อย่าหาทำ! “ตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา” ผลขึ้น 2 ขีด ไม่ได้แปลว่าน้ำมีโควิด-ชุดตรวจเสีย แต่เกิดจากการใช้งานผิดประเภท!

ตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา

          เกิดประเด็นร้อนในโลกโซเชียล หลังมีกระแส ตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา แล้วพบผลขึ้น 2 ขีดหรือผลเป็นบวก สร้างความหวาดระแวงให้หลายคน เพราะกลัวว่าในน้ำประปาอาจมีเชื้อโควิดปนเปื้อน จนไม่กล้ากินกล้าใช้ หรือบางคนก็ด่วนตัดสินไปว่า ชุดตรวจนั้นเสียหรือไม่แม่นยำ ซึ่งแพทย์ได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับประเด็นนี้แล้วว่า การที่ชุดตรวจขึ้น 2 ขีดนั้น เป็นการใช้งานผิดประเภท แต่จะเพราะอะไรนั้น มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

สารบัญ

สินค้า COVID ลดราคา สั่งซื้อผ่านไลน์ คลิก

ตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา ขึ้น 2 ขีด (ผลบวก) เกิดจากอะไร?

         สำหรับประเด็นที่มีการตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา แล้วผลบวกปรากฏ ทำให้หลายคนไม่กล้าใช้น้ำประปาเพราะกลัวมีเชื้อโควิด-19 ปนเปื้อน หรือเข้าใจว่าชุดตรวจนั้น ๆ มีความไม่แม่นยำ จากประเด็นนี้แพทย์หลายคนได้ออกมาให้ข้อมูลว่า การตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา แล้วพบผลบวกนั้น เป็นเรื่องปกติที่อาจเจอได้ ซึ่งผลบวกที่พบเป็นผลบวกปลอมหรือผลลวง อันเนื่องมาจากการใช้งานผิดประเภท

ตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา

         ทำความเข้าใจก่อนว่า ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit หรือที่นิยมเรียกกันว่า ATK เป็นชุดตรวจที่ถูกออกแบบมาให้ตรวจกับสารคัดหลั่งในโพรงจมูก ลำคอ หรือน้ำลายเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับการใช้งานชุดตรวจแต่ละยี่ห้อ) ซึ่งในขั้นตอนการทดสอบ จะมีของเหลวสำหรับทดสอบที่แถมมาในชุดตรวจ ที่เรียกว่า สารละลายบัฟเฟอร์ (Buffer Solution) มีลักษณะเป็นของเหลวใส ๆ คล้ายน้ำ

         สารละลายบัฟเฟอร์ เป็นสารสารละลายที่ต้านทานการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ซึ่งประกอบด้วยกรดอ่อนหรือด่างร่วมกับเกลือชนิดหนึ่ง และสารประกอบอินทรีย์ขนาดเล็กที่เรียกว่าทริซีน (tricine) โดยสารละลายบัฟเฟอร์นี้ จะทำงานโดยการป้องกันไม่ให้แอนติบอดี้จับกัน ยกเว้นให้จับเฉพาะเชื้อโควิดเท่านั้น

ทำความเข้าใจก่อนว่า ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit หรือที่นิยมเรียกกันว่า ATK เป็นชุดตรวจที่ถูกออกแบบมาให้ตรวจกับสารคัดหลั่งในโพรงจมูก ลำคอ หรือน้ำลายเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับการใช้งานชุดตรวจแต่ละยี่ห้อ) ซึ่งในขั้นตอนการทดสอบ จะมีของเหลวสำหรับทดสอบที่แถมมาในชุดตรวจ ที่เรียกว่า สารละลายบัฟเฟอร์ (Buffer Solution) มีลักษณะเป็นของเหลวใส ๆ คล้ายน้ำ สารละลายบัฟเฟอร์ เป็นสารสารละลายที่ต้านทานการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ซึ่งประกอบด้วยกรดอ่อนหรือด่างร่วมกับเกลือชนิดหนึ่ง และสารประกอบอินทรีย์ขนาดเล็กที่เรียกว่าทริซีน (tricine) โดยสารละลายบัฟเฟอร์นี้ จะทำงานโดยการป้องกันไม่ให้แอนติบอดี้จับกัน ยกเว้นให้จับเฉพาะเชื้อโควิดเท่านั้น

ในน้ำประปา มีค่า pH ที่แตกต่างกับค่า pH ของสารละลายบัฟเฟอร์ที่ชุดตรวจกำหนดมา เมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง ทำให้มีโอกาสที่จะแสดง 2 ขีดได้ แม้ในน้ำจะไม่มีเชื้อโควิด-19 ก็ตาม หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ ได้ผลลวงจากการใช้งานผิดประเภทนั่นเอง

         ดังนั้น การนำน้ำประปาหรือของเหลวอื่น ๆ มาทดสอบแล้วได้ผลบวกนั้น ไม่ได้แปลว่าชุดตรวจชุดนั้น ๆ เสีย ไม่แม่นยำ หรือมีการปนเปื้อนของเชื้อโควิดในน้ำแต่อย่างใด นอกจากนี้แพทย์ยังเตือนอีกว่า ไม่ควรนำน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ มาใช้ทดสอบเช่นนี้ เพราะเป็นการใช้งานผิดประเภท และยังทำให้เสียชุดตรวจนั้นไปอย่างเปล่าประโยชน์ หากต้องการชุดตรวจที่มีคุณภาพ ควรดูชุดตรวจที่ผ่านมาตรฐานการรับรองเท่านั้น

         ส่วนเรื่องที่หลายคนกลัวว่า ในน้ำประปาจะมีเชื้อโควิดปนเปื้อนจนไม่กล้าใช้งานนั้น ทางการประปานครหลวง (กปน.) ยืนยันว่า กระบวนการผลิตน้ำประปานั้นสะอาดปลอดภัย ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และมีการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแบคทีเรียและไวรัสต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง หากท่านไหนกังวลใจ ก็สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาแบบ Real Time ผ่านแอปพลิเคชัน MWA on Mobile และเว็บไซต์ twqonline.mwa.co.th ได้


ตรวจ ATK ได้ผลลวง เกิดจากอะไรได้บ้าง?

         เนื่องจากชุดตรวจ ATK ค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนในขั้นตอนการตรวจอย่างมาก หากมีปัจจัยบางอย่างเข้ามากระทบต่อขั้นตอนการตรวจ หรือทำให้ชุดตรวจ ATK เกิดการปนเปื้อน-เสียหาย มักส่งผลทำให้เกิดผลบวกหรือผลลบปลอมได้

ตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา

         ผลบวกปลอม คือ ผู้ทดสอบไม่ได้ติดเชื้อโควิด แต่ชุดตรวจแสดงผลบวก (ขึ้น 2 ขีด) ส่วนผลลบปลอม คือ ผู้ทดสอบติดเชื้อโควิด แต่ชุดตรวจแสดงผลลบ (ขีดเดียว) ซึ่งเราเรียกผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงนี้ว่า “ผลลวง” โดยมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยเหล่านี้

  • ชุดตรวจโควิดนั้นไม่ได้มาตรฐาน
  • เชื้อโควิด-19 ยังไม่ฟักตัว อยู่ในระยะแรก ทำให้ร่างกายมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำ จึงทำให้ชุดตรวจโควิดบางชนิดที่มีค่าความไว (Sensitivity) น้อย ไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้
  • ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ ทำให้ชุดตรวจที่มีค่าความจำเพาะ (Specificity) น้อยทำให้เกิดผลลวงได้
  • ขั้นตอนการตรวจไม่ถูกต้องตามคำแนะนำการใช้งานของชุดตรวจโควิดนั้น ๆ เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด หยดปริมาณสารละลายบัฟเฟอร์มากหรือน้อยเกินไป แหย่ไม่โดนเชื้อในโพรงจมูก เป็นต้น
  • ชุดตรวจมีการปนเปื้อนขณะทำการทดสอบ

ตรวจ atk

หากสงสัยว่าตนกำลังติดโควิด เนื่องมาจากการเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ ไปสถานที่เสี่ยง รวมทั้งมีอาการของโควิด-19 แม้จะตรวจ ATK แล้วได้ผลบวกหรือผลลบ ก็ควรเข้ารับการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการด้วยวิธี RT-PCR ที่โรงพยาบาล

เครื่องวัดออกซิเจน วัดปากกา-ดินสอได้ แปลว่าเครื่องเสียจริงเหรอ?!? มาหาคำตอบกัน!

ตรวจให้ชัวร์ ต้องชุดตรวจโควิด AESKU แม่นยำสูงเหมือนตรวจ RT-PCR!

         การเลือกชุดตรวจ ATK ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง จะช่วยลดโอกาสการเกิดผลลวงได้ ซึ่งหากท่านไหนกำลังมองหาชุดตรวจที่มีความแม่นยำสูงอยู่ล่ะก็ ขอแนะนำชุดตรวจโควิด-19 AESKU.RAPID SARS – COV-2 RAPID TEST ชนิดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง คุณภาพสูงนำเข้าจากประเทศเยอรมนีเลยค่ะ

ชุดตรวจ Antigen Test kit

คุณสมบัติพิเศษ

  • ตรวจจับไวรัสที่ N-Protein (Nucleocapsid protein) ของเชื้อโควิด-19 ทุกสายพันธ์ ทำให้สามารถตรวจจับเชื้อได้ แม้จะเกิดการกลายพันธุ์
  • ชุดตรวจมีความจำเพาะต่อเชื้อ (Specificity) สูงถึง 98.19% และมีความแม่นยำ (Sensitivity) สูงถึง 96.19% ประสิทธิภาพสูงเหมือนการตรวจ RT-PCR สามารถตรวจเจอเชื้อได้แม้ในระยะเริ่มต้น ลดโอกาสการเกิดผลลวง
  • ชุดตรวจผลิตจากประเทศเยอรมนี บริษัทผู้ผลิตได้รับมาตรฐาน ISO13485:2016 และได้รับใบรับรองการประเมินเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ที่ T6400528 จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ใช้วิธีตรวจ Swab ผ่านทางจมูกลึกเพียง 2.5 ซม. รู้ผลไวใน 15 นาที

สรุป

         การตรวจ ATK ด้วยน้ำประปา แล้วได้ผลบวกนั้น เป็นผลบวกปลอมหรือผลลวงที่เกิดจากการใช้งานผิดประเภท ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่ต้องกังวล แต่ไม่ควรทำเพราะไม่ได้ช่วยทดสอบว่าชุดตรวจนั้นแม่นยำไหม หากกังวลใจเรื่องความแม่นยำ ควรเลือกซื้อฃุดตรวจที่มีการรับรองผ่านมาตรฐาน และทำตามขั้นตอนการตรวจอย่างถูกต้องนะคะ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup