โรคแพนิคคือ อะไร และเมื่ออาการกำเริบส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยจริงหรือไม่

โรคแพนิค

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         โรคแพนิคคือ อะไร ทางการแพทย์ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคแพนิคว่าเป็นภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ไม่มีสามารถอธิบายเหตุผลได้ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และอาจส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

โรคแพนิค

สารบัญเนื้อหา

  1. โรคแพนิคคือ ?
  2. อาการแพนิคคือ ?
  3. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแพนิค
  4. การรักษาโรคแพนิค
  5. อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิคควรหลีกเลี่ยง

โรคแพนิคคือ ?

            หลายคนคงตั้งคำถามว่าจริง ๆ แล้ว โรคแพนิค คือ อะไร และเป็นโรคเดียวกันกับโรควิตกกังวลหรือไม่ วันนี้ Allwell จึงอยากมาไขข้อข้องใจว่า โรคแพนิค เป็นโรคที่เกิดจากความกังวลที่ไม่มีสาเหตุ ซึ่งจะแตกต่างจากโรควิตกกังวลที่จะมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น งาน ครอบครัว สุขภาพ เป็นต้น

            โรควิตกกังวลจะไม่แสดงอาการทางร่างกาย เป็นความเจ็บป่วยทางใจ ซึ่งต่างจากโรคแพนิคที่เมื่ออาการแพนิคกำเริบ ก็จะมีอาการทางกายแสดงออกมา เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ร้อนวูบวาบ เป็นต้น

            โรคแพนิค เป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาทั้งจากทางร่างกาย เช่น กรรมพันธุ์ การใช้สารเสพติด หรือความผิดปกติของฮอร์โมน

            ส่วนทางจิตใจก็อาจมีสาเหตุมาจากการผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียสมดุลของสารเคมีในสมองได้ โดยเฉพาะในวัยเด็กที่มีโอกาสเป็นโรคแพนิคได้มากกว่า  เช่น  ถูกทอดทิ้ง  ถูกทำร้ายร่างกาย  ถูกข่มขืน  เป็นต้น

อาการ

อาการแพนิคคือ?

            โรคแพนิค คือ อาการตื่นตระหนกโดยไม่มีสาเหตุ ในผู้ป่วยทั่วไปเมื่อเกิดอาการแพนิค จะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นกะทันหันและยังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นอาการที่มีความรุนแรงมากกว่าความรู้สึกเครียด หรืออาการหวาดกลัวทั่วไป มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลา 10-20 นาที หรือในบางรายอาจเกิดอาการแพนิคนานเป็นชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้

1.ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

2.หายใจไม่ออก หายใจติดขัดรู้สึกเหมือนขาดอากาศ

3.หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนทำให้ร่างกายขยับไม่ได้

4.เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้

5.มือสั่น หรือตัวสั่น รวมทั้งมีเหงื่อออกตามร่างกาย

6.รู้สึกหอบและเจ็บหน้าอก

7.รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน

8.เกิดอาการเหน็บที่นิ้วมือหรือเท้า

9.วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าตนเองจะเสียชีวิต

10.กังวลว่าจะมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้น

11.หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์อันตรายที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต

12.รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆในชีวิตได้ รวมทั้งกลัวว่าตัวเองจะเป็นบ้าหรือเสียสติ

เครื่องวัดความดัน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแพนิค

           โรคแพนิคคือโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่างอย่างรุนแรง เพราะกลัวว่าจะเกิดอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงอีกครั้ง เช่น หากเคยมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงในลิฟต์ หรือเคยเกิดอุบัติเหตุในลิฟต์มาก่อน ก็อาจทำให้มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ และเกิดอาการกลัวลิฟต์เกิดขึ้นในภายหลัง  

 

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคแพนิคส่วนมากมักมีอาการของโรคกลัวที่ชุมชนร่วมด้วย ส่งผลให้ไม่กล้าไปไหนมาไหนคนเดียว กลัวการเดินทางคนเดียว กลัวสถานที่บางแห่ง หรือกลัวสถานการณ์ที่หลีกหนีจากผู้คนได้ยาก ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นคนที่เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านหรืออยู่แต่ในอาคารตลอดเวลา ซึ่งโรคแพนิคนอกจากจะส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่ส่งผลเสียโดยตรงต่อตัวผู้ป่วยเช่นกัน ได้แก่

  1. มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล และมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารายอื่นๆ
  2. มีอาการติดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด
  3. เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยารักษาโรค
  4. มีปัญหาทางการเงิน เนื่องจากต้องจ่ายค่ารักษา
  5. ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก
  6. มีปัญหากับที่ทำงานหรือกับทางโรงเรียน หรือกับคนรอบข้าง

การรักษา

การรักษาโรคแพนิค

            โรคแพนิคคือโรคที่สามารถรักษาได้ และถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะมีอาการแพนิคน้อยลงและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การรักษาโรคแพนิคประกอบด้วยจิตบำบัดและการรักษาด้วยยา โดยการรักษาแต่ละวิธีนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วย ประวัติการรักษา ความรุนแรงของโรค และความพร้อมในการเข้ารับการรักษา ซึ่งวิธีรักษาโรคแพนิคมีรายละเอียด ดังนี้

1.การรักษาด้วยจิตบำบัด

           วิธีนี้ช่วยรักษาอาการแพนิคและโรคแพนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ป่วยจะเข้าใจอาการแพนิคและโรคแพนิคมากขึ้น รวมทั้งเรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับอาการป่วยของตนเอง วิธีจิตบำบัดที่ใช้รักษาโรคแพนิคคือการบำบัดความคิดและพฤติกรรม  ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ว่าอาการแพนิคที่เกิดขึ้นไม่ได้อันตรายแต่อย่างใด

           ซึ่งการบำบัดพฤติกรรมนอกจากจะช่วยผู้ป่วยรับมือกับอาการแพนิคได้แล้วยังช่วยรักษาพฤติกรรมหลีกเลี่ยงสถานที่หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ป่วยคาดว่าทำให้เกิดอาการแพนิคได้อีกด้วย

 

 

2.การรักษาด้วยยา

          ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและความบกพร่องเกี่ยวกับสารสื่อประสาทในสมอง ผู้ป่วยจึงต้องอาศัยการรักษาด้วยยาเพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เป็นปกติ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบขึ้นมาได้

          โดยยาที่ใช้รักษาอาการดังกล่าวประกอบด้วยยาต้านซึมเศร้า กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) และยากันชัก ซึ่งผู้ป่วยที่รักษาโดยการใช้ยาจะอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังการรักษาประมาณ 6-8 สัปดาห์ และการใช้ยาจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งการรักษาด้วยยานั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรคด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิคควรหลีกเลี่ยง

        โรคแพนิคคือโรคทางจิตใจซึ่งอาจจะไม่ได้มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารที่เคร่งครัดเหมือนกับโรคอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถทานอาหารได้ทุกประเภท เพราะในอาหารบางประเภทก็ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคแพนิคเลย เพราะอาจจะไปกระตุ้นสารในสมองให้เกิดความวิตกกังวล และทำให้อาการของโรคแพนิคกำเริบได้ ซึ่งมีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคแพนิคจะไวต่ออาหารเหล่านี้มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาหารที่ผู้ป่วยแพนิคควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

อาหาร

1.กาแฟ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหลาย การได้รับคาเฟอีนอาจทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย และอาจทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิคมีอาการกำเริบขึ้นได้

อาหาร

2.แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นก็คือ ความวิตกกังวล กระสับกระส่าย และนอนไม่หลับมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก

อาหาร

3.ลูกอมขนมหวาน อาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียหลังจากรับประทานได้ เนื่องจากของหวานจะไปเพิ่มน้ำตาลในเลือด ร่างกายจึงต้องปล่อยอินซูลินออกมา เพื่อปรับระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นภาวะน้ำตาลต่ำจนทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและกระตุ้นให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงในที่สุด

อาหาร

4.อาหารแปรรูปและครีมเทียม เช่น ไส้กรอก เค้ก อาหารทอด และอาหารมันๆ ทั้งหลาย ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้เช่นกัน

สรุป

          โรคแพนิคคืออาการป่วยทางจิตใจที่อาจจะไม่ได้สร้างอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็นับว่าส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยอาจกลัวการเข้าสังคม รวมไปถึงอาการแพนิคจะไปลดความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ไม่กล้าออกไปไหน และถ้าอาการรุนแรงก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตอื่นๆได้อีกเช่นกัน

 

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup