เสียค่าซ่อม “ที่นอนลมกันแผลกดทับ” ไปเท่าไหร่แล้ว? เปลี่ยนมาใช้ที่นอนโฟมดีกว่าไหม จ่ายแล้วจบ!

ที่นอนลมกันแผลกดทับ

         ผู้ดูแลท่านใดที่เลือกใช้ ที่นอนลมกันแผลกดทับ ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านอยู่ ก็คงทราบดีเลยว่า ที่นอนลมนั้นมักมีปัญหาจากการใช้งานตามมาเป็นประจำ โดยเฉพาะปัญหาอย่างลอนที่นอนรั่ว ปั๊มลมเสีย-ไม่ทำงาน ลอนไม่ขยับ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมแต่ละครั้งก็เสียหายไปหลายบาท จะดีกว่าไหม ถ้าคุณสามารถใช้ที่นอนกันแผลกดทับที่จ่ายแล้วจบได้ ไม่ต้องซ่อมหรือซื้อใหม่บ่อย ๆ ถ้าอยากรู้ล่ะก็ ต้องอ่านบทความนี้เลยค่ะ

สารบัญ

ที่นอนลมกันแผลกดทับ เสียค่าซ่อมเท่าไหร่? จ่ายแพงแค่ไหนถึงจะจบ?!

         ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อที่นอนลมกันแผลกดทับมาใช้ คุณจะต้องรู้ก่อนว่า ที่นอนลมนั้นมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้น โดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 ปีเท่านั้น หลังจากนี้ตัวที่นอนลมก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพ คุณจะเริ่มสังเกตเห็นลอนที่นอนรั่ว ตัวปั๊มลมก็จะทำหน้าที่ไม่ได้ดีเหมือนเคย ทำให้คุณต้องยกที่นอนลมไปให้ร้านซ่อมบ่อย ๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมนั้น ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ สามารถประมาณได้คร่าว ๆ ดังนี้

ที่นอนกันแผลกดทับ

ค่าซ่อมที่นอนลมกันแผลกดทับ (โดยประมาณ)

  • เปลี่ยนลอนที่นอนใหม่ 400 – 800 บาท/ลอน
  • ปั๊มลมเสีย ค่าซ่อมตามปัญหาที่เกิดกับจุดต่าง ๆ
    • เปลี่ยนลูกยางปั๊มลม 650 – 1,000 บาท/ชิ้น
    • เมนบอร์ดควบคุมปั๊มลม 2,000 – 3,000 บาท/ชิ้น
    • มอเตอร์ตั้งเวลาเปลี่ยนลอน 650 – 1,000 บาท/ชิ้น
    • ชุดสลับลอน 500 บาท/ชุด
    • หม้อแปลง 800 บาท/ชิ้น
    • เปลี่ยนปั๊มลมใหม่ยกเซต 3,000 – 4,000 บาท/เครื่อง
  • ตัวปรับแรงดันลมเสีย 500 บาท/ชิ้น
  • ชุดสายแรงดันลมเสีย 800 – 1,000 บาท/ชุด
  • สวิตช์เปิด-ปิดเสีย 200 – 900 บาท/ตัว (ขึ้นอยู่กับวัสดุ)
  • เปลี่ยนผืนที่นอนลมใหม่ 800 – 4,000 บาท/ผืน

ที่นอนลมกันแผลกดทับ

         จะเห็นได้ว่าค่าซ่อมที่นอนลมนั้นไม่ใช่ถูก ๆ เลยค่ะ อย่างปัญหาที่เจอบ่อยมากที่สุดคือ ลอนที่นอนรั่ว โดยพบปัญหาลอนรั่วเฉลี่ย 3-4 ลอนต่อปี คิดเฉพาะค่าซ่อมลอนอย่างเดียว ก็เสียไปเงินไปราว ๆ 1,600 – 3,200 บาทต่อปีเลยล่ะค่ะ ยิ่งใครที่ใช้ที่นอนลมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง อายุการใช้งานก็จะยิ่งสั้นลง โอกาสที่ที่นอนลมจะรั่วหรือเสียหายก็จะยิ่งมากขึ้น

         หลายคนพอต้องเสียค่าซ่อมที่นอนลมบ่อย ๆ ก็เลยตัดสินใจซื้อที่นอนลมกันแผลกดทับตัวใหม่ไปเลย ซึ่งซื้อใหม่ทีก็เสียเงินอยู่ที่ราว ๆ 4,000 – 8,000 บาท ถ้าต้องซื้อใหม่ทุก ๆ 1-2 ปี บอกเลยว่า เสียเงินเยอะไม่แพ้ค่าซ่อมแน่นอน ดังนั้น ใครที่คิดจะซื้อที่นอนลมเพราะราคาถูก ต้องหันมาคิดใหม่เลยค่ะ

ที่นอนลมกันแผลกดทับเสียบ่อย ๆ จะเกิดผลร้ายอย่างไร?

  • ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย จากกระแสไฟฟ้าที่อาจรั่วไหล หรือจากการการทำงานที่ผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยช็อกหมดสติ หรือเกิดการบาดเจ็บจนถึงแก่ชีวิตได้
  • หากที่นอนเสียแล้วไม่รีบซ่อม หรืออยู่ในระหว่างที่ทำการซ่อม (ใช้เวลาราว ๆ 2 – 4 วัน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับอาการเสีย) อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับในช่วงนั้น รวมทั้งแผลกดทับเดิมที่เป็นอยู่แล้ว อาจรุนแรงขึ้นจนลุกลามได้
รักษาแผลกดทับ ต้องใช้เงินเท่าไหร่? ที่นอนกันแผลกดทับ ใช้ได้จริงไหม? เช็กเลย!

เทียบให้เห็นชัด ๆ ซื้อ ที่นอนลมกันแผลกดทับ ประหยัดกว่าซื้อที่นอนโฟมจริงเหรอ?

         เมื่อได้รู้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมที่นอนลมกันแผลกดทับไปแล้วคร่าว ๆ หลายคนอาจจะยังไม่เห็นภาพว่า การที่เสียเงินไปกับค่าซ่อมนั้น แพงกว่าการซื้อที่นอนโฟมกันแผลกดทับอย่างไร? เพราะอาจคิดไปว่า ที่นอนลมนั้น มีราคาถูกกว่าที่นอนโฟม ต่อให้เสียค่าซ่อมไปก็อาจจะแพงน้อยกว่า ถ้าอย่างนั้น เรามาเทียบดูให้เห็นกันชัด ๆ เลยว่า ที่นอนกันลม หรือที่นอนโฟมกันแผลกดทับ แบบไหนคุ้มค่าและประหยัดกว่ากัน!

         โดยเราจะนำราคาที่นอนและค่าบำรุงรักษามาเปรียบเทียบกัน ในที่นี้ค่าบำรุงรักษาของที่นอนลม จะนำปัญหาที่ผู้ใช้ที่นอนลมกันแผลกดทับทุกคนต้องเจอคือ ปัญหาลอนรั่ว/เสีย มาเปรียบเทียบเท่านั้น ยังไม่รวมปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเจอแตกต่างกันออกไป เช่น ปั๊มลมเสีย ตัวปรับแรงดันลมมีปัญหา หม้อแปลงพัง ฯลฯ โดยตารางต่อไปนี้จะเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายตลอด 8 ปี ตามอายุการใช้งานของที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

ค่าใช้จ่ายในการใช้ที่นอนลมกันแผลกดทับ VS ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ

ที่นอนลมกันแผลกดทับ ซ่อม

         จะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับที่นอนลมกันแผลกดทับนั้นมากกว่าที่นอนโฟมเยอะเลยค่ะ เนื่องจากที่นอนลมมีอายุการใช้งานที่น้อย แค่เพียง 1-2 ปีเท่านั้น ทำให้ต้องเสียเงินซ่อมเงินและซื้อใหม่บ่อย ๆ นี่ยังไม่รวมค่าไฟที่ต้องใช้ในการทำงานอีกนะคะ ในขณะที่ที่นอนโฟมนั้นใช้ได้ยาว ๆ ถึง 8 ปี โดยไม่มีค่าบำรุงรักษา ไม่มีค่าไฟ แม้จะราคาในตอนซื้อจะแพงกว่า แต่เทียบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาแล้ว ถือว่าคุ้มค่ากว่าที่นอนลมมากเลยค่ะ

ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

หมดปัญหาเรื่องซ่อม หันมาใช้ “ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ”สิ จ่ายแล้วจบ!

         แม้ที่นอนลมกันแผลกดทับนั้นจะมีราคาถูก แต่ค่าใช้จ่ายหลังจากใช้ไปนั้น บอกเลยว่าแพงกว่าการเสียเงินซื้อที่นอนกันแผลกดทับดี ๆ สักตัวอีกค่ะ ถึงตรงนี้ ใครที่เห็นข้อเสียของที่นอนลมกันแผลกดทับ แล้วไม่อยากจะมาเสียเงินค่าซ่อม เสียเวลาซื้อใหม่บ่อย ๆ หรือไม่อยากจะให้ผู้ป่วยต้องมาเสี่ยงอันตราย เราก็มีตัวเลือกดี ๆ มานำเสนอค่ะ

ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ

         ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury จาก ALLWELL ตัวเลือกที่จะช่วยดูแลและป้องกันแผลกดทับของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียค่าซ่อม ไม่ส่งเสียงดังรบกวน ลดเวลาการพลิกตัว แถมยังใช้ได้อย่างยาวนานถึง 8 ปี ไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่บ่อย ๆ ให้คุณจ่ายครั้งเดียวแล้วจบเลยค่ะ

ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ Mercury ดีอย่างไร?

  • ออกแบบมาเพื่อดูแลและป้องกันแผลกดทับโดยเฉพาะ ด้วยตัวเนื้อโฟมที่เป็นร่องแบบ Castellated Cut ขนาดของร่องโฟมทั้งเล็กและใหญ่ ที่จะช่วยกระจายแรงกดทับได้อย่างดีเยี่ยม สอดคล้องกับน้ำหนักในแต่ละส่วนของผู้ป่วย ลดแรงเสียดสี และแรงเฉือน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลกดทับได้

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

  • ลดภาระผู้ดูแล ให้พลิกตัวผู้ป่วยน้อยกว่าที่นอนกันแผลกดทับทั่วไป จากปกติที่ต้องพลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง แต่ที่นอนโฟมกันแผลกดทับ รุ่น Mercury สามารถเปลี่ยนให้ผู้ดูแลพลิกตัวผู้ป่วยทุก 4 ชั่วโมงได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่เกิดแผลกดทับ
  • ไม่ต้องเสียค่าซ่อมและค่าบำรุงรักษา รวมทั้งไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้เยอะ แถมยังไม่มีปั๊มลมที่คอยส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย ทำให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่เลยค่ะ
  • ผ่านการทดสอบแรงกดทับบนเนื้อโฟม โดยใช้น้ำหนักกดทับลงบนเนื้อโฟม ลงไป 40% จากความสูงเดิม (เปรียบเสมือนมีคนนอน) และกดทับเนื้อโฟมซ้ำๆ เป็นจำนวน 80,000 ครั้ง (เทียบกับการใช้งาน 8 ปี) ผลทดสอบปรากฏว่า เนื้อโฟมคืนรูปกลับเป็นปกติได้ จึงสามารถการันตีได้ว่า ที่นอนโฟม Mercury มีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้มากถึง 8 ปีแน่นอน
  • มาพร้อมผ้าคลุมทำจาก Polyurethane ที่สามารถกันน้ำได้ 100% กันของเหลวซึมผ่านลงบนที่นอน ทั้งยังทำความสะอาดได้ง่าย และระบายความอับชื้นได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องใช้ผ้ายางกันเปื้อนปูทับเลยค่ะ (ไม่ว่าจะใช้ที่นอนกันแผลกดทับแบบไหน ก็ไม่ควรใช้ผ้ารองกันเปื้อน เพราะเป็นสามารถหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลกดทับ)
  • ผ่านมาตรฐาน BS 7175: 1989 หรือมาตรฐานป้องกันการลุกลามของไฟ ทั้งในส่วนของผ้าคลุมทั้ง 2 ด้าน และเนื้อโฟม กรณีเกิดอัคคีภัยไม่คาดคิดจากชีวิตประจำวัน เช่น ธูปจากการไหว้พระ ประกายไฟจากการทำงานขัดข้องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ฯลฯ ให้มั่นใจได้เลยว่า ไฟเหล่านั้นจะไม่ลุกลามจนสร้างอันตรายให้กับผู้ป่วยได้ค่ะ
  • ตัวที่นอนนุ่ม นอนสบายกว่าที่นอนลม สามารถดูแลแผลกดทับได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการขยับลอน ผู้ป่วยจึงนอนหลับได้อย่างเต็มอิ่ม เมื่อผู้ป่วยไม่ใช้แล้ว ผู้ดูแลก็สามารถใช้ในการดูแลสุขภาพได้
  • ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกประเภท ในขณะที่ที่นอนลมนั้นมีข้อจำกัดไม่สามารใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีแผลเปิด ผู้ป่วยกระดูกสันหลังหัก ผู้ป่วยที่มีการแตกหักของกระดูก ผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ เนื่องจากการขยับของลอนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

แผลกดทับ ที่นอนกันแผลกดทับ

สนใจ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รุ่น Mercury คลิกเลย!

สรุป

         ที่นอนลมกันแผลกดทับ แม้จะมีราคาที่ถูกกว่าที่นอนโฟม แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะตามมาแล้ว ถือว่าแพงกว่ามากเลยค่ะ หรือใครที่กำลังตัดสินใจซื้อที่นอนลม เพราะเข้าใจว่า การสลับยุบพองของที่นอนจะช่วยแบ่งเบาภาระให้ผู้ดูแลไม่ต้องพลิกตัว บอกเลยว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ จำไว้เสมอว่า ไม่ว่าจะใช้ที่นอนอะไรก็ต้องพลิกตัวผู้ป่วยอยู่ดีค่ะ ดังนั้น ถ้าอยากจ่ายแล้วจบ หันมาใช้ที่นอนโฟมกันแผลกดทับดีกว่านะคะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup