เมื่อผู้ป่วยต้องกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ภารกิจสำคัญของครอบครัวคือการมองหาอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ดีที่สุด เพื่อใช้ในการดูแลชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเตียงนอน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้มากที่สุด โดยผู้ป่วยแต่ละราย จะมีรูปแบบการใช้งานเตียงที่แตกต่างกันไป ในบางรายอาจจะต้องใช้นอน กินข้าว ขับถ่าย หรืออาบน้ำเลยก็ได้ บทความจึงมี เตียงคนไข้ไฟฟ้า หรือเตียงปรับระดับ ที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละประเภทมาฝากกันค่ะ
สารบัญ
- เตียงคนไข้ไฟฟ้าแบบไหน เหมาะกับผู้ป่วยประเภทใด?
- เตียงคนไข้ไฟฟ้า ALLWELL แต่ละรุ่นต่างกันอย่างไร?
- อุปกรณ์เสริมที่มากับเตียงมีอะไรบ้าง?
เตียงคนไข้ไฟฟ้า แบบไหน เหมาะกับผู้ป่วยประเภทใด?
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า “เตียงแบบไหนก็ใช้งานได้เหมือนกันหมด” “ผู้ป่วยจะใช้เตียงแบบไหนก็ได้” ความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ผิดนะคะ เพราะผู้ป่วยแต่ละราย มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง ที่แตกต่างกันไป เตียงผู้ป่วยจึงถูกออกแบบมาแตกต่างจากเตียงธรรมดา และมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ป่วยแต่ละประเภท โดยเฉพาะกลไกพิเศษในการปรับระดับต่าง ๆ ที่เรียกว่า ไกร์
ไกร์เตียง คืออะไร?
ไกร์เตียง คือ กลไกการทำงานของเตียงผู้ป่วย ในการปรับท่าทางต่าง ๆ เช่น การปรับระดับสูง – ต่ำ, ปรับพนักพิง เป็นต้น โดยเตียงผู้ป่วยจะมีตั้งแต่ 1 ไกร์ ไปจนถึง 5 ไกร์ ซึ่งแต่ละแบบ จะเหมาะกับการใช้งานผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป ดังนี้
จำนวนไกร์ คือ จำนวนท่าที่ปรับได้ แต่ท่าทางที่ปรับได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต
- 1 ไกร์ : สามารถปรับบริเวณพนักพิงหลัง (หัวเตียง) ได้เท่านั้น จะไม่สามารถปรับบริเวณอื่น ๆ ได้
- 2 ไกร์ : เป็นเตียงที่สามารถปรับได้ 2 ท่า โดยส่วนใหญ่สามารถปรับพนักพิงหลัง และท่าชันเข่า ในส่วนของท่าชันเข่า จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ไหลมาที่ปลายเตียง และช่วยลดอาการปวดหลัง เมื่อผู้ป่วยต้องนั่งเป็นระยะเวลานานได้
- 3 ไกร์ : โดยส่วนใหญ่สามารถปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า และระดับความสูง – ต่ำของเตียงได้ ซึ่งความสูง – ต่ำของเตียง จะช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ และอาการบาดเจ็บขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้
- 4 ไกร์ : โดยส่วนใหญ่สามารถปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง – ต่ำของเตียง และท่าหัวสูง – เท้าต่ำได้
- 5 ไกร์ : โดยส่วนใหญ่สามารถปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง – ต่ำของเตียง ท่าหัวสูง – เท้าต่ำ และท่าหัวต่ำ – เท้าสูงได้
นอกจากผู้ป่วยแล้ว เตียงไฟฟ้ายังเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่แม้จะไม่ได้มีอาการเจ็บป่วย แต่จะช่วยในการดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรค และอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้
เตียงคนไข้ไฟฟ้า ALLWELL แต่ละรุ่นต่างกันอย่างไร?
เนื่องจากเตียงคนไข้ไฟฟ้า มีราคาที่ค่อนข้างสูงสำหรับใครหลาย ๆ คน ดังนั้น เมื่อเสียเงินซื้อทั้งทีก็อยากได้สิ่งที่ดีที่สุดใช่ไหมล่ะคะ บทความนี้ จึงอยากจะแนะนำเตียงไฟฟ้าจาก ALLWELL ที่มีฟังก์ชันครบเหมือนกับโรงพยาบาล แถมยังมีดีไซน์สวย เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกป่วย หรือหม่นหมอง เหมือนกับนอนเตียงโรงพยาบาลเลยล่ะค่ะ
ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองที่แตกต่างกันไป บทความนี้จึงขอแบ่งประเภทผู้ป่วยออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ค่ะ
- ระดับสีเขียว คือ ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย ที่รู้สึกตัวได้ดี โดยส่วนใหญ่สามารถดูแลตนเองได้ อาจต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแลบ้างในบางกิจกรรม
- ระดับสีเหลือง คือ ผู้ป่วยที่รู้สึกตัว แต่มีอาการซึมหรือมึนงง เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย ผู้ดูแลต้องคอยป้อนอาหารให้ สามารถขับถ่ายเองบนเตียงได้ แต่ต้องทำความสะอาดให้
- ระดับสีส้ม คือ ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยมาก แต่สามารถพลิกตัวเองได้ รู้สึกตัว ลืมตาได้ ขับถ่ายได้เองโดยไม่ต้องสวน และผู้ดูแลต้องป้อนอาหาร ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแลเกือบทุกกิจกรรม
- ระดับสีแดง คือ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวและไม่ตอบสนอง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย ต้องให้อาหารทางสาย ขับถ่ายเองไม่ได้ ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแลในทุกกิจกรรม
รุ่นเตียงไฟฟ้า |
ปรับพนักพิงหลัง/ขา/สูง-ต่ำ/ท่านั่ง |
ปรับหัวต่ำเท้าสูง |
ถอดหัวท้ายเตียง |
ชนิดราวกั้นข้างเตียง |
เหมาะสำหรับผู้ป่วย |
Pantographe 3/4 |
✓ | ✓ | ✓ |
1 ตอน |
–เหลือง
–ส้ม –แดง |
Pantographe 1/2 |
✓ | – | ✓ |
2 ตอน |
–เขียว
–เหลือง –ส้ม –แดง |
Dali low Entry |
✓ |
– |
– |
1 ตอน |
–เหลือง
–ส้ม –แดง |
FlooreV4 |
✓ | ✓ | – |
2 ตอน |
–เขียว
–เหลือง –ส้ม –แดง |
Libra |
✓ | – | ✓ |
2 ตอน |
–เขียว
–เหลือง –ส้ม –แดง |
Venta |
✓ | – | ✓ |
2 ตอน |
–เขียว
–เหลือง –ส้ม –แดง |
1. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Pantographe 3/4
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยระดับ สีเหลือง/ส้ม/แดง
- ราวข้างเตียง 3/4 (1 ตอน) ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยพลัดตกเตียงได้
- ถอดหัวท้ายเตียงได้ อำนวยความสะดวกในการทำหัตถการ หรือดูแลผู้ป่วย เช่น สระผม อาบน้ำ เป็นต้น
- มีระบบ CPR Manual ปรับระดับเตียงให้พร้อมสำหรับการทำ CPR ในกรณีฉุกเฉินได้
- ปรับระดับได้ต่ำสุด 21 เซนติเมตร อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยลงจากเตียงได้ง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
2.เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Pantographe 1/2
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยระดับ สีเขียว/เหลือง/ส้ม/แดง
- ราวข้างเตียง 2 ตอน สามารถให้ผู้ป่วยใช้พยุงตัว เป็นที่ค้ำยันขณะลุกขึ้นยืน หรือทำกายภาพบำบัด และสามารถกั้นไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียงได้
- ถอดหัวท้ายเตียงได้ อำนวยความสะดวกในการทำหัตถการ หรือดูแลผู้ป่วย เช่น สระผม อาบน้ำ เป็นต้น
- มีระบบ CPR Manual ปรับระดับเตียงให้พร้อมสำหรับการทำ CPR ในกรณีฉุกเฉินได้
- ปรับระดับได้ต่ำสุด 21 เซนติเมตร อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยลงจากเตียงได้ง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
3.เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Dali Low Entry
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยระดับ สีเหลือง/ส้ม/แดง
- ราวข้างเตียง 3/4 (1 ตอน) ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยพลัดตกเตียงได้
- มีเสาดึงตัวผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพยุงตัวได้ลุกจากเตียงได้
- สามารถพับเก็บได้ ช่วยประหยัดพื้นที่ และสะดวกต่อเคลื่อนย้าย
- ปรับระดับได้ต่ำสุด 23 เซนติเมตร อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยลงจากเตียงได้ง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
4.เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Floore V4 (รุ่น Top Hit ของผู้สูงอายุ)
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยระดับ สีเขียว/เหลือง/ส้ม/แดง
- ราวข้างเตียง 2 ตอน สามารถให้ผู้ป่วยใช้พยุงตัว เป็นที่ค้ำยันขณะลุกขึ้นยืน หรือทำกายภาพบำบัด และสามารถกั้นไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียงได้
- ออกแบบมาให้มีไฟใต้เตียง อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ขณะลุกไปเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน
- ควบคุมการปรับท่าด้วยรีโมทไฟฟ้า แผงควบคุมปลายเตียง และสมาร์ทโฟน ผ่านแอพพลิเคชัน ช่วยให้ใช้งานง่าย สะดวกทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล
- ปรับระดับได้ต่ำสุด 23 เซนติเมตร อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยลงจากเตียงได้ง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
5.เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Libra
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยระดับ สีเขียว/เหลือง/ส้ม/แดง
- ราวข้างเตียงแบบ Mobi-flex แบ่งเป็น 2 ตอนเต็มเตียง ปรับขึ้นลงได้ 3 ช่วยให้ผู้ป่วยใช้พยุงตัว เป็นที่ค้ำยันขณะลุกขึ้นยืน หรือทำกายภาพบำบัด และสามารถกั้นไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียงได้
- ถอดหัวท้ายเตียงได้ อำนวยความสะดวกในการทำหัตถการ หรือดูแลผู้ป่วย เช่น สระผม อาบน้ำ เป็นต้น
- ปรับระดับได้ต่ำสุด 25 เซนติเมตร อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยลงจากเตียงได้ง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
6.เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Venta
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยระดับ สีเขียว/เหลือง/ส้ม/แดง
- ราวกั้นเตียงแบบ Telescopic 2 ตอน สามารถปรับขึ้นได้ด้วยมือเดียว ไม่ต้องใช้แรงเยอะ ผู้ป่วยก็สามารถปรับเองได้
- ถอดหัวท้ายเตียงได้ อำนวยความสะดวกในการทำหัตถการ หรือดูแลผู้ป่วย เช่น สระผม อาบน้ำ เป็นต้น
- ปรับระดับได้ต่ำสุด 25 เซนติเมตร อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยลงจากเตียงได้ง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
อุปกรณ์เสริมที่มากับ เตียงคนไข้ไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?
นอกจากเตียงผู้ป่วยหรือเตียงคนไข้ไฟฟ้าแล้ว อุปกรณ์เสริมที่มากับเตียงก็สำคัญไม่แพ้กันเลยค่ะ เรามาดูกันว่า อุปกรณ์เสริมเตียงคนไข้หลัก ๆ ที่จำเป็นต่อผู้ป่วย มีอะไรบ้าง
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Floore V4 นำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส
ผู้ป่วยบางราย มีความจำเป็นจะต้องให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด จึงจำเป็นจะต้องมีเสา เพื่อแขวนถุงน้ำเกลือของผู้ป่วย โดยเสาจะมีสองแบบคือ เสาน้ำเกลือแบบมีล้อ (เหมือนกับโรงพยาบาล) และแบบที่เสียบกับข้างเตียงได้เลย ซึ่งจะประหยัดพื้นที่มากกว่าแบบแรก
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่น Dali Low Entry นำเข้าจากประเทศเยอรมัน
สำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกขึ้นจากเตียงเองได้ แต่อาจจะลำบาก เนื่องจากร่างกายที่ไม่ค่อยแข็งแรง เสาดึงตัวผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการล้มตัวลงขณะลุก
โต๊ะคร่อมเตียง รุ่น ENT-1302A (ซ้าย) และรุ่น ENT-1002C (ขวา)
โต๊ะคร่อมเตียง จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยขณะอยู่บนเตียง เช่น เวลาทานอาหาร หรือสำหรับผู้ดูแลใช้วางสิ่งของต่าง ๆ ขณะดูแลผู้ป่วย
ที่นอนโฟมลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ รุ่น MERCURY นำเข้าจากประเทศอังกฤษ
ปัญหาใหญ่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนเตียง คือ เรื่องแผลกดทับ ซึ่งเมื่อเป็นแล้วอาจอันตรายถึงชีวิต การใช้ที่นอนป้องกันแผลกดทับ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาเหล่านี้ได้
5.ผ้ารองกันเปื้อน/ผ้าขวางเตียง
ผ้ารองกันเปื้อน ชนิดกันน้ำ ALLWELL
สำหรับผู้ป่วยปัสสาวะ หรืออุจจาระรดที่นอน หรือแม้จะใส่ผ้าอ้อมแล้ว ก็ยังคงซึมลงบนที่นอน การใช้ผ้ารองกันเปื้อนกับผู้ป่วยจะช่วยป้องกันของเหลวเหล่านั้น ไม่ให้ซึมเข้าสู่ที่นอน ช่วยลดการเกิดแผลกดทับจากความอับชื้นได้
สรุป
การนอนหลับที่ดี จะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น การใช้เตียงที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการพักฟื้นร่างกายผู้ป่วยแล้ว ยังลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุการหกล้มหรือพลัดตกเตียงได้อีกด้วยค่ะ
หากท่านไหนที่กำลังมองหาเตียงให้กับคนที่คุณรักอยู่ล่ะก็ ให้ ALLWELL ได้ทำหน้าที่ดูแลคนที่คุณรักนะคะ