เตียงปรับระดับไฟฟ้า และฟังก์ชันในการจัดท่าผู้ป่วย มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!

เตียงปรับระดับไฟฟ้า

         สำหรับผู้ป่วย ที่มีภาวะเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย หรือไม่ได้เลย จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการปรับท่าทาง หรือจัดท่าผู้ป่วย เพราะการที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ซึ่งฟังก์ชันของ เตียงปรับระดับไฟฟ้า ถูกออกแบบมา เพื่อการปรับท่าทางผู้ป่วยโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ท่าศีรษะต่ำ – ปลายเท้าสูง ท่าชันเข่า ท่านั่ง แล้วท่าทางเหล่านี้ มีประโยชน์กับผู้ป่วย หรือผู้ดูแลอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบค่ะ

สารบัญ

เตียงปรับระดับไฟฟ้า ท่าทางต่าง ๆ ที่ปรับได้มีประโยชน์อย่างไร?

         เตียงปรับระดับไฟฟ้า เป็นเตียงที่ถูกออกแบบมา เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องของสุขภาพ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล โดยเฉพาะในเรื่องของฟังก์ชันในการปรับท่าทางต่าง ๆ ซึ่งแต่ละท่าทาง เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ (อ้างอิงข้อมูลจาก : การพยาบาลพื้นฐาน ปฏิบัติการพยาบาล อาจารย์กรวรรณ สุวรรณสาร)

อ่านบทความ : เตียงคนไข้ไฟฟ้า เตียงปรับระดับ ซื้อแบบไหนให้เหมาะกับผู้ป่วยที่บ้าน คลิกเลย!

1.ท่าปรับระดับต่ำ

เตียงปรับระดับไฟฟ้า

        การปรับระดับเตียงให้อยู่ในระดับที่ต่ำ ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ สามารถก้าวลงจากเตียงได้ โดยไม่เสียการทรงตัว เพราะเท้าสัมผัสได้อย่างพอดี จึงลดความเสี่ยง และอาการบาดเจ็บ ในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม ลื่นล้ม การพลัดตกเตียง เป็นต้น

2.ท่าปรับระดับสูง

เตียงปรับระดับไฟฟ้า

         ระดับเตียงที่สูง จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแล สามารถดูแลผู้ป่วย ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การบีบนวดผู้ป่วย การเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือการทำความสะอาดใต้เตียง ช่วยให้ผู้ดูแลไม่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ลดปัญหาการปวดหลังของผู้ดูแล

3.ท่านอนศีรษะสูง – เท้าต่ำ หรือท่านั่ง

เตียงผู้ป่วย

         ท่าทางนี้ จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น ปอดสามารถขยายตัวได้ดี บรรเทาอาการกรดไหลย้อน หรือผู้ป่วยที่มีแผลผ่าตัด บริเวณหน้าท้อง ท่าทางนี้ จะช่วยระบายหนองออกจากแผล หรือท่อระบายได้ดียิ่งขึ้น จึงช่วยลดอาการอักเสบภายในช่องท้องได้ นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ สามารถใช้ท่านี้ ในการอำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การกินข้าว อ่านหนังสือ การล้างหน้าแปรงฟัน เป็นต้น

4.ท่านอนศีรษะต่ำ – เท้าสูง

เตียงไฟฟ้า

         ท่าทางนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เสียเลือดมาก ต้องการให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงสมองให้มากขึ้น และยังช่วยในการลดอาการบวมที่ขา ให้เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาพยาบาล เช่น การสวนล้างช่องคลอด เป็นต้น

5.ท่าชันเข่า

เตียงคนป่วย

         ช่วยในการหมุนเวียนเลือดบริเวณขา ลดอาการปวดเมื่อยของขาได้ นอกจากนี้ ท่าชันเข่า ยังใช้ในการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ได้ง่ายขึ้น

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

หากไม่ปรับเปลี่ยนท่าทางผู้ป่วย จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?

         หลายคนอาจจะคิดว่า การปรับเปลี่ยนท่าให้ผู้ป่วย เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ แต่รู้หรือไม่คะว่า การที่ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จะส่งผลเสียทำให้เกิดโรค หรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้น้อย หรือไม่ได้เลย ถ้าไม่มีผู้ที่พลิกตัว หรือจัดท่าทางให้ บอกเลยว่าอันตรายมาก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยล่ะค่ะ!

การจัดท่าผู้ป่วย

  • แผลกดทับ เกิดมาจากแรงกดทับ ที่บริเวณผิวหนังเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดมาจากการที่ผู้ป่วย ไม่ได้เปลี่ยนท่าทางในการนอนหรือนั่ง (เตียงลม และที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับผู้ป่วย คลิก!!!)
  • มีปัญหากับกระดูก และกล้ามเนื้อ เนื่องจากการที่ไม่ได้ขยับตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้มีอัตราการสลายตัวของแคลเซียม มากกว่าการสร้างเพิ่ม ทำให้กระดูกเปราะบาง เสี่ยงต่อการหัก หรือข้อติดขัด ได้ง่ายมาก นอกจากนี้ ยังส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็กลง หรืออาจมีอาการปวดหลังได้
  • หัวใจทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในท่านอน เกือบตลอดเวลา ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากกว่าปกติ ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณเลือด ที่เข้าออกจากหัวใจ
  • เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง มักส่งผลให้เลือดคั่งในหลอดเลือดดำ โดยเฉพาะบริเวณขา จึงอาจส่งผลให้เกิดอาการขาบวมได้ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจไปอุดตันในหลอดเลือดต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ อีกด้วย
  • ปอดขยายตัวลดลง ซึ่งเกิดจากการนอนในท่านอนหงายเป็นเวลานาน ทำให้เสมหะคั่งค้างมากขึ้น เสี่ยงต่อภาวะปอดแฟบ เลือดเป็นกรดจากการหายใจ

การจัดท่าผู้ป่วย แผลกดทับ

  • ภาวะเบื่ออาหาร เพราะการนอนในท่าเดิม ๆ ทำให้เกิดความอยากอาหารน้อยลง ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยขาดสารอาหาร อ่อนเพลีย หรือเพิ่มความวิตกกังวลได้
  • ท้องผูก เพราะการที่ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้ลำไส้บีบตัวลดลง ทำให้อุจจาระค้างลำไส้ ขับถ่ายได้ลำบาก เกิดภาวะท้องอืด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว (ผู้สูงอายุท้องผูก ปัญหาที่คนในครอบครัวไม่ควรมองข้าม คลิก!!!)
  • นิ่วในทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากการที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ทำให้แคลเซียมเกิดการสลายตัวอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ แล้วตกผลึก กลายเป็นนิ่วไปอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ
  • ด้านจิตใจ ถ้าหากผู้ป่วยต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้า รู้สึกป่วยมากกว่าเดิม อาจส่งผลให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลงได้

สรุป

         เตียงปรับระดับไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมา เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแล โดยเฉพาะฟังก์ชันในการปรับท่าทางต่าง ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดท่าผู้ป่วย โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องใช้แรงเยอะ ส่งผลดีให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ น้อยลง และยังป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ดูแล ในขณะที่ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup