ทำไมผู้สูงอายุถึงเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 และมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าวัยอื่นๆ

ผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

         สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยตอนนี้ถือว่าน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะจากผลสำรวจในประเทศจีน พบว่า ผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 และผู้ที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 15 % และผู้ที่มีโรคประจำตัวมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10.5% นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรใส่ใจและระมัดระวังผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวจากเชื้อไวรัสโควิด-19 มากเป็นพิเศษ

ผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

สารบัญเนื้อหา

ทำไมผู้สูงอายุถึงเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 สูง?

         ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลง ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19ได้ง่าย และอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แม้ว่าผู้สูงอายุคนนั้นจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงก็ตาม และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงมากขึ้นไปอีก

ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ขึ้นไปควรระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ

อัตราการเสียชีวิตของแต่ละช่วงอายุ

  • 0-9 ปี = 0%
  • 10-39 ปี = 0.2%
  • 40-49 ปี = 0.4%
  • 50-59 ปี = 1.3%
  • 60-69 ปี = 3.6%
  • 70-79 ปี = 8.0%
  • 80 ปีขึ้นไป = 14.8%

รัฐบาลจีนเผย จากการศึกษารายละเอียดกว่า 44,000 กรณี พบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดคือผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

สินค้า COVID ลดราคา สั่งซื้อผ่านไลน์ คลิก

กลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงสูงสุด

         จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศอิตาลี ผลการศึกษาพบว่า ผู้เสียชีวิตกว่า 99% ทั่วประเทศ เป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว และยังสำรวจพบว่า ผู้เสียชีวิตเกือบครึ่งมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 3 โรคด้วยกันและผู้เสียชีวิต 1 ใน 4 มีโรคประจำตัว 1 – 2 โรคด้วยกัน โดยอายุเฉลี่ยของผู้ที่เสียชีวิตในประเทศอิตาลี อยู่ที่ 79.5 ปี

         ซึ่งจากผลสำรวจทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงสียชีวิตจากโควิด-19 สูง กว่าวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพแข็งแรง แม้อิตาลีจะสั่งปิดเมืองไปแล้ว ก็ยังเห็นได้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอิตาลีถือเป็นอีกประเทศที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

 โรคประจำตัวเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด-19

โรคประจำตัวโรคใดบ้างที่มีความเสี่ยง

1.โรคหัวใจและหลอดเลือด

         มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยอยู่ที่ 13.2% ผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อได้รับเชื้อไวรัสแล้ว จะส่งผลให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 17% กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ 7% ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้ 9%  ตลอดจนไตวาย 4%

2.โรคเบาหวานผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2  รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยอยู่ที่ 9.2% เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มากขึ้นและรุนแรงขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรหยุดยาเอง และที่สำคัญต้องคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ  เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดที่เชื้อรุนแรงและเสียชีวิต

จากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการเดินทางไปตรวจเบาหวานที่โรงพยาบาลในช่วงนี้มีความเสี่ยงสูงมาก จึงอาจไม่สะดวกนัก

เครื่องตรวจระดับน้ำตาล ตรวจเบาหวาน

         สมาคมแพทย์ต่อมไร้ท่ออเมริกา (American Association of Clinical Endocrinologists) ได้ออกคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อปรับใช้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ไว้ดังนี้

  • ทานยาหรือฉีดยาเบาหวานตามแพทย์สั่ง
  • เตรียมยาและชุดอุปกรณ์สำหรับเบาหวาน เช่น ยา เข็มฉีดยา ชุดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ให้เพียงพอ เพื่อที่หากมีการประกาศภาวะฉุกเฉินจะได้มีเพียงพอต่อการใช้งาน โดยควรเตรียมเพิ่มจากของเดิมอย่างน้อยล่วงหน้า 30 วัน

         หากผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องตรวจวัดระดับน้ำตาล และไม่สะดวกในการเดินทางออกไปซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Lazada, Shopee หรือผ่านทางเว็บไซต์ Allwell ของเรา

3.โรคความดันโลหิตสูง

         อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 8.4% ยิ่งหากติดเชื้อแล้วไม่รีบรักษา อาจมีความเสี่ยง นำไปสู่ภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้

เครื่องวัดความดัน

4.โรคระบบทางเดินหายใจ

         อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 8%     5.โรคมะเร็งอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 7.6%    จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนอื่นๆ ที่ไม่มีโรคประจำตัวเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้จึงไม่ควรละเลยที่จะดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

กลุ่มเสี่ยงอื่นๆ

  • เด็กเล็ก
  • คนที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (คนอ้วน)
  • ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น จีน อิตาลี ฝรั่งเศส เกาหลี ญี่ปุ่น
  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ
  • ผู้ที่ทำงานที่ต้องพบปะชาวต่างชาติบ่อยๆ

การดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19

  1. งดการออกไปทำกิจกรรมข้างนอก การพบปะกับผู้คนอื่นๆ หรือออกไปสถานที่ ที่มีผู้คนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า
  2. หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า รถเมล์ เป็นต้น
  3. ให้ผู้สูงอายุล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ เป็นเวลา 20 วินาที หรืออาจใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์แทน

โรคประจำตัวเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด-19

  1. เลี่ยงการสัมผัสตัว สัมผัสมือผู้สูงอายุ และไม่ให้ผู้สูงอายุไปสัมผัสตัวผู้อื่น
  2. ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ของผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ
  3. หากมีความจำเป็นต้องพาผู้สูงอายุไปข้างนอก ให้สวมหน้ากากอนามัยป้องกันอยู่เสมอ
  4. เตรียมข้าวของเครื่องใช้ อาหาร เช่น น้ำดื่ม สำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น
  5. สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวให้จัดเตรียมยาและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประจำให้พร้อมและเพียงพอต่อการดูแลรักษา
  6. หากมีโรคประจำตัวที่ต้องพบแพทย์เป็นประจำ อาจลองปรึกษาแพทย์ว่าสามารถคุยปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์หรือแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ได้ไหม หรืออาจให้ผู้สูงอายุรับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้านแทน เพื่อเลี่ยงการเดินทางไปโรงพยาบาล
  7. เตือนให้ผู้สูงอายุหากิจกรรมทำ อย่าให้อยู่เฉยๆ อาจให้รดน้ำต้นไม้ ทำกายบริหารที่บ้าน และระมัดระวังหากต้องปล่อยผู้สูงอายุไว้ที่บ้านเพียงลำพัง เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุได้ โดยคนในครอบครัวต้องคอยพูดคุย โทรหา หรือวิดีโอคอลหาบ้าง
  8. เตรียมแผนสำรองอย่างรอบคอบในกรณีที่ผู้สูงอายุป่วยกระทันหันจะได้ดูแลได้ทัน
  9. ตั้งเบอร์โทรด่วนให้ผู้สูงอายุ เช่นการกด 0 ค้างไว้ แล้วโทรเข้าเบอร์ของลูกหลานทันที เพื่อที่เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ช่วยเหลือทัน
  10. หากสมาชิกภายในบ้านมีอาการป่วย หรือกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้แยกกันอยู่เพื่อเฝ้าระวังอาการ
  11. คอยติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถืออยู่เสมอ
  12. หากผู้สูงอายุมีอาการป่วยให้รีบติดต่อหรือเข้าพบแพทย์ทันที

เช็กอาการ แบบไหนป่วยไข้หวัด แบบไหนติดเชื้อโควิด-19

อาการ

Covid-19ไข้หวัด

ภูมิแพ้

ไอ มีเสมหะ

ไอ ไม่มีเสมหะ

ปวดศีรษะ

มีน้ำมูก

ตาแดงและคัน

จาม

ไข้สูงเฉียบพลัน

มีไข้ (ไม่สูง)

หายใจติดขัด

เจ็บคอ

ปวดเมื่อยตามตัว

อาการโควิด-19 เป็นอย่างไร? เช็กด่วน! อาการแบบนี้ เราติดหรือยังนะ?

         ในสถานการณ์ที่ผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นทุกวัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ครอบครัวใดที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ การพาผู้สูงอายุไปตรวจหาเชื้อไวรัสก่อนก็ถือว่าเป็นการป้องกันที่ดี ซึ่งการพาผู้สูงอายุไปตรวจควรที่จะไปโดยรถยนต์ส่วนตัว หลีกเลี่ยงวันหยุดที่อาจจะมีคนไปตรวจเยอะ แต่งกายรัดกุม และใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก

ตรวจโควิด-19

         ในขณะนี้หลาย ๆ โรงพยาบาล ได้เปิดรับให้ประชาชนสามารถไปตรวจหาเชื้อโรค โควิด-19 แล้ว แต่ทั้งนี้ก็จะมีค่าจ่ายใช้ค่อนข้างสูง สำหรับคนที่ไม่พร้อมสำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายก็อาศัยการดูแลตัวเองตามหลักการที่กล่าวไปข้างต้น หรือหากมีอาการสุ่มเสี่ยงแต่ไม่แน่ใจ ให้กักตัวเอง 14 วันเพื่อรอดูอาการ

โรงพยาบาลที่เปิดรับตรวจเชื้อไวรัสโควิด -19

ที่รายชื่อโรงพยาบาลค่าใช้จ่าย/ค่าตรวจ
1.รพ.จุฬาลงกรณ์3,000 – 6,000 บาท
2.รพ.ราชวิถี3,000 – 6,000 บาท
3.รพ.รามาธิบดี 5,000 บาท ขึ้นไป
4.รพ.วิชัยยุทธ7,500 บาท
5.รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์แนชั่นแนล7,900 – 10,000 บาท
6.รพ.พญาไท 26,100 บาท
7.รพ.พญาไท 36,100 บาท
8.รพ.แพทย์รังสิต8,000 บาท
9.รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์9,900 บาท
10. สถาบันบำราศนราดูร8,000-14,000 บาท
11.รพ.กรุงเทพคริสเตียน5,000 – 10,000 บาท
12.รพ.พระราม 98,000 – 10,000 บาท
13.รพ.เปาโลเมโมเรียล5,000 บาท ขึ้นไป
14.รพ.เปาโลเมโมเรียลโชคชัย 45,000 บาท ขึ้นไป
15.รพ.เปาโลเมโมเรียลสมุทรปราการ5,000 บาท ขึ้นไป
16.รพ.เปาโลเมโมเรียลรังสิต5,000 บาท ขึ้นไป
17.รพ.เปาโลเมโมเรียลเกษตร5,000 บาท ขึ้นไป
18.รพ.เปาโลเมโมเรียลพระประแดง5,000 บาท ขึ้นไป

หากเป็นผู้เข้าข่ายสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากไม่เข้าข่ายแต่มีความประสงค์ที่จะตรวจผู้เข้ารับบริการต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

สรุป

         ในแต่ละช่วงอายุ ผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตมากที่สุด และความเสี่ยงยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวอยู่ด้วย เนื่องมาจากภูมิคุ้มกันที่ต่ำและร่างกายที่ไม่แข็งแรง ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลตัวเองให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการออกไปพบปะผู้คนข้างนอก ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวทำตามคำแนะนำของแพทย์และงดใช้ยาเองเป็นอันขาด และที่สำคัญควรจัดเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลตัวเองให้พร้อมกับสถานการณ์ไวรัสแพร่ระบาดอยู่เสมอ

BED & MATTRESS PRODUCT

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup