อาการโควิด-19 เป็นอย่างไร? เช็กด่วน! อาการแบบนี้ เราติดหรือยังนะ?

อาการโควิด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         สถานการณ์การระบาดของ โรคโควิด-19 ยังไม่ทันคลี่คลาย ก็เกิดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยขึ้นอีกครั้ง ปัจจุบันประเทศไทย มียอดผู้ติดเชื้อกว่า 5,762 (22.ธ.ค.63) เสียชีวิตไปแล้ว 60 คน ซึ่งในจำนวนเหล่านี้ ยังมีประชากรอีกหลายคน ที่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ นั่นหมายถึงว่า อาจจะมีผู้ติดเชื้อมากกว่าจำนวนเหล่านี้ คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่า? เช็กเลย ว่าอาการที่คุณเป็นอยู่ไม่ใช่ อาการโควิด – 19?!?

สารบัญ

ทำความเข้าใจให้ชัด โควิด-19 คืออะไร? 

        การกลับมาระบาดของ โรคโควิด–19 เริ่มขยายตัวเป็นวงกว้าง จำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เริ่มการระบาดครั้งแรก ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่า 78.6 ล้านคนทั่วโลก (23 ธ.ค.63) ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.73 ล้านคน เป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ แถมยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย ดังนั้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้ชัด เพื่อที่จะได้ป้องกันตนเองจากโรคร้ายนี้กันค่ะ

อาการโควิด

         ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่ถูกพบครั้งแรก เมื่อปี 1960 (พ.ศ.2503) เรียกได้ว่าถูกค้นพบมากว่า 60 ปีแล้วล่ะค่ะ โดยชื่อโคโรนา มาจากรูปร่างลักษณะของเชื้อไวรัสที่คล้ายกับมงกุฎ (คำว่า Corona มาจากภาษาละติน แปลว่า มงกุฎ) ซึ่งเจ้าไวรัสโคโรนานี้ สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์เลยค่ะ

         ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดในตอนนี้ เป็นสายพันธุ์ที่ 7 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน พบครั้งแรกเมื่อปี 2019 (พ.ศ.2562) ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ปัจจุบันโรคที่เกิดจากไวรัสนี้ ถูกเรียกว่า “COVID-19” (โควิด-19) ซึ่ง CO ย่อมาจาก Corona , VI ย่อมาจาก Virus , D แทน Disease และ 19 มาจากปีที่ค้นพบเชื้อไวรัสนี้ครั้งแรก คือปี 2019 ค่ะ


โรคโควิด-19 ติดต่อได้อย่างไร?

         เชื้อไวรัสโคโรนา สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คน ผ่านจากการไปสัมผัสหรือกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อไวรัส และยังสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน ได้ด้วยการสูดเอาเชื้อไวรัสเข้าร่างกาย ที่มาจากการไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อ ซึ่งเมื่อเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย จะมุ่งหน้าเข้าไปที่ลำไส้ ม้าม และปอด โดยมีระยะฟักตัว 2 – 14 วัน จากนั้นก็ยังคงแพร่กระจายโรคต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ

รู้หรือไม่?!? ผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพียง 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่น ๆ ได้เฉลี่ย 2 – 4 คนเลยนะ!

ใครเสี่ยงบ้าง?   

         จริง ๆ โรคโควิด-19 สามารถติดต่อได้ทุกคนเลยนะคะ แต่จะมีคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป ดังนี้ค่ะ

จากการสำรวจสถิติผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยที่สุดตั้งแต่พบมา คือ 1 เดือน และมากที่สุด คือ 97 ปี จะเห็นได้ว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อได้ทุกเพศทุกวัยเลยล่ะค่ะ

สัญญาณเตือน อาการโควิด เป็นแบบนี้ติดหรือยังนะ?

         หากใครที่กำลังกังวลว่าตัวเองติดเชื้อหรือยัง โดยเฉพาะผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมา ให้ลองกักตัว ไม่พบปะผู้คน แล้วลองสังเกตอาการตนเองเป็นระยะเวลา 14 วัน หลังจากไปสัมผัสกับผู้ป่วยหรือไปในพื้นที่เสี่ยงดูนะคะ แต่ถึงแม้ไม่มีความเสี่ยง ก็ให้สังเกตอาการผิดปกติของตนเองได้ ดังนี้ค่ะ

อาการโควิด

ภาพและข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์

         องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้สำรวจและสรุปอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้ค่ะ

  • 88% มีไข้ สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • 68% ไอแห้ง ๆ
  • 38% ไม่มีเรี่ยวแรง
  • 33% ไอแบบมีเสมหะ
  • 18% หายใจลำบาก หายใจเหนื่อยหอบ
  • 14% เจ็บคอ
  • 14% ปวดหัว
  • 14% ปวดกล้ามเนื้อ
  • 11% หนาวสั่น
  • นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ แต่จะพบได้น้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน คัดจมูก ท้องเสีย

         หากสำรวจแล้วพบว่าตนเองมีอาการดังนี้ โดยเฉพาะอาการหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยด่วนนะคะ ระหว่างนั้นงดการสัมผัสและใกล้ชิดกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ค่ะ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

สงสัยว่าเสี่ยงหรือเปล่า? ลองทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 คลิกเลย!

          เรียกได้ว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคใหม่ที่น่ากลัวมากเลยล่ะค่ะ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่รักษาโรคนี้ได้ ดังนั้น ต้องดูแลตนเองให้ดีนะคะ เรามาดูกันว่า วิธีป้องกันโควิดว่ามีอะไรบ้าง? (รวมวิธีป้องกันโควิด-19  และป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ได้จริง Click!!!)

อาการโควิด

  1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อ และแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น (วิธีดูหน้ากากอนามัยปลอม ดูอย่างไร แบบไหนที่ได้มาตรฐาน? Click!!!)
  2. ควรทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น
  3. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ และใช้เจลแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อโรค (รวมสูตรทำน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส โควิด-19 ง่ายๆ ไม่ใช้แอลกอฮอล์ Click!!!)
  4. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และงดเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง
  5. หลีกเลี่ยงการนำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
  6. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  7. หมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงหรือมี อาการโควิด-19 ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น และรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

รวมอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 จาก ALLWELL มีไว้รับมือได้ชัวร์!

โควิด-19 เป็นโรคร้ายที่น่ากลัวมากเลยใช่ไหมล่ะคะ? แค่ก้าวออกจากบ้านเท่านั้นก็เริ่มเสี่ยงแล้ว แต่จะห้ามไม่ให้ออกจากบ้านเลย ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราป้องกันโรคร้ายนี้ได้

รักษาโควิดที่บ้าน Home Isolation

1.เครื่องวัดความดัน

         ช่วงโควิดแบบนี้ความดันเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะช่วงที่เราป่วยอาจทำให้ค่าความดันสูงหรือต่ำจนเป็นอันตราย แต่ค่าความดันนั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้งานง่ายๆ ติดบ้านไว้สักเครื่องค่ะ ยิ่งก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด แนะนำให้ตรวจความดันก่อนออกจากบ้าน เพราะความดันสูงไม่สามารถฉีดวัคซีนได้นะคะ ดังนั้น มีไว้อุ่นใจกว่าค่ะ 

เครื่องวัดความดัน Allwell ใช้งานง่าย พกพาสะดวก อุปกรณ์ครบชุด

2.ปรอทวัดไข้

         อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องของอุณหภูมิ เพราะอาการหลัก ๆ ของโรคโควิด-19 คือระดับอุณหภูมิที่ขึ้นสูง กว่า 37.5 องศา แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเรามีไข้เกิน 37.5 องศาหรือยัง? หากเอามือทาบหน้าผากดู ก็คงบอกเป็นตัวเลขไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย อย่างปรอทวัดไข้ หรือเทอร์โมมิเตอร์ เข้ามาช่วยบอกตัวเลขที่แม่นยำให้กับเราค่ะ

         ALLWELL มีเครื่องวัดอุณหภูมิดิจิตอล รุ่น T14 บอกเลยว่าใช้งานได้ง่ายมาก ๆ ค่ะ แค่กดปุ่ม แล้วรอเสียงเตือน เเพียง 10 วินาที ก็รู้ผลแล้วล่ะค่ะ เมื่อวัดเสร็จยังบันทึกผลการวัดครั้งล่าสุดได้ด้วยนะคะ ด้วยตัวเครื่องที่เป็นดิจิตอล จึงปลอดจากสารปรอทที่เป็นอันตราย ตัววัสดุเองก็แข็งแรง ไม่แตกหักง่าย ๆ ส่วนปลายโค้งงอได้ เด็กเล็ก ๆ ก็ใช้ได้ไม่อันตรายแน่นอนค่ะ อุปกรณ์สำคัญแบบนี้ควรมีติดบ้านไว้สักเครื่องนะคะ

คลิก อ่านบทความ : ปรอทวัดไข้ แบบแก้ว VS แบบดิจิทัล ใช้แบบไหนถึงจะดี?

3.เครื่องวัดอุณหภูมิ แบบอินฟราเรด

         สำหรับใครที่มีจำนวนสมาชิกในบ้านหลายคน หรือต้องการวัดอุณหภูมิ เพื่อคัดกรองคนก่อนเข้าบ้าน เข้าออฟฟิศ หรือร้านค้า การจะใช้ปรอทวัดไข้กับทุกคนก็คงจะรวดเร็วไม่พอ อีกทั้งยังให้คนจำนวนมากใช้ปรอทวัดไข้อันเดียวกันทุกคนก็คงเป็นไปได้ แต่จะให้ซื้อหลาย ๆ เครื่อง ก็คงวุ่นวายเกินจำเป็น แล้วแบบนี้จะทำอย่างไรดีล่ะ?

         ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ ALLWELL มีเครื่องวัดอุณหภูมิ แบบอินฟราเรด รุ่น E122 วัดอุณหภูมิได้โดยไม่ต้องสัมผัสผิวหรือสัมผัสตัวกันเลยล่ะค่ะ แค่นำตัวเครื่องจ่อไปที่หน้าผาก เพียง 1 วินาทีก็รู้ผลแล้วค่ะ อีกทั้งยังมีหน้าจอ LED ที่เปลี่ยนสีตามอุณหภูมิ ทั้งอุณหภูมิปกติ มีไข้ต่ำหรือสูง ก็ตรวจจับได้หมดเลยค่ะ และยังมีเสียงแจ้งเตือนหากผลที่วัดได้ผิดปกติ ทำให้ไม่ต้องจ้องตัวเลขนาน ๆ แค่เพียงสังเกตสีหน้าจอและฟังเสียงแจ้งเตือนก็รู้ผลแล้วล่ะค่ะ นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิต ยังได้รับมาตรฐาน ISO 13485:2016, CE และทดสอบตามมาตรฐาน EN60601-1-2 ไว้ใจได้อย่างแน่นอนค่ะ

คลิก อ่านบทความ : เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก แบบอินฟราเรดใช้คัดกรองโควิด-19 ได้จริงไหม?

4.เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด

         ในปัจจุบัน มีการพบว่า มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลายราย ไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น กว่าจะรู้ตัวอีกทีอาการก็รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตแล้ว แต่จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มักมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการผิดปกติที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการใช้ เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด

เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด

         เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ALLWELL สามารถใช้ติดตามระดับออกซิเจนในกระแสเลือด ค่าการไหลเวียนเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจ จึงสามารถนำมาใช้ติดตามและเฝ้าระวังอาการโควิด-19 ได้ เห็นได้จากปัจจุบันตามโรงพยาบาลสนามต่าง ๆ ก็ได้มีการนำเครื่องวัดออกซิเจนนี้ไปติดตามอาการผิดปกติในผู้ป่วยโควิดด้วยค่ะ ซึ่งเครื่องวัดออกซิเจนรุ่นนี้ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล จึงมีความแม่นยำสูง มาพร้อมอุปกรณ์ครบชุดเลยค่ะ

ใครบ้างที่เข้าเกณฑ์ตรวจโควิด – 19 ฟรี!

         ในปัจจุบัน มีหลาย ๆ โรงพยาบาลที่รับตรวจหาเชื้อโควิด-19 แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเลยล่ะค่ะ แต่สำหรับคนบางกลุ่มสามารถเข้ารับการตรวจโควิดฟรีด้วยนะคะ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ค่ะ

ตรวจโควิดฟรี

1.มีอาการป่วย (ข้อใดข้อหนึ่ง)

  • ไอ
  • มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ
  • หายใจเร็วเหนื่อย หายใจลำบาก
  • เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น หรือลิ้นไม่รับรส
  • มีไข้ อุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป

2.เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีประวัติเสี่ยง (ข้อใดข้อหนึ่ง)

  • ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ที่อาจจะหรือเป็นโรคโควิด 19
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์
  • รักษาอาการปอดอักเสบแล้วไม่ดีขึ้น
  • เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้

ถ้ามีเกณฑ์ตรงกับข้อ 1 หรือ 2 หรือทั้งสองข้อ ให้สังเกตตนเอง ย้อนหลัง 14 วันก่อนวัน ก่อนเริ่มป่วย ว่าประวัติเสี่ยงหรือไม่

3.เป็นผู้มีประวัติเสี่ยง (ข้อใดข้อหนึ่ง)

  • เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน

หลังจากสำรวจตนเองตามข้างต้นแล้ว จะมีผลลัพธ์ดังนี้ค่ะ

  • หากมีเกณฑ์ทั้งข้อ 1 และ 3 หรือทั้งสามข้อ : เข้าเกณฑ์ตรวจโควิด-19 ฟรี สามารถเข้าตรวจในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่มี (บัตรทอง ประกันสังคม ราชการ)
  • หากมีเกณฑ์ข้อ 1 แต่ไม่มีข้อ 3 : ให้รักษาตามอาการก่อน แต่หากมีอาการนาน 48 ชั่วโมงแล้ว โดยที่ไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์
  • หากมีเกณฑ์ข้อ 3 : ให้กักตัว 14 วัน เพื่อดูว่ามีอาการตาม ข้อ 1 หรือไม่ แต่ถึงแม้จะยังไม่มีอาการ ก็สามารถตรวจหาเชื้อโควิดได้ฟรี
  • หากไม่มีข้อใดข้อหนึ่ง : ไม่เข้าเกณฑ์การตรวจโควิดฟรี

โควิดไข้หวัด

ภาพจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

         นอกจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่รับตรวจโควิดฟรีแล้ว ยังมีสถานที่อื่น ๆ อีก ดังนี้ค่ะ

รถตรวจโควิด 19 เคลื่อนที่ในกรุงเทพมหานคร

  • ต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนที่ BKK COVID-19 หากทำแบบประเมินแล้วเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับมา เพื่อประเมินอาการอีกครั้ง
  • หากเข้าเกณฑ์ รถบริการเคลื่อนที่พร้อมเจ้าหน้าที่ จะลงพื้นที่ไปทดสอบการติดเชื้อถึงบ้านหรือสถานที่ใกล้เคียง ฟรี !
  • หากพบว่าติดเชื้อ เจ้าหน้าที่จะจัดรถฉุกเฉิน เพื่อรับตัวไปรักษาในโรงพยาบาลต่อไป

รถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย พระราชทาน         

         จะออกตรวจหาผู้ติดเชื้อในพื้นที่เสี่ยง(พื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อ) และพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

สรุป

         ในปัจจุบันยังไม่มีท่าทีว่าไวรัสนี้จะหายไป ดังนั้นต้องคอยหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอนะคะ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือพื้นที่เสี่ยง และที่สำคัญที่สุด ก่อนออกจากบ้านจะต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง และคอยตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกายอยู่เสมอนะคะ หากพบอาการผิดปกติ โดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบการหายใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเลยนะคะ

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup