นอกจากค่า BMI แล้ว เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย หรือ Body fat percentage ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องเช็กเช่นกันค่ะ เพราะเป็นค่าที่จะบอกให้รู้ว่า ร่างกายของเราในตอนนี้มีสัดส่วนของไขมันอยู่เท่าไหร่ มากเกินไปหรือไม่ เพื่อจะได้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีและป้องกันอันตรายจากภาวะไขมันในร่างกายมีมากเกินไปได้นั่นเองค่ะ แล้วเราสามารถเช็กไขมันอย่างไรได้บ้าง ต้องอ่านบทความนี้เลยค่ะ
สารบัญ
- ทำไมเราถึงควรเช็กเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย?
- วิธีคำนวณเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายด้วยตัวเอง
- ทำไมเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของแต่ละคนไม่เท่ากัน?
- ถ้าไม่คำนวณเอง จะใช้อะไรวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายได้บ้าง?
- เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายสูง! ลดได้อย่างไรบ้าง?
ทำไมเราถึงควรเช็ก เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย?
ไขมันเป็นส่วนประกอบของร่างกาย แต่ถ้ามีมากเกินไปก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ได้มากกว่าผลดี ซ้ำยังก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคหัวใจ ฯลฯ ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า ร่างกายของเรานั้นมีไขมันอยู่เท่าไหร่ โดยวัดออกมาในรูปของ Body Fat Percentage หรือ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายนั่นเองค่ะ
เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย จะทำให้เราสามารถวางแผนดูแลตัวเองได้ละเอียดมากขึ้น ปรับแผนการกินและพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดไขมันให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น การตรวจเช็กเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ ไม่เว้นแม้แต่คนที่ผอมก็อาจมีไขมันในร่างกายสูงก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมีน้ำหนักมากหรือน้อย ก็ไม่ควรละเลยการเช็กปริมาณไขมันในร่างกายนะคะ
วิธีคำนวณ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ด้วยตัวเอง
การเช็กเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย นอกจากการไปตรวจเลือดหรือตรวจร่างกายตามโรงพยาบาลแล้ว สำหรับคนที่ต้องการคำนวณเปอร์เซ็นต์ไขมันด้วยตนเองเบื้องต้นก็สามารถทำได้ค่ะ เป็นการใช้สูตรคำนวณจากค่าพื้นฐานอย่างค่า BMI อายุ และเพศ ซึ่งสามารถคำนวนตามสูตรได้ ดังนี้ค่ะ
*ค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI สามารถคำนวนได้
[น้ำหนักตัว ÷ ส่วนสูง2 (เมตร)] = ดัชนีมวลกาย
เปอร์เซ็นไขมันในร่างกาย สำหรับผู้ชาย
[1.2 x ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)]
+
(0.23 x อายุ) – 16.2
เปอร์เซ็นไขมันในร่างกาย สำหรับผู้หญิง
[1.2 x ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)]
+
(0.23 x อายุ) – 5.4
ตัวอย่างเช่น : นาย A (เพศชาย) / อายุ 35 ปี / มีค่าดัชนีมวลกาย 22.90 จะสามารถคำนวณได้ ดังนี้
(1.2 x 22.90) + (0.23 x 35) – 16.2 = 19.33%
โดยหลังจากคำนวณจนได้เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายออกมาแล้ว เราก็จะนำตัวเลขที่ได้มาเทียบดูตามเกณฑ์เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายตามเพศและช่วงอายุ ว่าเรานั้นมีค่าไขมันมาก น้อย หรือปกติ โดยดูตามตารางด้านล่างได้เลยค่ะ
อายุ 20-29 ปี | อายุ 30-39 ปี | อายุ 40-49 ปี | อายุ 50-59 ปี | อายุ 60 ปีขึ้นไป | |
เพศชาย | ไม่เกิน 18.6% | ไม่เกิน 21.3% | ไม่เกิน 23.4% | ไม่เกิน 24.6% | ไม่เกิน 25.2% |
เพศหญิง | ไม่เกิน 22.7% | ไม่เกิน 24.6% | ไม่เกิน 27.6% | ไม่เกิน 30.4% | ไม่เกิน 31.3% |
ทำไม เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ของแต่ละคนไม่เท่ากัน?
แน่นอนว่า เพศหญิง-เพศชาย หรือคนที่น้ำหนักมากน้ำหนักน้อย ย่อมมีค่าเปอร์เซ็นไขมันในร่างกายไม่เท่ากัน แต่บางคนรูปร่างใกล้เคียงกัน น้ำหนักพอ ๆ กัน แต่ทำไมไปตรวจที่โรงพยาบาลแล้วค่าไขมันในร่างกายออกมาไม่เท่ากัน นั่นก็เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
- เพศ โดยพบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายผู้ชาย จะมีน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายผู้หญิง เพราะผู้หญิงจำเป็นต้องใช้ไขมันมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีลูก เนื่องจากร่างกายจะมีการดึงไขมันไปใช้ในการผลิตน้ำนมด้วยนั่นเอง
- อายุ ยิ่งอายุมาก เปอร์เซ็นต์ไขมันก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากระบบในร่างกายมีการเผาผลาญไขมันได้น้อยลงจากเดิม ทำให้มีไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายมากกว่าคนที่มีอายุน้อย
- การรับประทานอาหาร ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มไขมันในร่างกายโดยตรง หากทานพวกของทอด ของมันเยอะ ก็จะมีเปอร์เซ็นต์ไขมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงอาหารรสหวานที่มีน้ำตาลมาก ก็มีผลเช่นกัน
- พันธุกรรม โดยร่างกายของบางคนสามารถกักเก็บไขมันได้มากกว่าปกติ และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งแต่ละคนย่อมมีไม่เหมือนกันอยู่แล้ว บางคนเน้นดูแลสุขภาพ แต่บางคนเน้นดื่มและปาร์ตี้บ่อยๆ จึงเป็นผลให้มีไขมันสูง
ถ้าไม่คำนวณเอง จะใช้อะไรวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายได้บ้าง?
การคำนวนเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ด้วยสูตรข้างต้น หลาย ๆ คนก็อาจรู้สึกว่าไม่สะดวก และก็เป็นวิธีที่แอบยุ่งยาก ซึ่งถ้าเราไม่ใช้วิธีการคำนวนด้วยสูตร เราจะสามารถวัดค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายอย่างไรได้บ้างนั้น ก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีค่ะ บอกเลยว่าง่ายกว่าการคำนวนด้วยตัวเองแน่นอน
- คาลิปเปอร์ คีมหนีบไขมัน เป็นอุปกรณ์วัดปริมาณไขมัน กล้ามเนื้อ และส่วนประกอบอื่น ๆ ในร่างกายของเรา สามารถใช้ได้ในบริเวณต้นแขน ต้นขา บริเวณช่วงอก หรือหน้าท้องก็ได้
- คำนวณด้วยสูตรบนเว็บไซต์สุขภาพต่าง ๆ เป็นการคำนวนด้วยสูตรคำนวนเปอร์เซ็นต์ไขมันนี่แหละค่ะ เพียงแต่ว่าทางเว็บไซต์นั้น ๆ จะทำโปรแกรมที่ให้เราเพียงแค่กรอกข้อมูลลงไปให้ครบถ้วน จากนั้นโปรแกรมจะคำนวณออกมาให้เองอัตโนมัติว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันของคุณมีเท่าไหร่
- เครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมันและมวลกาย เป็นวิธีการวัดไขมันที่ง่ายและมีความแม่นยำค่ะ เหมือนกับการแค่ชั่งน้ำหนักแบบทั่วไป แต่ค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันและองค์ประกอบร่างกายอื่น ๆ จะถูกแสดงมาด้วย ช่วยทำให้วางแผนสุขภาพได้ง่ายมากขึ้นค่ะ ถือเป็นวิธีการหาเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ
บทความนี้ ขอแนะนำเครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมันและองค์ประกอบร่างกาย ALLLWELL รุ่น JPD-BFS200B ที่สามารถดูเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ แถมยังสามารถวัดองค์ประกอบต่าง ๆ ในร่างกายได้ถึง 14 ค่า! ได้แก่
- น้ำหนักตัว
- BMI หรือดัชนีมวลกาย
- เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย
- เปอร์เซ็นต์ไขมันในช่องท้อง
- น้ำหนักไขมัน
- อัตราการเผาผลาญพลังงาน
- เปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อในร่างกาย
- น้ำหนักกล้ามเนื้อ
- เปอร์เซ็นต์น้ำรวมในร่างกาย
- มวลกระดูก
- โปรตีนในร่างกาย
- อายุร่างกาย
- น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
- น้ำหนักร่างกายไม่รวมไขมัน
ทุกค่าครบจบในเครื่องเดียว ไม่ต้องมานั่งใช้สูตรคำนวนให้ปวดหัวเลยค่ะ เหมาะกับสายดูแลสุขภาพสุด ๆ แถมยังแข็งแรงทนทาน ดีไซน์สวย บอกเลยว่า ราคาเพียงหลักร้อยเท่านั้น!!! ถ้าเทียบกับฟังก์ชันที่ได้ ยังไงก็มีแต่คุ้มกับคุ้มค่ะ
ดูรายละเอียด เครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมันและมวลกาย ALLLWELL รุ่น JPD-BFS200B คลิก!!เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายสูง! ลดได้อย่างไรบ้าง?
หากตรวจพบเปอร์เซ็นต์ไขมันสูง ก็แปลว่าเราได้เวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วล่ะค่ะ ทางที่ดีต้องหาทางลดเจ้าไขมันส่วนเกินพวกนี้ออกไปให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สุขภาพของเรานั้นดี และห่างไกลจากโรคที่เกิดจากไขมันส่วนเกินด้วยค่ะ ซึ่งเราสามารถลดไขมันในร่างกายด้วยวิธีง่าย ๆ 3 วิธีหลัก ๆ คือ
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นวิธีสำคัญในการดูแลสุขภาพเลยค่ะ แม้น้ำหนักหรือเปอร์เซ็นต์ไขมันจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว ก็จำเป็นจะต้องออกกำลังกายต่อเนื่องสม่ำเสมอนะคะ
- เลี่ยงการทานอาหารมัน ๆ อย่างเช่น ขาหมู เนื้อหมูติดมัน ของทอดทั้งหลาย เพราะเหล่านี้คือต้นตอของไขมันเลยล่ะค่ะ แถมมีเยอะมาก ๆ และเป็นไขมันไม่ดีด้วย ดังนั้น เลี่ยงได้เลี่ยงเลยค่ะ
- กินน้ำเปล่าเยอะ ๆ จะช่วยให้อิ่มง่ายขึ้น เผาผลาญได้ดีขึ้น และช่วยให้สุขภาพและการขับถ่ายดีขึ้นด้วยค่ะ โดยเครื่องดื่มอื่น ๆ อย่างน้ำหวาน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ควรงดนะคะ
- พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด จะช่วยให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
สรุป
จะเห็นได้ว่าการวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะฉะนั้นควรหมั่นวัดไขมันอยู่เสมอ เพื่อตรวจเช็กสุขภาพร่างกาย และลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากไขมันส่วนเกินนะคะ อย่างไรก็ตาม การวัดด้วยวิธีเหล่านี้ จะทำให้รู้ในเบื้องต้นเท่านั้น หากพบว่าปริมาณไขมันสูง ควรไปตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลอีกครั้งจะดีกว่าและละเอียดกว่านะคะ