ผู้สูงอายุ นอกจากอายุที่มากขึ้นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และจิตใจอีกด้วย เห็นได้ชัดจากริ้วรอยที่เพิ่มขึ้น การทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เริ่มถดถอยลง ร่างกายอ่อนแอลง ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ เหมือนแต่ก่อน อีกทั้งโรคภัยต่าง ๆ ก็ตามมา หลักการดูแลผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง โดยบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ร่างกาย และจิตใจ
สารบัญ
หลักการดูแลผู้สูงอายุ ทางด้านด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น
- การมองเห็น การมองเห็นแย่ลง มองไม่ชัดเหมือนเดิม สายตายาว บางรายมีอาการสายตาสั้น และสายตายาวร่วมกันด้วย
- การได้ยิน การได้ยินไม่ชัดเจน ผลมาจากประสาทหูเสื่อม หูตึง ต้องพูดเสียงดังถึงจะได้ยิน
- กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง เรี่ยวแรงลดลง
- ผิวหนัง ผิวหนังเหี่ยวย่น และหย่อนคล้อย การสร้างเม็ดสีลดลง ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย ชั้นผิวหนังบางลง
- กระดูก กระดูกพรุน โดยผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย โดยมักจะเกิดหลังจากหมดประจำเดือน หรือประมาณ 65 ปี หากส่วนสูงลดลงจากตอนเป็นหนุ่มสาวมากกว่า 4 เซนติเมตร ควรพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงเป็นภาวะกระดูกพรุนได้
- หัวใจ ผู้สูงอายุมีอาการเหนื่อยง่าย เนื่องจากการบีบตัวของหัวใจลดลง และมีโอกาสที่จะเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้ง่าย
- ระบบหายใจ ความจุของปอดลดลง ทำให้เหนื่อยหอบได้ง่าย
- ทางเดินอาหาร เนื่องจากฟันร่วง และหลุด ทำให้การเคี้ยวอาหารลำบากขึ้น เคี้ยวไม่ละเอียด ทำให้มีอาการท้องผูก อีกทั้งกระเพาะอาหารมีการหลั่งน้ำย่อยน้อยลง ทำให้การดูดซึมสารอาหารลดลงตามไปด้วย ทำให้ขาดสารอาหาร
- การปัสสาวะ ความจุกระเพาะปัสสาวะลดลงทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น ในเพศชายมีต่อมลูกหมากกโตขึ้น ทำให้ปัสสาวะขัด ต้องเบ่งนาน
- ภูมิคุ้มกัน เมื่ออายุมากขึ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะทำงานลดลง ผู้สูงอายุจึงติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ป่วยได้ง่าย
- ระบบประสาท ความสามารถในการจำลดลง ความคิดช้าลง จำอะไรไม่ค่อยได้ หากการหลงลืมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีภาวะสมองเสื่อม
การดูแลผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุและส่งเสริมให้มีสุขภาพดีนั้น นอกจากครอบครัวแล้ว และตัวผู้สูงอายุเองถือว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี และร่างกายแข็งแรง โดยมี 4 ข้อที่จำเป็นดังนี้
- การดูแลด้านอาหาร เนื่องจากฟันผู้สูงอายุไม่แข็งแรง และมักมีปัญหาฟันหลุด ร่วง ทำให้การเคี้ยวอาหารเป็นไปได้ลำบาก เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุ ควรมีความอ่อนและนุ่ม เพื่อที่จะให้ผู้สูงอายุเคี้ยวได้ง่ายขึ้น และควรมีสารอาหารที่เพียงพอ สะอาดและถูกสุขลักษณะ โดยสารอาหารที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุได้แก่ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ เส้นใยอาหาร
- การออกกำลังกาย เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุที่ลดลง กระดูกที่เปราะบางขึ้น การออกกำลังกายในผู้สูงอายุควรระมัดระวังมากขึ้น ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรหักโหมจนเกินไปเพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุมีดังนี้ การเดิน หรือวิ่งช้า ๆ โยคะ ปั่นจักรยาน รำมวยจีน เต้นแอโรบิค
- ความเครียดและวิตกกังวล ความเครียดในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ปลายปัจจัย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม โดยวิธีที่เหมาะสมที่จะกำจัดความเครียดคือการยอมรับ และเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ครอบครัวหรือคนใกล้ตัวต้องคอยรับฟัง และให้คำปรึกษาให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึกต่าง ๆ และหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือให้ผู้สูงอายุได้พบปะเพื่อนฝูง ในวัยเดียวกัน
- การป้องกันอุบัติเหตุและอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ การหกล้ม ลื่นล้มถือเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มากกว่าอุบัติเหตุชนิดอื่น ๆ ซึ่งการหกล้มอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา กระดูกแตกหัก เลือดคั่งในสมอง บางรายอาจถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิต สาเหตุมักเกิดจากการทรงตัวที่ไม่ดี ขาอ่อนแรง มีอาการหน้ามืด หรือเกิดจากการที่พื้นลื่น สะดุดสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน โดยวิธีป้องกันคือ การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง การใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ ป้องกันการเกิดอาการหน้ามืด และที่สำคัญควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม ไม่ควรมีพื้นต่างระดับมากเกินไป เพิ่มแสงสว่างภายในบ้าน ไม่วางของแกะกะ และมีแผ่นกันลื่นในห้องน้ำ
อ่านบทความ : การหกล้มในผู้สูงอายุ อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวังไว้เพื่อคนที่คุณรักผู้สูงอายุควรควมคุมโภชนาการให้เหมาะสมกับร่างกาย หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ หากเกิดอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 – 12 เดือน
หลักการดูแลผู้สูงอายุ ทางด้านจิตใจ
ปัญหาทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ มักเกิดจากการสูญเสียความสามารถในการเป็นที่พึ่ง ภาวะผู้นำ การที่บุตรหลานเติบโต แยกย้ายไปมีครอบครัว ความวิตกกังวลในสภาพร่างกายที่ถดถอย เป็นต้น และด้วยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเหมือนเด็กที่ต้องการพึ่งพาอาศัย และการดูแลจากผู้อื่นอยู่เสมอ
ปัญหาสุขภาพทางจิตของผู้สูงอายุ
- ความวิตกกังวล กลัวถูกทอดทิ้ง คิดมากเรื่องในอดีต กังวลเรื่องสุขภาพร่างกายที่ถดถอยลง ไม่เหมือนเดิม
- การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ เอาแต่ใจ จู้จี้ขี้บ่น และมักขี้น้อยใจ
สัญญาณบ่งชี้ว่าผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้การดูแลสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เบื่อหน่าย รู้สึกเหงา รู้สึกไร้ค่า ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เก็บตัวจากสังคมรอบข้าง ไม่อยากทำอะไร ขาดกำลังใจ หรืออาจมีโรคต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ โดยลูกหลานควรพยายามปรับตัวเพื่อที่จะเข้าใจคนวัยนี้เพิ่มมากขึ้น โดยการทำให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมกับครอบครัว พูดคุย และรับฟังปัญหาต่างๆ คอยดูแลใส่ใจในสุขภาพ รวมถึงการพาไปพบแพทย์
การดูแลผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต
การที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นนั้น ต้องการศัยการดูแล และเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นพิเศษ โดยการดูแลผู้สูงอายุด้านจิตใจสามารถทำได้ดังนี้
- การช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เช่นการไปขอคำแนะนำ และคำปรึกษา ขอความช่วยเหลือให้ดูแลควบคุมภายในบ้าน ปรึกษาเรื่องการเลี้ยงดูบุตรหลาน
หรือการกล่าวชื่นชม เล่าเหตุการณ์ประทับใจต่อผู้สูงอายุ - ระมัดระวังคำพูด และการกระทำต่อผู้สูงอายุ เช่นการกล่าวทักทาย สวัสดี เชิญรัปประทานอาหารก่อน
- หากิจกรรมทำร่วมกัน เช่นการ ไปวัดทำบุญ โดยลูกหลานช่วยเตรียมของให้ พาไปเที่ยวเปิดหูเปิดตา หรือไปทานอะไรอร่อย ๆ
อุปกรณ์ที่ช่วยดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุ ต้องมีความเอาใจใส่ ทุ่มเท และอดทน เสียสละเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ต้องดูแลอาการป่วยให้หายดี แต่ยังต้องดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย ทำให้ผู้ดูแลมีอาการเหนื่อยล้าเป็นธรรมดา อุปกรณ์เสริมจึงเป็นตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดูผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัย และช่วยผ่อนแรงของผู้ดูแลได้
ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 1-2
ต้องการความช่วยเหลือในบางส่วน เช่น การเดิน และการขับถ่าย
- อุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก : ราวจับช่วยในการพยุงตัวของผู้ป่วย ไม้เท้าช่วยเดิน เก้าอี้อาบน้ำ
ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 3
ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือเกือบทุกอย่าง เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ขับถ่าย เดิน และการนั่งรถเข็นวีลแชร์
รถเข็นวีลแชร์ แบบล้อใหญ่ รุ่น GK863LAJ-20 น้ำหนักเบา พับเก็บใส่ท้ายรถได้
- อุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก : เก้าอี้อาบน้ำ เก้าอี้นั่งถ่าย รถเข็นผู้ป่วย เตียงนอนที่มีเสาดึงตัวช่วยในการลุกจากเตียง
ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 4
ผู้ป่วยที่ต้องการการช่วยเหลือทุกอย่าง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น การขยับ และพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ แต่งตัว กินอาหาร การแปรงฟัน ขับถ่าย และการนั่งรถเข็นผู้ป่วย
- อุปกรณ์ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก : เตียงนอนที่มีราวข้างเตียง และสามารถปรับระดับได้ หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ รถเข็นผู้ป่วย กระโถนสำหรับผู้ป่วย รถเข็นอาบน้ำและนั่งถ่าย กระบอกใส่ปัสสาวะ
สรุป
การดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายคนมักจะให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย แต่มองข้ามเรื่องจิตใจของผู้สูงอายุไป ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่ดี ควรจะดูแลร่างกายควบคู่่ไปกับจิตใจด้วย เพราะจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมกับมีจิตใจที่มีความสุขนะคะ
BED & MATTRESS PRODUCT
ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700