บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
การออกกำลังกายย่อมเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพของร่างกาย และ สุขภาพของจิตใจที่ทุกท่านควรปฏิบัติจนเป็นกิจวัตรประจำวัน อย่างไรก็ดีการออกกำลังกายในบุคคลทั่วไปย่อมไม่เกิดข้อคำถามหรือข้อสงสัยขึ้น แต่หากตัวคุณเองหรือคนที่คุณต้องการดูแลเป็นโรคเบาหวานแล้ว ย่อมเกิดข้อสงสัยได้ว่า การออกกําลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ทำได้หรือไม่ และ ปลอดภัยพอที่ควรจะทำมั้ย ซึ่งเราขออาสามาไขข้อสงสัยดังกล่าวในบทความนี้กัน
สารบัญ
- ผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกายได้ไหม?
- ประโยชน์ของการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายแบบไหน
- ท่าออกกำลังกาย/บริหารร่างกาย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกายได้ไหม?
การออกกําลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน นั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นการออกกำลังกายในรูปแบบและระยะเวลาที่เหมาะสมกับชนิดของโรคเบาหวานที่กำลังประสบ รวมไปถึงต้องเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานในขณะนั้นด้วย
ผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกายต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง?
เมื่อเราทราบกันแล้วว่าผู้ป่วยเบาหวานสามารถออกกำลังกายได้ ถัดมาเราก็ขอพาทุกท่านไปพบกันต่อกับข้อควรระวังของการออกกําลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนี้
1.ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ออกกำลังกายต้องงดทันทีหากมีระดับน้ำตาลในโลหิตตอยู่ที่ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
2.ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ออกกำลังกายต้องงดทันทีหากมีระดับน้ำตาลในโลหิตตอยู่ที่ 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
3.ก่อนการเริ่มออกกำลังกายควรมีการปรึกษาแพทย์ และ ร่วมวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม
4.หากเป็นการออกกำลังกายนอกสถานที่ควรมีบุคคลอื่นไปเป็นเพื่อน หรือ ควรมีป้ายชี้บ่งที่สามารถระบุได้ว่าผู้เป็นเบาหวาน ออกกำลังกายอยู่
5.เกิดภาวะของระดับน้ำตาลในโลหิตที่ต่ำในขณะหรือหลังออกกำลังกาย
6.หากตอนเริ่มต้นออกกำลังกายมีระดับน้ำตาลในโลหิตอยู่ที่ 90 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือ ควรรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตก่อนการออกกำลังกาย
อ่านบทความ : วิธีคุมเบาหวานให้อยู่หมัดง่ายๆ แค่เลือกทาน!ประโยชน์ของการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
แน่นอนว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยที่กำลังสงสัยว่าป่วยเป็นเบาหวานออกกำลังกายดีไหม สำหรับประโยชน์ของการออกกําลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน Allwell ได้รวบรวมประโยชน์ของการที่เราออกกำลังกายมาให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ทราบกัน มีดังนี้
1.ช่วยเพิ่มการใช้กลูโคสภายในร่างกาย
ส่วนนี้ก็จะช่วยลดในส่วนของการฉีดอินซูลินเข้าไป จึงเป็นการสร้างความสมดุลของระดับน้ำตาลในโลหิตนั่นเอง
2.ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น
นอกจากคุณป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว คุณคงไม่ต้องการแพ็กเกจโรคคู่อย่างแน่นอน การออกกำลงกายจึงตอบโจทย์การป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อมได้เป็นอย่างดี
3.เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ
การดำเนินชีวิตล้วนต้องอาศัยการตัดสินใจด้วยกันทั้งสิ้น แต่หากคุณคิดยังไม่ออกว่าจะตัดสินใจอย่างไร การออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณมีสมาธิในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น
4.ช่วยควบคุมน้ำหนัก
เพื่อให้เกิดความสมดุลของการใช้กลูโคสเมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น การออกกำลังกายจะช่วยส่วนนี้และยังผลให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้
5.ช่วยให้จิตใจแจ่มใส
การออกกําลังกายในผู้ป่วยเบาหวานจะทำให้เกิดความเบิกบานใจทั้งจากร่างกายที่แข็งแรงขึ้น และ การสูดอากาศที่บริสุทธิ์
ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายแบบไหน
ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า โรคเบาหวานเองนั้นก็มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ดังนั้นการออกกําลังกายในผู้ป่วยเบาหวานแต่ละชนิดก็ควรมีความแตกต่างกันไป จะแตกต่างอย่างไร ตามมาดูกันเลย บทความนี้ได้รวบรวมการออกกำลังกายที่แตกต่างกันของเบาหวานทั้ง 2 ชนิด มาให้ทุกท่านแล้ว มีดังนี้
1.โรคเบาหวานชนิดที่ 1
ซึ่งไม่มีการสร้างอินซูลินของร่างกาย ต้องมีการฉีดอินซูรินอย่างต่อเนื่อง ควรออกกำลังกายด้วยการเดินเหยาะ ๆ , การวิ่ง, การปั่นจักรยาน, การว่ายน้ำ, การทำโยคะ รวมไปถึงการทำคาร์ดิโอด้วย
2.โรคเบาหวานชนิดที่ 2
ซึ่งร่างกายยังคงผลิตอินซูรินได้เอง เพียงแต่มีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานของร่างกาย ควรออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะ หรือ การคาร์ดิโอ เป็นต้น
ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
สั่งซื้อเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด Click!!! จัดส่งฟรีทั่วประเทศ!
ท่าออกกำลังกาย/บริหารร่างกาย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
อีกหัวข้อห้ามพลาดกับการออกกําลังกาย หลายๆท่านคงสงสัยว่ามีท่าออกกำลังกาย หรือท่ากายบริหารแบบไหนบ้างที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถทำได้และไม่อันตราย สำหรับบทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้กับทุกท่านได้ทราบกัน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวาน ท่าการบริหารที่เหมาะสม ซึ่งมีดังนี้
1.ท่าบอกรักตรง ๆ
นำมือประสานเข้าด้วยกัน จากนั้นยื่นไปจนสุดมือ พร้อมโน้มตัวไปด้านหน้ามือที่ยื่นไปเล็กน้อย นับค้าง 10 วินาที แล้วนำมือกลับมาแนบอก จากนั้นทิ้งมือเป็นแนวตรงยาวข้างลำตัวทั้งสองข้าง ควรออกกายบริหารท่านี้วันละ 15 – 30 นาที
2.ท่านกน้อยโผบิน
ท่านี้ต้องใช้พื้นที่กันสักหน่อย เพราะเป็นการเหยียดแขนทั้งสองข้างจนสุดแขน ให้มีความสูงระดับไหล่ โดยเหยียดไปข้างลำตัว จากนั้นหันหน้าไปด้านขวา นับค้าง 10 วินาที หันมากลางตัว นับเพิ่ม 10 วินาที และจบด้วยการหันไปด้านซ้าย ทำทั้งหมดซ้ำ ๆ ในเวลา 10 – 15 นาที
3.ลมหายใจแห่งรัก
นับเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีท่าออกกำลังกายเท่าใดนัก โดยหายใจเข้าลึก ๆ 5วินาที จากนั้นหายใจออกยาว ๆ 5 วินาที แล้วทำต่อเนื่อง 30 ครั้ง
สรุป
การออกกำลังกายย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกท่านควรปฏิบัติจนเป็นกิจวัตร ไม่เว้นแม้แต่การออกกําลังกายในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งสามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ก็ย่อมต้องเป็นการออกกำลังกายที่เฉพาะหรือแตกต่างกันออกไปในร่างกายของแต่ละท่าน เพื่อให้การออกกำลังกายนั้น ๆ ทำให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพที่ดี ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบหรือการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตามมาได้