การจัดบ้าน และห้องนอนผู้สูงอายุ ให้น่าอยู่และปลอดภัย!

ห้องนอนผู้สูงอายุ

         อุบัติเหตุ พลัดตก หกล้ม เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งมาจากสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง และอีกส่วนหนึ่งมาจาก สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ ดังนั้น การเตรียมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุจึง เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับบทความนี้เราจะพูดถึงการเตรียม ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และ ห้องนอนผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

ห้องนอนผู้สูงอายุ

ห้องนอนผู้สูงอายุ

 สารบัญ

  1. ห้องนอน ผู้สูงอายุ
  2. ห้องน้ำ
  3. ห้องนั่งเล่น
  4. ห้องครัว

 

ห้องนอนผู้สูงอายุ

         ห้องนอนผู้สูงอายุ เป็นสถานที่ ที่ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะห้องนอนเป็นที่สำหรับการนอนหลับพักผ่อน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักใช้เวลาอยู่ในห้องนอนมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ห้องนอนจึงเป็นมากกว่าสถานที่ในการนอนหลับพักผ่อน ห้องนอนอาจเป็นห้องน้ำ เป็นห้องนั่งเล่น หรือเป็นห้องสำหรับทานอาหาร ดังนั้นห้องนอนผู้สูงอายุ จึงต้องใส่ใจในรายละเอียดมากกว่าห้องนอนทั่วไป ตั้งแต่ความสะดวกสบาย ไปจนถึงความปลอดภัย แบบห้องนอน ที่เหมาะสม มีดังนี้

1. ตำแหน่งและพื้นที่ใน ห้องนอนผู้สูงอายุ

         ห้องนอนผู้สูงอายุที่เหมาะสม ควรตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของบ้าน เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องเดินขึ้น – ลงบันไดบ่อย ๆ และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ จากการพลัดตกบันได และห้องนอนควรตั้งอยู่ใกล้ ๆ ห้องน้ำ หรือมีห้องน้ำอยู่ในห้องนอน เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้สูงอายุ

         สำหรับผู้สูงอายุหนึ่งคน ห้องนอนควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 -12 ตร.ม. และผู้สูงอายุสองคน ห้องนอนควรมีพื้นที่ 16 – 20 ตร.ม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือ สำหรับการทำกิจกรรมงานอดิเรกต่าง ๆ  และวางอุปกรณ์ในการดูแล โดยพื้นที่ว่างรอบเตียงทั้งสามด้าน ควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 cm และมีพื้นที่สำหรับกลับรถเข็นวีลแชร์อย่างน้อง 150 cm

ตำแหน่งห้องนอนผู้สูงอายุ

ห้องนอนผู้สูงอายุ ที่ปลอดภัยและมีการจัดแต่งอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของผู้สูงอายุอย่างแน่นอน

         เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ภายในห้องนอน ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย เช่นตู้เสื้อผ้า ตู้ข้างเตียง โต๊ะข้างเตียง ควรเลือกใช้แบบที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคม ป้องการการได้รับบาดเจ็บจากการชน

2. เตียงนอน

         เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว เตียงนอนที่เหมาะสมที่สุด คือ เตียงเดี่ยว เพราะจะช่วยให้การขยับพลิกตัวลงจากเตียงได้สะดวกกว่าเตียงนอนแบบคู่ ที่ผู้สูงอายุต้องใช้แรงดันตัวในการลุกจากเตียง ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดกล้ามเนื้อได้ โดยขนาดเตียงนอนที่เหมาะสม ควรมีความยาวอย่างน้อย 180 cm และความกว้างด้านข้างอย่างน้อย 90 cm ความสูงของเตียงที่เหมาะสม ควรอยู่ในระดับข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ หรือระดับที่เท้าของผู้สูงอายุสามารถสัมผัสพื้นได้พอดี (ไม่เกิน40 cm)

         และเพื่อความสะดวกและความปลอดภัย ควรติดตั้งราวกันตกข้างเตียง หรือเลือกเตียงที่มีราวกันตก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุพลัดตกเตียง และใช้เป็นที่จับในการพลิกตัว หรือพยุงตัวเวลาลุกจากเตียงได้

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

 

 

 

ไอเดียการจัดห้องนอนผู้สูงอายุ

3. ประตู หน้าต่างและพื้นผิวใน ห้องนองผู้สูงอายุ

  • ประตูห้องนอน ควรมีความกว้างโดยประมาณ 30 – 32 นิ้ว เพื่อให้รถเข็นวีลแชร์ สามารถเข้าออกได้สะดวก ลูกบิดประตูควรใช้แบบชนิดก้านโยก เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องออกแรงมากในการเปิด อาจใช้เป็นประตูบานเลื่อน หรือประตูแบบผลัก และเลือกแบบที่ไม่มีรางบนพื้นป้องกันการสะดุด 
  • มีหน้าต่างที่สามารถมองเห็นวิวและรับแสงแดดเข้ามาภายในห้องได้ เพื่อบรรยากาศภายในห้องดูผ่อนคลาย และช่วยในการระบายอากาศ
  • ภายในห้องนอนใช้โทนสีสว่าง พื้นห้องนอนควรมีพื้นผิวเรียบ ไม่ลื่น อาจติดตั้งวัสดุพื้นลดแรงกระแทก เพื่อให้ผู้สูงอายุเดินได้อย่างมั่นคง และไม่ควรมีพื้นต่างระดับหรือปูพรม เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม

4. แสงสว่างในห้องนอน

         ผู้สูงอายุมักมีสายตาที่พร่ามัว ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน หลอดไฟที่ใช้ ควรเลือกที่มีแสงสว่างที่พอดี ไม่ควรเลือกใช้หลอดไฟที่มีแสงจ้าจนเกินไป ให้เลือกใช้หลอดไฟที่มีแสงนวลสบายตา และติดตั้งให้พอดีทั่วห้องนอน สวิตซ์ไฟควรอยู่ใกล้เตียงนอน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ จากการเดินไปเปิดไฟตอนกลางคืน

         การติดตั้งโคมไฟที่หัวเตียงห ลายคนอาจมองว่าสะดวกกว่า แต่ในความเป็นจริง หากจะให้ผู้สูงอายุเอื้อมมือไปเปิด – ปิดไฟที่หัวเตียง ก็อาจจะไม่สะดวกนัก ไฟใต้เตียง night light bed จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ในการดูแลผู้สูงอายุยามค่ำคืน            

 5. ระบบสื่อสารใกล้มือ

         การติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารใกล้มือ ไว้ข้างเตียงนั้น จะช่วยให้ผู้สูงอายุ สามารถเรียกคนในครอบครัว หรือขอความช่วยเหลือต่าง ๆ โดยไม่ต้องเดินออกไปข้างนอกห้อง หรือตะโกนเรียก  ซึ่งอาจใช้อินเตอร์คอม เป็นตัวช่วย หรือหากผู้สูงอายุ ใช้โทรศัพท์สายตรง ก็ควรเลือกแบบที่มีปุ่มกดชัดเจนมองเห็นง่าย

ห้องนอนผู้สูงอายุ

 

ห้องน้ำ

         ห้องน้ำเป็นสถานที่ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ที่มีสภาพร่างกายเสื่อมถอย ทำให้มักหกล้มได้ง่าย และเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในห้องน้ำ ควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมดังนี้

1. ประตูและพื้นห้องน้ำ

         พื้นห้องน้ำ ความกว้างของห้องน้ำ ควรอยู่ที่ 1.5 – 2 ตารางเมตร โดยประมาณ พื้นอยู่ในระดับเดียวกันกับพื้นด้านนอก ไม่มีพื้นที่ต่างระดับ หรือธรณีประตู วัสดุปูพื้นไม่มันวาว มีความหยาบระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันการลื่น พื้นและผนังมีเฉดสีที่ต่างกันอย่างชัดเจน

        ประตูห้องน้ำ ประตูควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 cm ควรใช้ประตูแบบบานเลื่อน หรือเปิดออก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะได้เข้าช่วยเหลือทัน และลูกบิดของประตู ควรเป็นแบบก้านโยก เพื่อที่ผู้สูงอายุ จะได้ไม่ต้องออกแรงมากในการบิดจับ เพื่อเปิดประตู

2. พื้นที่บริเวณที่ใช้อาบน้ำ และอุปกรณ์ที่ใช้

        เก้าอี้นั่งอาบน้ำ เนื่องจากผู้สูงอายุ ไม่สามารถยืนได้นาน เก้าอี้อาบน้ำ จึงเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็น เก้าอี้อาบน้ำ ควรเลือกแบบที่ขาเก้าอี้มีความฝืด เพื่อป้องกันการลื่นไถล มีราวจับด้านข้างเพื่อใช้ทรงตัว หรือมีพนักพิงเพื่อป้องกันผู้สูงอายุหงายหลัง

 
 
 
  • ฝักบัว ให้ใช้แบบที่มีแรงดันน้ำต่ำ หรือสามารถปรับระดับแรงดันน้ำได้ วาล์วเปิด – ปิด เป็นแบบก้านยาว เพื่อลดการออกแรงมาก ๆ ของผุ้สูงอายุ       
  • ชักโครก ครอบครัวไหนที่ยังใช้ส้วมแบบนั่งยอง ๆ ควรเปลี่ยนมาใช้แบบชักโครกแทน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ และควรติดตั้งราวจับ บริเวณด้านข้างของชักโครกเพื่อให้ผู้สูงอายุ ใช้ทรงตัวในการลุก

 

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup