โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ระบาดแพร่กระจายได้ง่าย มีลักษณะเป็นผื่นแดงคันทั่วร่างกายพร้อมตุ่มใส ตุ่มหนองขนาดเล็กที่กระจายเต็มตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง แม้ว่าโรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็ต้องระวังการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ในบทความนี้ เรารวบรวมสัญญาณเตือน อาการอีสุกอีใสทางกายภาพและพฤติกรรมของโรคอีสุกอีใส ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
สารบัญ
สัญญาณเตือนโรคอีสุกอีใส
สัญญาณเตือนโรคอีสุกอีใส มีดังนี้
- ลักษณะเป็นผื่นแดงคันทั่วตัว ผื่นนี้มักเริ่มขึ้นที่ใบหน้า หน้าอก และหลัง ก่อนจะลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
- ผื่นมักมาพร้อมกับการพัฒนาของตุ่มน้ำเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยของเหลว ซึ่งในที่สุดจะแตกออกและก่อตัวเป็นเปลือกแข็ง
- แผลพุพองเหล่านี้สำหรับบางท่านอาจจะมีอาการคันและไม่สบายตัวอย่างมาก
- นอกจากผื่นและตุ่มน้ำแล้ว ผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสอาจมีอาการทางร่างกายอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาจรวมถึงมีไข้ ปวดศีรษะ และรู้สึกไม่สบายทั่วไป ไข้มักไม่รุนแรงถึงปานกลาง แต่สามารถคงอยู่ได้หลายวัน
- อาการปวดศีรษะอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อไวรัส และบุคคลทั่วไปอาจมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและปวด
อีสุกอีใสเกิดจากอะไร
โรคอีสุกอีใส เกิดจากไวรัส varicella-zoster (VZV) ซึ่งเป็นสมาชิกของตระกูลไวรัสเริม ไวรัสนี้ติดต่อได้ง่ายและสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่ายผ่านทางละอองทางเดินหายใจหรือการสัมผัสโดยตรงกับของเหลวจากแผลพุพอง เมื่อคนติดเชื้อไวรัส มันจะเข้าสู่ร่างกายทางทางเดินหายใจและแพร่พันธุ์ในต่อมน้ำเหลือง จากนั้นจะกระจายไปตามกระแสเลือดและไปถึงผิวหนังในที่สุด ทำให้เกิดผื่นและตุ่มน้ำที่มีลักษณะเฉพาะ
อีสุกอีใส เกิดจาก การแพร่เชื้อ VZV มีประสิทธิภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายโดยบุคคลที่อยู่ในระยะแรกของการติดเชื้อและอาจยังไม่แสดงอาการใดๆ สิ่งนี้ทำให้ยากต่อการป้องกันการแพร่กระจายของโรคอีสุกอีใสเนื่องจากผู้ติดเชื้ออาจทำให้ผู้อื่นได้รับเชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้ ไวรัสสามารถอยู่รอดบนพื้นผิวได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อน
กลุ่มเสี่ยงโรคอีกสุกอีใส มีใครบ้าง?
อีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็ก อีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ง่าย ผู้ที่ยังไม่เป็นโรคนี้หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำจะยิ่งติดต่อได้ง่ายและกลุ่มคนที่มีการสัมผัสหรือหายใจร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นอีสุกอีใสก็จะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงได้ง่ายขึ้นนั้นเอง
กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นอีสุกอีใส มีดังนี้
- ทารกแรกเกิด จากมารดาไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส กลุ่มมารดาที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน
- วัยรุ่นและผู้ใหญ่ ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
- หญิงตั้งครรภ์ ที่ไม่มีประวัตเป็นอีสุกอีใส
- กลุ่มคนที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่กำลังรับเคมีบำบัด ผู้มีโรคประจำตัว เช่น มะเร็ง หรือติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ ที่ใช้สำหรับรักษาโรคหอบหืด
อีสุกอีใสเป็นแล้วจะไม่เป็นอีกจริงไหม
โรคอีสุกอีใสเป็นโรคระบาดที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หลายคนอาจจะคิดว่า หากว่าเป็นอีสุกอีใสตอนเด็กแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก ต้องบอกเลยว่าเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะว่าการเป็นอีกสุกอีกใส ต่อให้เคยเป็นไปแล้วก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นได้อีกครั้งการบทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจอาการของโรคอีสุกอีใสกัน
ท่านจำเป็นจะต้องได้รับการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน จึงจะสามารถจัดการกับการติดเชื้อไวรัสนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฉีดวัคซีนยังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรค ตุ่มอีสุกอีใส และลดผลกระทบในระยะยาว สามารถช่วยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย
เป็นอีสุกอีใส อันตรายถึงตายไหม?
หลายๆคนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจถึงความอันตรายของการเป็นโรคอีสุกอีใส เพราะแท้จริงแล้ว การที่ทุกท่านเป็นโรคอีสุกอีใส แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และมีการรับมือกับโรคนี้ที่อาจจะกลับมาในอนาคต หากเหล่าผู้ป่วยปล่อยปะละเลย และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา อาจจะอันตรายถึงชีวิตหากว่ามีภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่น
ภาวะแทรกซ้อน
วิธีรักษาอีสุกอีใส หายเร็วที่สุด
เราทราบกันแล้วว่าอีสุกอีใส เมื่อเป็นแล้วจะมีผื่นคัน ตุ่มใส ขึ้นตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง แต่ไม่ต้องเป็นกังวลเพราะสามารถรักษาให้หายได้ แต่บอกก่อนเลยว่า วิธีรักษาอีสุกอีใสให้หายเร็วที่สุด อาจจะไม่มี แต่ก็มีทางเลือกในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งเพื่อบรรเทาอาการคันจากโรคอีสุกอีใสอีกด้วย
วิธีการรักษาโรคอีสุกอีใส
- การรักษาสุขอนามัยด้วย การล้างมือเป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่เชื้ออีสุกอีใสได้
- ถ้ามีอาการไข้ให้เช็ดตัว กินยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามกินยาแอสไพรินเพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้
- หากมีอาการคันที่ผิวหนังอาจทายาแก้คัน เช่น คารามาย หรือกินยาต้านฮิสตามีน บรรเทาอาการคัน
- ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และหลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาตุ่มที่คัน เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้
- แยกผู้ป่วยออกจากบุคคลอื่นจนพ้นระยะติดต่อ รวมทั้งแยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น เสื้อผ้า แก้วน้ำ ช้อน จาน ชาม เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค
สรุป
หากใครที่กำลังเป็น หรือมีคนในครอบครัวเป็นอีสุกอีใสอยู่ล่ะก็ สิ่งสำคัญคือต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที กุญแจสำคัญในการป้องกันโรคอีสุกอีใสที่ดีที่สุด คือการฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะสมัยนี้อีสุกอีใสไม่จำเป็นต้องเป็นทุกคนตามความเชื่อคนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้น ถ้าไม่อยากเป็นอีสุกอีใส หรือมีอาการรุนแรงเมื่อเป็น แนะนำให้ฉีควัคซีนป้องกันจะดีที่สุดนะคะ