เช็กเลข อย. อย่างไร? ทำความรู้จักกับเครื่องหมาย อย. เรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้

เช็กเลข อย.

         เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องดื่ม อาหาร หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ปลอดภัยต่อตัวเรา? ของชิ้นไหนไว้ใจได้หรือไม่ได้บ้าง? ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่เราต้องรู้จักสังเกตผลิตภัณฑ์ที่เรากินหรือใช้ว่ามีเครื่องหมาย อย.หรือเปล่า แต่เครื่องหมาย อย.ที่ว่านี่คืออะไร? หน้าตาเป็นแบบไหน? บางคนอาจจะรู้จักเครื่องหมายนี้มาบ้าง แต่ไม่รู้วิธีตรวจ เช็กเลข อย. ว่าเป็นเลขจริงหรือเลขปลอม บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เหล่านั้นไว้หมดแล้วค่ะ

เช็กเลข อย.

สารบัญ

เครื่องหมาย อย.คืออะไร? ทำไมถึงต้องมี?

         หลายคนคงเคยเห็นเครื่องหมาย อย.บนผลิตภัณฑ์ที่กินหรือใช้ ผ่านตามาบ้างใช่ไหมล่ะคะ เช่น บนถุงขนม บนขวดเครื่องดื่ม บนกล่องผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่บางคนก็ยังไม่ทราบว่าเครื่องหมายนี้คืออะไร? มีไว้เพื่ออะไร?

อย.

         เครื่องหมาย อย. คือ เครื่องหมายที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ถูกต้องตรงตามมาตรฐานเกณฑ์การผลิต หรือการนำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการปกป้อง และคุ้มครองผู้บริโภค ตัวย่อ อย. ที่เราเห็นนี้ ย่อมาจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) นั่นเอง

ต่ไม่ได้หมายความว่าเครื่องหมาย อย. จะรับประกันคุณภาพสินค้าตามคำโฆษณาของผลิตภัณฑ์นะคะ เครื่องหมาย อย. แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้มีการขึ้นทะเบียน หรือรับอนุญาตเลขสารบบอาหาร ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นค่ะ

ประโยชน์ของเครื่องหมาย อย.

  • รับรองผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัย
  • สร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า และผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์
  • สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสถานที่และชื่อบริษัทที่ทำการผลิตหรือจดแจ้งได้
  • สามารถรับสิทธิคุ้มครอง จากคณะกรรมการอาหารและยาได้ หากเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มี อย.
  • ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรู้เท่าทันภัยที่มาจากสินค้าเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองได้อีกด้วย

รู้หรือไม่?! ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจะมีเครื่องหมาย อย.นะ

         หลายคนพอทราบว่า เครื่องหมาย อย. รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย ก็ด่วนสรุปไปว่ าผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ไม่ปลอดภัยไปเสียแล้ว จริง ๆ แล้วกฎหมายระบุไว้นะคะว่า มีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ต้องขึ้นทะเบียน อย. และผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ไม่ต้องมี

ผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

1. อาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. คือ

  • อาหารควบคุมเฉพาะ เช่น เครื่องดื่ม อาหารบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท
  • อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน เช่น น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันพืช อาหารกึ่งสำเร็จรูป
  • อาหารที่ต้องมีฉลาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ หมากฝรั่งลูกอม อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที อาหารพร้อมปรุง

         โดยเครื่องหมาย อย. ที่ปรากฏบนผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จะมีเลข 13 หลัก อยู่ในกรอบเครื่องหมาย ซึ่งจะถูกเรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” เลขเหล่านั้น เป็นรหัสของข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ผลิตและข้อมูลต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบในกรณีที่เกิดปัญหา ซึ่งเลขแต่ละหลักมีความหมาย ดังนี้

สินค้าที่มีเครื่องหมาย อย.

  • เลขลำดับที่ 1 – 2 : เลขจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิต (ใช้ตัวเลข 10 – 96 แทนจังหวัดนั้น ๆ) เช่น ตัวเลข 10 แทนจังหวัดกรุงเทพฯ ตัวเลข 73 แทนจังหวัดนครปฐม
  • เลขลำดับที่ 3 : สถานะของสถานที่และหน่วยงานที่อนุญาต (ใช้ตัวเลข 1 – 4 แทนสถานะ)
    • หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
    • หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต
    • หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
    • หมายเลข 4 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต
  • เลขลำดับที่ 4 – 6 : เลขประจำสถานที่ผลิต กำหนดแล้วแต่กรณี (ใช้ตัวเลขสามหลัก) เช่น 002 แทนเลขสถานที่ผลิตอาหารหรือสถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นลำดับที่ 2
  • เลขลำดับที่ 7 – 8 : เลขท้ายของปี พ.ศ.ที่อนุญาต เช่น ตัวเลข 41 แทน พ.ศ.2541
  • เลขลำดับที่ 9 : หน่วยงานที่อนุญาตผลิตภัณฑ์ หรือหน่วยงานที่ออกเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ (ใช้ตัวเลข 1 – 2 แทนหน่วยงาน)
    • หมายเลข 1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารบบอาหารจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
    • หมายเลข 2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารบบอาหารจากจังหวัด
  • เลขลำดับที่ 10 – 13 : เลขลำดับที่ของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอนุญาต (ใช้ตัวเลขสี่หลักแทนลำดับ) เช่น ตัวเลข 0001 แทนลำดับที่ 1 , ตัวเลข 0652 แทนลำดับที่ 652

2.เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต เช่น ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับศัลยแพทย์ ชุดตรวจเชื้อ HIV คอนแทคเลนส์ จะแสดงเป็นตัวอักษร ผ. หรือ น. แล้วตามด้วยตัวเลข

ตรวจเลข อย.

  • ผ. หมายถึง ผลิตภัณฑ์ถูกผลิต
  • น. หมายถึง ผลิตภัณฑ์นำเข้า
  • เลขสองตัวแรก หมายถึง เลขที่ใบอนุญาต
  • เลขสี่ตัวหลัง หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต

3.วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว

เช็ก อย.

  • วอส. หมายถึง วัตถุอันตรายทางสาธารณสุข
  • เลขสองตัวแรก หมายถึง เลขที่ใบอนุญาต
  • เลขสี่ตัวหลัง หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

1. ยา จะไม่มีเครื่องหมาย อย.บนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา เช่น 1A 12/40 หมายถึง ยาแผนปัจจุบันสำหรับใช้กับมนุษย์ ผลิตภายในประเทศไทย มีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว ลำดับทะเบียนเลขที่ 12 ได้รับการขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2540

อย. ยา

  • Reg no. หมายถึง Registered Number หรือเลขทะเบียน
  • เลขลำดับที่ 1 : เลขแทนตัวยาที่ออกฤทธิ์ (ใช้ตัวเลข 1 – 2)
    • 1 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว
    • 2 หมายถึง มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์สองตัวขึ้นไป
  • เลขลำดับที่ 2 : เลขแทนประเภทของยา (ใช้ตัวอักษร A – N) เช่น A แทนยาแผนปัจจุบันที่ใช้กับมนุษย์ซึ่งผลิตภายในประเทศ , N แทนยาแผนโบราณที่ใช้กับสัตว์ซึ่งนำเข้าหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ
  • เลขลำดับที่ 3 – 4 : เลขแทนลำดับการขึ้นทะเบียนตำรับยา
  • เลขลำดับที่ 5 – 6 : ปี พ.ศ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน สองหลักสุดท้าย เช่น 53 แทนปี 2553

2.เครื่องสำอาง จะไม่มีเครื่องหมาย อย.บนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 10 หลัก

อย. หน้าที่

  • เลขลำดับที่ 1 – 2 : เลขจังหวัดที่ตั้งของสถานที่รับแจ้ง
  • เลขลำดับที่ 3 : สถานะของสถานที่และหน่วยงานที่อนุญาต (ใช้ตัวเลข 1 – 4 แทนสถานะ)
    • หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
    • หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต
    • หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
    • หมายเลข 4 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต
  • เลขลำดับที่ 4 – 5 : เลขท้ายของปี พ.ศ.ที่อนุญาต เช่น ตัวเลข 35 แทน พ.ศ.2535
  • เลขลำดับที่ 6 – 10 : เลขลำดับของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอนุญาต

3.เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด ไม่มีเครื่องหมาย อย. แต่ต้องมีต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง (แบบเดียวกับเครื่องสำอาง) ได้แก่ เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน

         ส่วนเครื่องมือแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องมีทั้งเครื่องหมาย อย. และเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เตียงผู้ป่วย รถเข็นผู้ป่วย แต่ผู้ประกอบการจะต้องแสดงหนังสือรับรองการขายในประเทศผู้ผลิต ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐหรือสถาบันเอกชนที่รับรอง เพื่อให้สำนักงาน อย.ตรวจสอบ และออกหนังสือรับรองการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากร ซึ่งหากต้องการแน่ใจว่า เครื่องมือแพทย์ทั่วไปที่ไม่มีเครื่องหมาย อย.นี้ ปลอดภัยหรือไม่ คือ การตรวจสอบเอกสารที่ อย.ออกให้ผู้ประกอบการนั่นเอง

         นอกจากนี้ หากผลิตภัณฑ์ใดจะมีการนำสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ไปทำการโฆษณา จะต้องมีการขออนุญาตจากโฆษณาผลิตภัณฑ์จากทาง อย. เช่นกัน เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง อาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ฆอ.(โฆษณาอาหาร) ฆพ (โฆษณาเครื่องมือแพทย์)

ฆพ.คือ

ตัวอย่างเลข ฆพ.จากหน้าเว็บไซต์ ALLWELL

เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์เพื่อสุขภาพของ ALLWELL เอง ก็ได้มีการทำตามขั้นตอนของ อย. อย่างถูกต้องเช่นกันนะคะ ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้นได้ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านแน่ใจได้ว่าสินค้าจาก ALLWELL ปลอดภัยตามมาตรฐาน ไม่เป็นอันตรายต่อลูกค้าแน่นอนค่ะ

วิธีการตรวจ เช็กเลข อย.เลขไหนเป็นเลขจริงดูตรงนี้!

         หากต้องการตรวจสอบ ว่าผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อมีเครื่องหมาย อย./เลขที่จดแจ้งหรือไม่ หรืออาจจะต้องการดูว่าเครื่องหมาย อย.ที่ปรากฏบนผลิตภัณฑ์ เป็นเลขจริงหรือเปล่า ข้อมูลตรงกับที่ผู้ประกอบการแจ้งไว้ไหม สามารถตรวจสอบได้ตามขั้นตอนเหล่านี้เลยค่ะ

1.เข้าเว็บไซต์ “ตรวจสอบการอนุญาต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข” จะเจอเว็บไซต์หน้าตาแบบนี้เลยค่ะ

2.กรอกเลขรหัสในเครื่องหมาย อย. เลขที่ใบจดแจ้ง เลขทะเบียนตำรับยา (มีหรือไม่มีขีดก็ได้) หรือชื่อของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตรวจสอบ ลงในช่องค้นหาตามรูป (1) จากนั้นกดปุ่มค้นหา (2) ตัวอย่างเช่น กรอกชื่อเครื่องวัดตรวจวัดน้ำตาล “BLOOD GLUCOSE METER G-426” ลงไป

3.หากผลิตภัณฑ์ที่ค้นหามีการได้รับอนุญาตจาก อย.อย่างถูกต้อง เว็บไซต์จะแสดงผลตามรูปด้านล่าง ได้แก่ ประเภทผลิตภัณฑ์ ใบสำคัญ (เลข อย.) ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ ชื่อผู้รับอนุญาต Newcode (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์) และสถานะของผลิตภัณฑ์

         หากลองค้นหาเลข อย. แล้วไม่ปรากฏข้อมูล อาจหมายถึงผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีเลข อย.ปลอม หรือค้นหาแล้วปรากฏข้อมูล ให้ตรวจสอบว่าข้อมูลเหล่านั้นตรงกับสินค้าที่เราค้นหาหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่ตรงหรือปรากฏเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เราค้นหา อาจหมายถึงว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นสวมเลข อย.ปลอมค่ะ

         ซึ่งหากพบความไม่ถูกต้องของข้อมูลผลิตภัณฑ์ ให้ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สายด่วน 1556 หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th หรือมาร้องเรียนได้ที่ ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ที่อยู่ในต่างจังหวัด สามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ของตนเองได้เลยค่ะ

ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย อย. คลิกเลย!

วิธีเช็กเลข อย.ด้วยแอพพลิเคชั่น บนสมาร์ทโฟน

สรุป

         ถึงแม้เครื่องหมาย อย. จะเป็นเครื่องหมายเล็ก ๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้ามเลยนะคะ เพราะนั่นหมายถึงความอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเราได้ โดยเฉพาะที่ผลิตภัณฑ์ที่เราต้องกิน หรือมีผลกับร่างกายโดยตรง แต่ถึงแม้บางผลิตภัณฑ์จะมีเครื่องหมาย อย.ก็อย่าเพิ่งด่วนไว้ใจนะคะ ลองนำเลข 13 หลัก หรือชื่อผลิตภัณฑ์ มาตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าเลขเหล่านั้น ไม่ใช่เลขสวมหรือเลขปลอมนะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup