รองเท้า นอกจากจะช่วยปกป้องเท้าจากเศษดิน ฝุ่นผงต่าง ๆ แล้ว ยังป้องกันเท้าจากเชื้อโรคหรือของมีคมต่าง ๆ จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดบาดแผลและติดเชื้อที่เท้าได้ง่าย ยิ่งต้องได้รับการดูแลเท้าเป็นพิเศษ ดังนั้นการเลือก รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน จึงต้องใส่ใจในการเลือกป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดแผลเรื้อรัง แล้วควรเลือกอย่างไร แบบไหน ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน ALLWELL ก็ได้รวบรวมวิธีการเลือกไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ
สารบัญเนื้อหา
- รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน สำคัญอย่างไร?
- วิธีเลือกรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการสวมรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
- ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน
- วิธีป้องกันแผลเบาหวานที่เท้า
รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน สำคัญอย่างไร?
ผู้ป่วยเบาหวาน มักมีปัญหาระบบปลายประสาทอักเสบ ทำให้เกิดแผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือการติดเชื้อ แผลเป็นหนอง อาจนำไปสู่ภาวะเนื้อตาย หรืออาจนำไปสู่การตัดเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นได้ (อ่านบทความ : แผลเบาหวาน ไม่ต้องตัดขา ป้องกันได้! เรื่องน่ารู้ที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรมองข้าม Click!!!)
การสวมรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน หรือรองเท้าเพื่อสุขภาพ ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีสุขภาพเท้าที่ดีขึ้น
จากการวิจัยของ King’s college ประเทศอังกฤษ พบว่าผู้ป่วยที่แผลหายแล้ว กลับมาใส่รองเท้าปกติ มีโอกาสเป็นแผลซ้ำ ถึงร้อยละ 83 ส่วนผู้ป่วยที่ใส่รองเท้าที่ออกแบบพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเกิดแผลซ้ำเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น
จากการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่ารองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้าได้อย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยเบาหวาน จึงควรสวมใส่รองเท้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ
วิธีเลือกรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวาน มักมีปัญหาระบบปลายประสาทบกพร่อง ทำให้เท้าเกิดอาการชา เมื่อเกิดแผลขึ้นมาผู้ป่วยจึงมักจะไม่รู้สึกตัว กว่าจะรู้แผลก็ลุกลาม รุนแรง ทำให้รักษาหายช้า และอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นตัดเท้าได้ รองเท้าจึงเป็นอุปกรณ์จำเป็นอย่างหนึ่งที่จะช่วยปกป้อง และดูแลเท้าของผู้ป่วยไม่ให้เกิดแผลได้
โดยรองเท้าที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน ควรมีลักษณะดังนี้
- รองเท้าควรเป็นชนิดหุ้มส้น หรือมีสายรัด เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานบางรายมีปัญหาเท้าชาเวลาเดินซึ่งอาจทำให้เท้าเลื่อนหลุดง่าย
- รูปร่างของรองเท้าเข้ากับเท้าของผู้ป่วย ไม่ควรเป็นรองเท้าหน้าแคบเพราะอาจบีบรัดเท้าจนเกิดแผลได้ และไม่ควรเป็นรองเท้าแตะชนิดคีบ เพราะอาจทำให้เกิดแผลที่ง่ามคีบได้
- รองเท้าด้านบนทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่น สามารถระบายอากาศได้ดี
- พื้นผิวด้านในของรองเท้าเรียบ มีความนิ่มและยืดหยุ่นและหนาพอ เข้ากับรูปฝ่าเท้าได้ เพื่อให้สามารถประคองเท้าได้ทุกส่วน
- พื้นด้านนอกรองเท้า มีความแข็งแรง ไม่หักงอและเสียรูปทรงง่าย
- ควรเลือกเป็นรองเท้าส้นเตี้ย เพื่อลดแรงกระทำต่อเท้าส่วนหน้า ไม่ควรเลือกเป็นรองเท้าส้นหมุดเพราะอาจทำให้เดินได้ไม่มั่นคง ข้อเท้าพลิกง่าย
- รองเท้าปรับขยายขนาดตามเท้าได้ เช่น มีเชือกผูก หรือมีแถบแปะ เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการเท้าบวม
- ปลอดภัย ไร้สารเคมี เพราะอาจทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนังของผู้ป่วยได้
รองเท้าเพื่อสุขภาพไคโฮซูกิช่วยทำให้การกระจายน้ำหนักของร่างกายจากปลายเท้าค่อยๆ กระจายไปทางด้านหน้าขณะก้าวเดิน
นอกจากลักษณะของรองเท้าที่เหมาะสมแล้ว ขนาดรองเท้าก็สำคัญเช่นกัน โดยวิธีเลือกขนาดรองเท้าที่เหมาะสม มีดังนี้
- วัดขนาดรองเท้าใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรยึดติดกับขนาดรองเท้าเดิม เนื่องจากเท้าของผู้ป่วยเบาหวานจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุที่มากขึ้น หรือตามการเปลี่ยนแปลงของกระดูกเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเวลาที่เหมาะสมในการวัดเท้าคือช่วงเย็นที่เท้ามีขนาดบวมเต็มที่แล้ว
- วัดในขณะที่ยืนลงน้ำหนัก และวัดทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากเท้าอาจไม่เท่ากัน ให้ลองใส่เดินหลายๆ รอบเพื่อดูรอยกดทับว่าเท้ามีรอยแดงหรือไม่
- ความยาวของรองเท้าควรเหลือพื้นที่ว่างจากนิ้วที่ยาวที่สุดโดยประมาณ 0.5 นิ้ว
- ความกว้างของรองเท้าต้องพอดีกับส่วนที่กว้างที่สุดของเท้า
- ความยาวของรองเท้าจากส้นเท้าถึงบริเวณที่กว้างที่สุดของเท้าต้องสัมพันธ์กับเท้า
- ด้านหลังของรองเท้าควรมีขนาดที่พอดี ไม่คับและไม่หลวม เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้
รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน KAIHO SHUGI
รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน รองเท้าเพื่อสุขภาพ KAIHO SHUGI ออกแบบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อและกระดูก อันดับ 1 ในญี่ปุ่น จากแนวคิด “การเดินเป็นพลังแห่งชีวิต” KAIHO SHUGI พัฒนารองเท้าที่รองรับน้ำหนักที่เสียไปตามวัยและจากการใส่รองเท้าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถเดินได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถูกต้องตามหลักสรีรวิทยา ทำให้การเดินกลับมาเป็นกิจกรรมที่มีความสุข
เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพเท้า เบาหวาน รองช้ำ ปวดเข่า หัวแม่เท้าโปน ฯลฯ และทุกท่านที่ใส่ใจในสุขภาพเท้าของคุณและของคนที่คุณรัก
พื้นรองเท้าผลิตจากยาง Ultra-light ผสม Expancel ช่วยลดแรงกดลงบนเท้า(ไม่กันน้ำ)
ป้องกันการสะดุด หกล้ม ใส่สบายเมื่อเท้าสัมผัสพื้นรองเท้า ก้าวเดินง่าย
แกะง่าย แปะง่าย เปิดออกได้กว้าง ทำให้สวมใส่และถอดได้อย่างง่ายดาย
ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการสวมรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- สวมถุงเท้าเสมอก่อนใส่รองเท้า และเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน
- ควรเลือกถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้าย ถุงเท้าที่ใส่ไม่ควรรัดแน่นจนเกินไป หากถุงเท้ามีตะเข็บควรกลับตะเข็บด้านในออกเพื่อไม่ให้ตะเข็บกดผิวหนังจนเป็นแผล
- ก่อนใส่รองเท้าให้เคาะรองเท้า และตรวจดูภายในรองเท้าก่อนทุกครั้ง
- หลังจากได้รองเท้าคู่ใหม่มา ในวันแรกให้ใส่เดิน ประมาณ 30 นาที แล้วสังเกตดูว่ามีรอยแดงหรือรอยถลอกไหม หากมีแสดงว่ารองเท้านั้นคับจนเกินไป หรือในกรณีที่รองเท้าไม่มีปัญหาอะไร ในวันที่ 2 ให้ใส่รองเท้าเดินเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาในการใช้งาน ทำแบบนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
- เป็นเบาหวานมานานมากกว่า 10 ปี และผู้ที่เป็นเบาหวานมากกว่า 25 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดแผลที่เท้าและต้องตัดขาสูงถึงร้อยละ 11
- เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
- มีโรคแทรกซ้อนทางตา หัวใจ ไต จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบ เลือดไปเลี้ยงเท้าได้น้อยลง ทำให้มีการเสื่อมของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงเท้า เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าสูง
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี หรือคุมระดับน้ำตาลเลือดไม่ได้
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลเพียง 990.- CLICK
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน
- ปลายประสาทอักเสบ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบของมีคม ทำให้เกิดแผลโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว
- แผลติดเชื้อ เกิดขึ้นได้แม้เป็นเพียงแผลเล็กๆ ที่เท้า เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยมีประวัติเคยเป็นแผลหรือถูกตัดขา ซึ่งอาจเกิดแผลซ้ำที่เดิมได้ภายใน 2-5 ปี
- เท้ามีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
วิธีป้องกันแผลเบาหวานที่เท้า
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- งดสูบบุหรี่เพราะมีผลต่อการหายของแผลที่เท้า
- กำจัดเนื้อตายและหนังหนาที่กดเนื้อเยื่อด้านล่าง
- ลดแรงกดที่เท้า เช่น จำกัดการยืน ใช้ไม้ค้ำยัน หรือการนั่งรถเข็น
- สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม หรือรองเท้าที่ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ เพราะรองเท้าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า และช่วยลดแรงกดทับที่อาจทำให้เกิดแผลได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้รองเท้าชนิดพิเศษที่ป้องกันไม่ให้เกิดแผล ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพเท้าที่ดี และเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกตัดขา
สรุป
ผู้ป่วยเบาหวานต้องได้รับการดูแลเท้าเป็นพิเศษ การสวมรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีคุณสมบัติช่วยลดแรงกดทับ แรงกระแทกและแรงดึงตัวบริเวณฝ่าเท้า จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพเท้าที่ดีขึ้น ช่วยรักษาแผลบริเวณเท้าได้ และลดความเสี่ยงในการถูกตัดขา ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้มากขึ้น
BED & MATTRESS PRODUCT
ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700