายท่านอาจกังวลใจว่าสินค้านี้ไว้ใจได้หรือเปล่า? บอกเลยว่า หมดกังวลได้เลยค่ะ เพราะที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับจาก ALLWELL ผ่านมาตรฐาน BS EN ISO 2439 :2008 (การทดสอบความต้านต่อแรงกดทับ) และ BS EN ISO 3385 :2014 (การทดสอบการคืนรูปของเนื้อโฟม) ผ่านมาตรฐานป้องกันการลุกลามของไฟทั้งในส่วนของผ้าคลุมทั้ง 2 ด้าน และเนื้อโฟม BS 7175: 1989, 5852: 1990 และ BS 7177: 2011 (+A1:2011) รับรองได้ว่ามีมาตรฐานไว้ใจได้แน่นอนค่ะ        

        ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ เป็นอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยหนึ่งที่ควรมีไว้ดูแลผู้ป่วยนะคะ เป็นการลงทุนซื้อแค่ครั้งเดียว แต่สามารถป้องกันและดูแลแผลกดทับได้ในระยาวยาว เพราะหากละเลยให้แผลกดทับเกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าราคาที่ต้องจ่ายสูงกว่าราคาที่นอนโฟมหลายเท่าตัวเลยล่ะค่ะ

ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

          นอกจากการใช้ที่นอนสำหรับป้องกันแผลกดทับแล้ว ผู้ดูแลยังสามารถดูแลอย่างอื่นควบคู่ไปด้วยนะคะ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ตามหลัก “ยก-จัด-ดึง-ดู” (ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ดังนี้ค่ะ

  • ยก : ยกตัวผู้ป่วยให้พลิกตะแคงทุก 2 ชั่วโมง ตะแคงตัวประมาณ 30-45 องศา โดยให้ยกตัวผู้ป่วย แทนการลากหรือดึงตัวผู้ป่วย
  • จัด : จัดให้มีหมอนรองรับเวลานั่งหรือนอน และควรปรับระดับหัวเตียงให้สูงไม่เกิน 30 องศา
  • ดึง : ดึงความเรียบร้อยของผ้าปูที่นอน หลีกเลี่ยงผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้าผู้ป่วยที่ยับหรือย่น
  • ดู : ดูแลสภาพผิวหนังของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ โดยทำความสะอาดไม่ให้ผิวหนังเปียกหรืออับชื้น

สรุป

         แผลกดทับ เป็นภัยร้ายที่เกิดขึ้นได้ง่ายมาก ๆ ผู้ดูแลจึงไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเป็นแล้ว จะต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเวลาในการรักษา เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ถึงแม้ปัญหาแผลกดทับจะเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็สามารถป้องกันได้ไม่ยาก หัวใจสำคัญคือการที่จะต้องคอยสังเกต และเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ ที่จะลดโอกาสและความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับนะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup