เครื่องวัดออกซิเจน วัดปากกา-ดินสอได้ แปลว่าเครื่องเสียจริงเหรอ?!? มาหาคำตอบกัน!

เครื่องวัดออกซิเจน

         หลังจากที่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ได้เข้ามามีบทบาทในการติดตามและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 กันอย่างแพร่หลาย โดยในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ได้มีกระแสโด่งดังไปทั่วโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับการนำอาหารหรือวัตถุต่าง ๆ มาวัดกับ เครื่องวัดออกซิเจน แล้วพบชีพจรหรือค่าออกซิเจน ทำให้หลายคนเชื่อว่า เครื่องวัดออกซิเจนนั้นเสียหรือไม่แม่นยำ แต่นั่นเป็นความจริงหรือเปล่า? มาหาคำตอบกันค่ะ

สารบัญ

สินค้า COVID ลดราคา สั่งซื้อผ่านไลน์ คลิก

เครื่องวัดออกซิเจน ที่ตรวจพบชีพจร-ค่าออกซิเจนในวัตถุได้ แปลว่าเครื่องเสียใช่ไหม?

         สำหรับใครที่ซื้อเครื่องวัดออกซิเจนมาใช้งาน คงอดสงสัยไม่ได้ว่า เครื่องวัดออกซิเจนที่ซื้อมานั้นมีความแม่นยำหรือไม่? จะเชื่อถือผลลัพธ์ได้มากน้อยแค่ไหน? จึงเกิดกระแสการนำวัตถุ อาหาร หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่าง ๆ มาวัดกับเครื่องวัดออกซิเจน ทั้งปากกา ดินสอ ไส้กรอก นิ้วมือศพ ฯลฯ เพื่อตรวจสอบความแม่นยำหรือประสิทธิภาพของเครื่องวัดออกซิเจน ซึ่งความเชื่อนี้ถูกส่งต่อกันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นไวรัล

เครื่องวัดออกซิเจน

สำหรับความเชื่อนี้ ไม่เป็นความจริง การนำวัตถุหรือสิ่งไม่มีชีวิตมาวัดกับเครื่องวัดออกซิเจน แล้วพบค่าออกซิเจนหรือชีพจรนั้น ไม่สามารถการันตีได้ว่า เครื่องวัดออกซิเจนเครื่องนั้น ๆ เสียหรือไม่แม่นยำได้

        Ishan Gupta นักปอดและผู้เชี่ยวชาญด้านทรวงอก และ TV Venkateswaran นักวิทยาศาสตร์ระดับอาวุโส ของเมืองนิวเดลี ทั้งคู่ได้พูดถึงประเด็นนี้ไว้ตรงกันว่า การที่เครื่องวัดออกซิเจนตรวจพบค่าระดับออกซิเจนหรือชีพจรของปากกาหรือวัตถุต่าง ๆ ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะหากแสงสีแดงหรือแสงอินฟราเรด สามารถส่องทะลุผ่านวัตถุไปยังตัวรับเซนเซอร์ได้ ก็สามารถตรวจพบค่าออกซิเจนได้

         เนื่องจากเครื่องวัดออกซิเจน คำนวณค่าออกซิเจน จากความไวและปริมาณของแสงสีแดงและแสงอินฟราเรด ที่ได้รับจากการส่องผ่านนิ้ว หากเราใส่วัตถุเข้าไป เครื่องวัดออกซิเจนจะคิดว่าวัตถุเหล่านั้นคือนิ้วของมนุษย์ จึงเริ่มทำงานโดยการตรวจจับหาค่าออกซิเจนหรือชีพจรตามปกติ อย่างไรก็ตาม หากช่องว่างระหว่างตัวยิงลำแสงและเซ็นเซอร์ถูกปิดสนิท จนแสงไม่สามารถส่องผ่านไปได้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดก็จะไม่มีการอ่านค่าใด ๆ เกิดขึ้น

         เครื่องวัดออกซิเจนมีความละเอียดอ่อนมาก จึงมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการอ่านค่าออกซิเจน ไม่ว่าจะเป็นความหนาของนิ้ว สีทาเล็บ การเคลื่อนไหว อุณหภูมิของนิ้ว ฯลฯ ล้วนมีผลกับค่าออกซิเจนทั้งสิ้น ในวัตถุเองก็เช่นกัน เรื่องของสี และความทึบแสง – โปร่งแสงของวัตถุก็ย่อมมีผลต่อการอ่านค่า จึงเกิดกรณีที่เครื่องวัดออกซิเจนเครื่องเดียวกัน ใส่วัตถุต่างชนิดกันก็อาจจะอ่านค่าได้หรือไม่ได้เลยก็ได้

เครื่องวัดออกซิเจน

นอกจากนี้ การนำอาหารหรือวัตถุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นิ้วมือ สอดเข้าไปในเครื่องวัดออกซิเจน เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ตัวเซนเซอร์ของอุปกรณ์เสียหาย จนทำให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดจริง ๆ ขึ้น

         สรุปได้ว่า การที่เครื่องวัดออกซิเจนตรวจพบค่าออกซิเจนหรือชีพจรของวัตถุไม่มีชีวิตได้นั้น ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะการันตีว่า เครื่องวัดออกซิเจนเครื่องนั้น ๆ เสีย ไม่แม่นยำ หรือเป็นของปลอม เนื่องจากเครื่องวัดออกซิเจน เป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อนมาก หากแสงสามารถเล็ดลอดไปตกกระทบกับเซนเซอร์ได้ ก็เป็นไปได้ที่เครื่องจะอ่านค่าออกซิเจนหรือชีพจรได้

         อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบคุณภาพหรือความน่าเชื่อถือของเครื่องวัดออกซิเจนและผู้จำหน่าย ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้นะคะ (มาดูวิธีเลือกซื้อเครื่องวัดออกซิเจนให้ได้คุณภาพ ในบทความ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ยี่ห้อไหนดี? จะซื้อทั้งทีต้องพิจารณาตรงไหนบ้าง? Click!!!)

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

  • สามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือด (Sp02) อัตราการเต้นของหัวใจ (PR) และค่าการไหลเวียนของเลือด (PI) ได้
  • มีเสียงแจ้งเตือน เมื่อระดับออกซิเจนในเลือด และอัตราชีพจรผิดปกติ
  • หน้าจอ OLED หน้าจอขนาดใหญ่ ปรับความสว่างได้ 5 ระดับ
  • อุปกรณ์ครบชุด 

logo lazada  logo shopee

ทำความเข้าใจให้ชัด เครื่องวัดออกซิเจน มีหลักการทำงานอย่างไร?

         ปัจจุบันเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว กลายมาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในระดับครัวเรือนและสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งในระดับครัวเรือนที่ซื้อมาใช้เองนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีอีกหลายคนที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจน จนนำไปสู่การใช้งานที่ผิดพลาดหรือผิดวิธี ดังนั้นมารู้จักหลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนกันก่อนค่ะ

ค่าออกซิเจน

         การจะนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้นั้น ต้องอาศัยส่วนประกอบสำคัญ คือ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่อาศัยอยู่ภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งฮีโมโกลบินนั้นมีอยู่ 4 ชนิด แต่ที่มีความเกี่ยวข้องกับค่าออกซิเจนโดยตรงนั้นมีอยู่ 2 ชนิดนั่นก็คือ

1. ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) คือ ฮีโมโกลบินที่ทำหน้าที่ดักจับออกซิเจน เพื่อนำออกซิเจนเหล่านั้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยออกซีฮีโมโกลบิน 1 โมเลกุล สามารถดักจับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล

2. ดีออกซีฮีโมโกลบิน (Deoxyhemoglobin) คือ ออกซีฮีโมโกลบินที่ไม่มีออกซิเจน เนื่องจากได้ปล่อยออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหมดแล้ว จึงกลายมาเป็นดีออกซีฮีโมโกลบิน ส่วนมากจะดักจับกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกมาจากเซลล์

ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน

         ซึ่งการจะวัดค่าออกซิเจนในเลือดได้นั้น จะตรวจสอบจากฮีโมโกลบินทั้งสองชนิดนี้ ว่าสามารถดักจับออกซิเจนได้มากน้อยแค่ไหน โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า การดูดกลืนแสง (Light Absorption) ซึ่งฮีโมโกลบินแต่ละชนิดจะมีการดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันออกไป

         ออกซีฮีโมโกลบิน จะดูดกลืนแสงที่มีคลื่นความยาวประมาณ 940 นาโนเมตร หรือต้องเป็นแสงระดับอินฟราเรด (ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า) ส่วนดีออกซีฮีโมโกลบิน จะดูดกลืนแสงที่มีคลื่นความยาวประมาณ 660 นาโนเมตร ซึ่งเป็นแสงสีแดง ซึ่งเครื่องวัดออกซิเจนก็ได้มีการนำหลักการดูดกลืนแสงนี้มาใช้

         มูลนิธิโรคปอดแห่งประเทศอังกฤษ (British Lung Foundation : BLF) ได้อธิบายการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วไว้ว่า ภายในเครื่องวัดออกซิเจนนั้น จะยิงลำแสงสีแดงและอินฟราเรดจากด้านหนึ่ง ผ่านปลายนิ้วมือ เพื่อไปยังตัวรับเซนเซอร์ที่อยู่อีกด้านหนึ่ง

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

         โดยเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนมาก ก็จะดูดกลืนแสงอินฟราเรดได้มาก เนื่องจากออกซีฮีโมโกลบิน (ที่จับออกซิเจน) มีจำนวนมากนั่นเอง จึงทำให้ปริมาณแสงสีแดงผ่านไปยังตัวเซนเซอร์อีกด้านได้เยอะกว่าแสงอินฟราเรด ในทางกลับกัน เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ก็จะดูดกลืนแสงอินฟราเรดได้น้อย แต่ดูดกลืนแสงสีแดงได้มาก ซึ่งปริมาณแสงสีอินฟราเรดและแสงสีแดงที่ตัวรับเซนเซอร์ได้รับนี้ จะถูกนำไปคำนวณเป็นค่าออกซิเจน (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์)

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด จำเป็นอย่างไรในยุคโควิด-19 อ่านเลย!

สรุป

         การทดสอบเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือเครื่องวัดออกซิเจน ด้วยการนำวัตถุต่าง ๆ มาใส่นั้น นอกจากจะไม่สามารถทดสอบความแม่นยำของเครื่องได้แล้วนั้น จะเป็นการทำให้ส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์เกิดความเสียหายจนอาจพังได้ ดังนั้น หากต้องการเครื่องวัดออกซิเจนที่มีความแม่นยำ ควรพิจารณาจากคุณสมบัติของเครื่อง มาตรฐานการรับรอง และผู้จำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก 

India Today Anti Fake News War Room (AFWA)  , The Healthy Indian Project , เว็บไซต์ Fit.Thequint , BPL Medical Technologies , Now oxygen และ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup