ไทรอยด์เป็นพิษ อาการเป็นยังไง? มาดู 7 วิธีตรวจด้วยตัวเองเบื้องต้นกัน!

ไทรอยด์เป็นพิษ อาการ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         อาการไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยแต่ละคนจะแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดมาจากปฏิกิริยาของอวัยวะในร่างกาย ได้กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้มีการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความจำเป็น จนส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติได้ มาดูกันว่า ไทรอยด์เป็นพิษ อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน และมีวิธีการตรวจเช็กอาการเบื้องต้นด้วยตนเองอย่างไรได้บ้างค่ะ

สารบัญ

รู้ทันรักษาหาย! ไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากสาเหตุอะไร?

       สาเหตุของการเกิดโรค ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจาก มีเหตุปัจจัยหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดการกระตุ้นอาการไทรอยด์เป็นพิษได้ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีสาเหตุของโรคที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่ จะพบมาจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้

ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจาก

  • ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนมากเกินปกติ
  • มีเนื้องอกที่อยู่ในบริเวณของต่อมใต้สมอง จึงเกิดการกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ แต่สาเหตุนี้ไม่ค่อยพบมากเท่าไหร่
  • อาจจะเกิดจากการทานยาบางชนิดที่เกิดอาการแพ้ได้
  • มีการอักเสบบริเวณต่อมไทรอยด์ จึงทำให้มีการผลิตฮอร์โมนออกมาเป็นจำนวนมาก
  • เกิดจากการแพ้ท้องในหญิงตั้งครรภ์บางราย
เตือน! เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยร้ายที่คุณแม่ทุกคนควรระวัง เสี่ยงอันตรายทั้งแม่และลูก!!!

เช็กด่วน! ไทรอยด์เป็นพิษ อาการเป็นอย่างไร?

        ในแต่ละบุคคลจะมีลักษณะไทรอยด์เป็นพิษ อาการที่จะแสดงให้เห็นไม่เหมือนกัน บางรายอาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นเลย บางรายอาจจะแสดงอาการได้ชัดเจนและเป็นรุนแรงมากจนถึงขั้นวิกฤตได้ เนื่องจากฮอร์โมนได้รับการกระตุ้นจากการทำงานของร่างกายหลายระบบพร้อมกัน โดยอาการที่พบส่วนใหญ่ มีดังต่อไปนี้

ไทรอยด์เป็นพิษ อาการ

  • มีความรู้สึกที่สัมผัสได้ถึงอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วมากขึ้นกว่าปกติ
  • เกิดอาการใจสั่น รวมไปถึงอวัยวะบางส่วน เช่น มือ ขา ก็อาจมีอาการสั่นด้วย
  • อารมณ์หงุดหงิดง่ายขึ้น
  • เหงื่อขับออกมาทางผิวหนังมากยิ่ง ผิวชื้น ผมร่วง ศีรษะล้าน ผิวหนังมีบริเวณหน้าแข้งที่หนาขึ้น
  • ผู้หญิงอาจจะมีประจำเดือนมาผิดปกติ กะปริบกะปรอย ประจำเดือนขาด ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากแทรกซ้อน
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย ท้องผูกน้ำหนักลดลง
  • ร่างกายอ่อนเพลียและขาสองข้างอ่อนแรง
  • ขี้ร้อนง่าย ส่งผลต่อร่างกายที่ทำให้เหงื่อออกเยอะ
เครื่องวัดความดัน

7 วิธีตรวจไทรอยด์เป็นพิษ เบื้องต้นด้วยตนเอง

         การรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ทัน จะต้องมีความรู้ในการสังเกต และตรวจเช็กตัวเองอยู่เสมอว่ามีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่ โดยมีวิธีการตรวจเบื้องต้นดังนี้

อาการไทรอยด์

  1. ยืนหน้ากระจกเพื่อให้กระจกได้สะท้อนเห็นภาพบริเวณหน้าลำคอได้
  2. เบี่ยงศีรษะไปทางด้านหลังเล็กน้อย ค่อยๆ แหงนศีรษะไปทางด้านหลัง
  3. ให้มองไปยังเพดานเล็กน้อยเพื่อยืดลำคอให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
  4. ดื่มน้ำและกลืนน้ำลงไปหรือกลืนน้ำลายตัวเอง
  5. ขณะที่แหงนไปทางด้านหลัง ให้มองหาก้อนขณะที่กลืนน้ำ ดูว่ามีก้อนนูนๆ ยื่นออกมาบริเวณด้านหน้าลำคอส่วนล่างหรือไม่
  6. โดยก้อนนูนนี้อาจอยู่บริเวณกึ่งกลางหรือค่อนไปขวาซ้ายได้เล็กน้อย
  7. คลำก้อนนั้นดู โดยการเลื่อนนิ้วของคุณลงมาตามลำคอ ซึ่งคุณจะเจอกับกระดูกอ่อนไทรอยด์ หรือลูกกระเดือกเป็นลำดับแรก จากลูกกระเดือกลากตรงลงมา ต่อมไทรอยด์จะอยู่ตรงกลาง หากคุณพบก้อนนูนหรือรู้สึกถึงความผิดปกติอื่นในบริเวณนี้ คุณควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว หากมีลักษณะต่อมไทรอยด์เป็นพิษจะสามารถรักษาได้ทันและอาการไม่รุนแรง

ไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายแค่ไหน!

       โดยปกติโรคไทรอยด์มีอาการในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับการพบอาการเบื้องต้นของไทรอยด์ที่เป็นแบบขั้นธรรมดาที่ยังรักษาหายได้นปกติ จนถึงขั้นอันตราย ที่อาจจะพบในระยะสุดท้าย โดยส่งผลต่ออาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดทำให้มีผลกระทบในอวัยวะของหัวใจที่อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหัวใจวายได้

       ซึ่งสาเหตุจะเกิดจากการมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติ ดังนั้นเมื่อพบว่ามีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจจะทำให้พบกับสภาวะขาดน้ำ และอาจช็อคได้ แต่เมื่อพบสาเหตุเบื้องต้นของการเป็น ไทรอยด์เป็นพิษ การรักษาก็จะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยนี้พัฒนามากขึ้น จึงมีตัวยาสามารถที่จะรักษาด้วยการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติ

ไทรอยด์เป็นพิษ อาการ

       รวมไปถึงวิธีการผ่าตัด และวิธีการรักษาอื่นๆ ที่มีให้เลือกมากมาย ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยการรักษาจากแพทย์ประจำตัวของผู้ป่วย แพทย์ที่จะเป็นผู้พิจารณาในการรักษาวิธีที่เหมาะสมของไทรอยด์เป็นพิษ อาการ ผู้ป่วยแต่ละราย

       โดยวิธีการดูแลเบื้องต้น จะต้องรับประทานยาสม่ำเสมอไม่หยุดยาเอง งดสูบบุหรี่ และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไอโอดีนสูง วางแผนการคุมกำเนิดอย่างจริงจัง และไม่ควรตั้งครรภ์ขณะที่มีอาการของไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดกับแม่และทารก หากมีอาการผิดปกติหรือมีอาการกำเริบต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

สรุป

         ทั้งนี้การตรวจเช็กสุขภาพ ความเสี่ยงที่จะเป็น ไทรอยด์เป็นพิษ อาการบางอย่าง ก็สามารถเช็กได้ด้วยตัวเราเองในเบื้องต้น หากมีอาการที่น่าสงสัย ก็สามารถที่จะรีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาวิธีการรักษาในขั้นตอนต่อไป โดยผู้ป่วยไม่ต้องกังวลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถที่จะช่วยรักษาให้หายเป็นปกติได้ และวิธีการรักษาก็มีหลากหลายวิธีที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเลย

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup