บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
งูสวัด เป็นโรคที่หลายคนเคยได้ยิน มาพร้อม ๆ กับความเชื่อที่พูดถึงกันว่า โรคงูสวัด ถ้าแผลพันรอบตัว รอบเอว หรือรอบคอ จะทำให้เสียชีวิตได้ บทความนี้จะมาเปิดคำตอบว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงไหม พร้อมกับให้ข้อสังเกตว่าโรคงูสวัด อาการเป็นอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคนี้ค่ะ
สารบัญ
- งูสวัด อาการเป็นอย่างไร? มาเช็กกัน!
- โรคงูสวัด แผลขึ้นพันรอบตัวแล้วตายจริงไหม?
- แท้จริงแล้ว งูสวัดเกิดจากอะไรกันแน่?
- โรคงูสวัด อาการแบบนี้ รักษานานไหม?
- เราสามารถป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างไรบ้าง?
งูสวัด อาการเป็นอย่างไร? มาเช็กกัน!
เชื่อว่าหลายคนที่อ่านบทความนี้ หลายคนกำลังกังวลใจอยู่ใช่ไหมล่ะคะว่า ตุ่มหรือผื่นที่ขึ้นตามร่างกายของคุณ ใช่อาการงูสวัดหรือเปล่า? บอกเลยว่าโรคงูสวัดไม่ได้มีเพียงแค่ลักษณะของผื่นหรือตุ่มเท่านั้น แต่ยังมีอาการอื่น ๆ ควบคู่ด้วย มาเช็กกันว่า งูสวัด อาการที่สังเกตได้มีอะไรบ้างค่ะ
งูสวัดอาการเป็นอย่างไร?
- ปวดตามเนื้อตัวผิดปกติ หรือรู้สึกปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง
- เกิดตุ่มหรือผื่นตามแนวเส้นประสาท เช่น เอว อก คอ
- ปวดบริเวณที่เกิดตุ่มเหมือนโดนไฟช็อต เนื่องจากการอักเสบ บางครั้งสัมผัสกับเสื้อผ้าก็ยิ่งปวดมากขึ้น
- ตุ่มหรือผื่นนูนขึ้นจนกลายเป็นตุ่มน้ำใส เกาะกลุ่มกันเป็นแพหรือแนว
- ตุ่มน้ำใสจะแตกออกเป็นแผล และตกสะเก็ด หลังจากหายบางคนอาจมีอาการปวดอยู่
งูสวัดอันตรายไหม?
ถ้าถามว่างูสวัด อันตรายไหม บางรายนั้นอาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคเกิดขึ้นได้หลังจากการติดเชื้อที่ตุ่มหรือผื่นผิวหนัง มีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยเกือบร้อยละ 70-80 ในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดอยู่ ถึงแม้เมื่อโรคหายแล้ว ซึ่งอาการนี้เรียกว่า postherpetic neuralgia และอาจมีการปวดเกิดขึ้นเป็นเดือน ปี หรือแม้กระทั่งตลอดชีวิตก็เป็นได้
โรคงูสวัด แผลขึ้นพันรอบตัวแล้วตายจริงไหม?
มีการพูดกันต่อ ๆ มาว่าถ้าเป็นงูสวัด แล้วผื่นที่เกิดขึ้นจะพันรอบเอวหรือรอบตัว จะทำให้ตายได้ทันที ทำให้มีความเชื่อทางไสยศาสตร์ว่าการเป็นงูสวัดจะต้องรักษาโดยการให้หมอผีเป่ายา โดยส่วนใหญ่เป็นการพ่นน้ำมนต์ลงบนผิวหนังที่เป็นแผล การรักษาด้วยวิธีนี้อาจเป็นอันตรายเนื่องจากจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย โดยเฉพาะถ้าแผลไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ทำให้ติดเชื้อและอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น
นั่นก็บอกได้เลยว่า ความเชื่อเรื่องผื่นพันครบรอบเอวหรือคอแล้วจะเสียชีวิตนั้นเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เพราะเส้นประสาทของมนุษย์จบสิ้นที่กึ่งกลางลำตัว ทำให้งูสวัดสามารถกัดกินเส้นประสาทได้เพียงครึ่งหนึ่งของลำตัวเท่านั้น ซึ่งความเชื่อนี้อาจเกิดจากการเข้าใจผิดว่าการติดเชื้องูสวัดจะทำให้ตายได้ทันที
ซึ่งจริงๆ แล้วการติดเชื้องูสวัดอาจเป็นอันตรายสำหรับบางกลุ่มคน เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งหรือโรค HIV ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทเสียหายและเกิดภาวะติดเชื้อได้ง่าย แต่การเสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดจากอวัยวะภายในล้มเหลว ไม่ได้เสียชีวิตจากงูสวัด
แท้จริงแล้ว งูสวัดเกิดจากอะไรกันแน่?
โรคงูสวัดนั้นในทางการแพทย์ ถือว่าเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งโดยงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัส Varicella Zoster Virus (VZV) ที่เป็นเชื้อเดียวกับโรค waterpox (อีสุกอีใส) หลังจากการรักษาอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัส VZV จะซ่อนอยู่ในร่างกายและอยู่ในปมประสาทหากภูมิคุ้มกันของร่างกายลดจะทำให้เชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น และออกมาทางเส้นประสาท ซึ่งอาจทำให้เกิดผื่นหรือตุ่มน้ำใสที่เรียงตัวตามเส้นประสาท เหมือนกับรูปร่างของงู
งูสวัดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมักพบบ่อยกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อาจจะเกิดอาการอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เมื่อมีการติดเชื้องูสวัด อาการที่เกิดขึ้นคือไวรัสจะซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทของร่างกาย จนกระทั่งภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง จึงทำให้เชื้อไวรัสออกมาและทำการทำลายเนื้อเยื่อตามเส้นประสาท ผลต่างๆที่เกิดขึ้นก็เป็นไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ
อาการ HIV เป็นอย่างไร? เป็นเอดส์รักษาหายไหม? รู้ทันโรคร้ายก่อนจะสายเกินไปโรคงูสวัด อาการแบบนี้ รักษานานไหม?
สำหรับการรักษางูสวัด อาการที่แพทย์พบหลังจากมีตุ่มแดงขึ้นนั้นจะทำการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น โดยจะให้ยาบรรเทาอาการปวด หรือกลุ่มยาลดไข้ ส่วนถ้าตุ่มนั้นกลายเป็นหนองเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนก็จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ
หากผู้ป่วยนั้นมีอายุมากกว่า 50 ปี หรืองูสวัด อาการตุ่มขึ้นที่บริเวณหน้า รวมถึงมีอาการเจ็บปวดอย่างมาก แพทย์จะจ่ายยาต้านไวรัสภายใน 2-3 วันหลังจากเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น และช่วยลดอาการปวดแสบ ปวดร้อนในภายหลังได้
ส่วนผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทั้งนี้บางรายอาจจะต้องแอดมินรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย และอีกอาการที่เป็นอันตรายก็คืองูสวัดขึ้นที่ตาการรักษานั้นจะต้องรักษาร่วมกับจักษุแพทย์ โดยจะได้ยาต้านไวรัสชนิดทาน และจะต้องหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตาด้วย
และในช่วงที่แผลหายแล้ว แนะนำให้ทาโลชันที่ไม่มีสารอันตราย ผิวบอบบางสามารถใช้ได้ ทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ป้องกันผิวแห้งจนนำไปสู่การอักเสบ และช่วยลดอาการคันหลังตกสะเก็ด แนะนำให้ใช้โลชันที่เป็นออแกนิค สารสกัดธรรมชาติ เพราะปลอดภัยกับผิวมากกว่าโลชันทั่วไป
เราสามารถป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างไรบ้าง?
การรักษางูสวัดนั้นไม่สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งหมด ดังนั้นการป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ วิธีหนึ่งคือการรับวัคซีนป้องกันงูสวัด ในประเทศไทยมีการให้บริการวัคซีนนี้แล้ว และพบว่าวัคซีนสามารถลดการเกิดของโรคได้ถึง 51.3% ในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี
ดังนั้นหากมีโอกาสให้ได้รับวัคซีนก็ควรรับเพื่อป้องกันการติดเชื้องูสวัดได้ดีกว่าการรักษาหลังเป็นโรคแล้ว แต่การรับวัคซีนไม่ได้รับประกันว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้อย่างแน่นอน ดังนั้นควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อให้มากที่สุด
สรุป
สำหรับผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำแนะนำให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หากมีคนใกล้ตัวมีอาการของโรคอีสุกอีใสหรืองูสวัดให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นและตุ่มโรค โดยเฉพาะผู้ที่อาจจะไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
ซึ่งในกรณีที่ผู้ป่วยงูสวัด อาการไม่รุนแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการบวม บริเวณแผลไม่มากนัก และไม่มีไข้สูงนั้น สำหรับที่สงสัยกันว่างูสวัดกี่วันหาย ตอบได้ว่างูสวัดสามารถหายได้ในเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากได้รับการรักษาตามอาการ อย่างไรก็ตาม ควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและไม่ควรปล่อยเรื่องนี้ไว้ และควรพบแพทย์โดยเร็วเมื่อทราบว่าเป็นงูสวัด