ผู้ป่วยตกเตียง ต้องทำอย่างไร? อันตรายจากการพลัดตกหกล้มที่เสี่ยงให้เกิดไม่ได้!

         แน่นอนว่า อุบัติเหตุคือสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ที่มักจะได้รับอันตรายมากกว่าคนทั่วไป ยิ่งเฉพาะกับปัญหาการพลัดตกเตียง ที่ผู้ดูแลหลายท่านอาจมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่า มีผู้ป่วยหลายคนที่พลัดตกจากเตียงมาแล้วเสียชีวิตทันที!

         ดังนั้น ปัญหาการพลัดตกจากเตียง เป็นเรื่องที่เสี่ยงให้เกิดไม่ได้แม้แต่ครั้งเดียว แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่ ผู้ป่วยตกเตียง ผู้ดูแลควรรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร? ต้องอ่านบทความนี้เลยค่ะ

ผู้ป่วยตกเตียง

สารบัญ

หากพบผู้สูงอายุ – ผู้ป่วยตกเตียง ควรรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร?

         หลายคนอาจคิดว่า อุบัติเหตุจากการพลัดตกเตียง อาจดูไม่รุนแรงเท่าอุบัติเหตุอื่น ๆ อย่างการตกบันได ถูกรถชน ลื่นล้มศีรษะฟาดพื้น เพราะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยตกเตียงหลายคน ไม่มีแม้แต่รอยแผลหรืออาการบาดเจ็บภายนอกอะไรเลย ผู้ดูแลจึงชะล่าใจคิดว่าผู้ป่วยไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดค่ะ

พลัดตกหกล้ม

         หากลองนึกถึงเหตุการณ์ที่คนปกติแข็งแรงทั่วไปอย่างเรา ตกลงมาจากเก้าอี้ หรือเครื่องเล่นสไลเดอร์ในสวนสนุก แม้ภายนอกเราอาจไม่มีบาดแผล หรือมีก็เพียงเล็กน้อย แต่เราก็รู้สึกเจ็บไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งผ่านไปหลายวันยิ่งเจ็บมากขึ้น บางคนอาจปวดจนเดิน นั่ง หรือนอนไม่ได้เลยก็มี นั่นก็เพราะว่าอวัยวะภายในเราได้รับการกระทบกระเทือนนั่นเองค่ะ

         ดังนั้น ผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว หรือกระดูกเปราะบางอย่างผู้สูงอายุ ตกลงมาจากที่สูงอย่างเตียงนอนทั่วไป ที่มักมีความสูงเกินกว่า 120 เซนติเมตร ก็ย่อมได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าคนทั่วไปมาก จนอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยตกเตียงขึ้นมา ผู้ดูแลหรือผู้พบเห็น ควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

  • รีบเรียกรถพยาบาลทันที แล้วให้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยตลอด โดยห้ามเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยเองจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง
  • ตรวจสอบการหายใจ ชีพจร ความดันโลหิตของผู้ป่วย และต้องเช็กว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่ โดยการปลุกให้ตื่นหรือเรียกชื่อ หากผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ให้เริ่มทำการ CPR ทันที (ดู ขั้นตอนการ CPR ที่ถูกต้อง)

  • หากผู้ป่วยพูดคุยได้ ให้เช็กว่าผู้ป่วยมีอาการสับสน เบลอ หรืออ่อนแรงหรือเปล่า ถามผู้ป่วยว่าเจ็บตรงไหน ทำไมถึงตกเตียงลงมา เช่น พลัดตกลงมาเอง ไม่อยากมีชีวิตอยู่ เป็นต้น
  • ตรวจสอบร่างกายของผู้ป่วยว่าได้รับการบาดเจ็บแค่ไหน เช่น บาดแผล รอยถลอก รอยฟกช้ำ หรือกระดูกหัก โดยสามารถสังเกตอาการกระดูกหักในผู้ป่วยได้ดังนี้
    • ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก ในบริเวณที่เป็นกระดูก
    • บริเวณที่กระดูกหักจะบวม
    • บริเวณที่กระดูกหักมีความผิดรูปไปจากปกติ
    • ผู้ป่วยไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวบริเวณที่กระดูกหักได้เลย
    • มีส่วนกระดูกทิ่มทะลุผิวหนังขึ้นมาให้เห็น

กระดูกหัก

  • หากมีอาการบาดเจ็บที่คอ หรือกระดูกสันหลัง ห้ามยกศีรษะของผู้ป่วยเด็ดขาด ให้รอเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ปฐมพยาบาล
  • เมื่อถึงโรงพยาบาล ให้แจ้งรายละเอียดผู้ป่วยและสาเหตุการตกเตียงให้กับเจ้าหน้าที่ อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของ ความสูงของเตียง ความแข็งของพื้นที่กระทบ เช่น ปูน ไม้ กระเบื้อง พรม และส่วนของร่างกายที่ตกกระทบพื้น เช่น เอาหน้าลงพื้น ศีรษะกระแทกเตียง ฯลฯ เพราะเหล่านี้ล้วนมีผลต่อความรุนแรงของการบาดเจ็บ

การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บเบื้องต้น

  • กรณีจำเป็นต้องพลิกตัวผู้ป่วยจริง ๆ ให้พลิกในลักษณะที่ตัว ลำคอ และศีรษะตรงเป็นแนวเดียวกัน
  • หากบาดแผลมีเลือดออก ให้ทำการห้ามเลือด โดยกดที่บาดแผลด้วยผ้าสะอาด ประมาณ 10 – 15 นาที
  • เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยอาจกระดูกหัก ให้ผู้ป่วยอยู่นิ่ง ๆ ห้ามเคลื่อนไหว เพื่อลดอาการปวดและป้องกันกระดูกที่หักไปทิ่มแทงเนื้อเยื่อ หลอดเลือด หรือเส้นประสาทใกล้เคียง โดยหลีกเลี่ยงการรักษากระดูกที่หักด้วยตนเอง เพราะกระดูกอาจผิดรูปจนเกิดความพิการตามมาได้
  • ในกรณีที่พบว่า มีกระดูกทิ่มทะลุออกนอกผิวหนัง ห้ามดันปลายกระดูกนั้นเข้าที่เดิมเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้ ให้นำผ้าสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้มาคลุมบริเวณบาดแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรค

ผู้ป่วยตกเตียง

  • หากผู้ป่วยมีอาการปวดมาก ระหว่างรอรถพยาบาล ให้ใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนู ประคบเพื่อลดอาการปวดและบวม ห้ามใช้น้ำแข็งประคบโดยตรงกับผิวหนังเด็ดขาด
  • ผู้ป่วยศีรษะกระแทก หมดสติ ปวดต้นคอ ปวดสะโพก หรือปวดต้นขา หากมีอาการเหล่านี้ ให้นำตัวผู้ป่วยนอนราบ ไม่นอนหนุนหมอน และหลีกเลี่ยงขยับตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อปัญหาการตกเตียง
  • ผู้ป่วยขั้นวิกฤต
  • ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา
  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี
  • โดนจำกัดการเคลื่อนไหว
  • ได้รับการระงับความรู้สึกบางอย่าง เช่น ยาระงับปวดหลังผ่าตัด ยาชา
อ่านบทความ : การดูแลผู้สูงอายุ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน!

กันไว้ดีกว่าแก้! มาป้องกัน ผู้ป่วยตกเตียง ด้วยเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ากันเถอะ!

         ปัญหาผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยตกเตียง มักเกิดในช่วงที่ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในสายตาผู้ดูแล อย่างเช่น ตอนกลางคืนช่วงที่ผู้ดูแลนอนหลับไปแล้ว กลางดึกผู้ป่วยอาจมีการพลิกตัวจนพลัดตกลงมาได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะไม่ให้ผู้ป่วยพลิกตัว หรือให้อยู่ในสายตาผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป ถ้าให้ผู้ป่วยใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าของ ALLWELL ค่ะ

เตียงผู้สูงอายุปรับไฟฟ้า

       เตียงนอนแบบธรรมดาทั่วไป หรือเตียงผู้ป่วยที่ไม่ได้มาตรฐาน มักมีความสูงมากกว่า 120 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเลยค่ะ หากผู้ป่วยพลัดตกลงจากเตียงด้วยความสูงเท่านี้ จะทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง ซึ่งยิ่งสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงมากเท่านั้น แต่รู้หรือไม่คะว่า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าของ ALLWELL สามารถปรับระดับต่ำสุดของเตียงได้มากถึง 21 เซนติเมตร!!!

         เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ALLWELL มาพร้อมฟังก์ชันการปรับระดับต่ำที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ที่เตียงธรรมดาทั่วไปหรือเตียงผู้ป่วยตามท้องตลาดไม่สามารถทำได้ ดังนั้น หากผู้ป่วย เด็ก หรือผู้สูงอายุ เกิดเหตุไม่คาดฝันจนตกเตียงขึ้นมา ก็เป็นระดับที่ไม่สร้างอันตรายให้กับผู้ป่วยค่ะ

         ฟังก์ชันการปรับระดับต่ำของเตียงผู้ป่วย ALLWELL ไม่เพียงสร้างความปลอดภัยให้ผู้ป่วยแค่เพียงเวลานอนนั้นเท่านั้น แต่ยังป้องกันการพลัดตกเตียงหรือลื่นล้ม ในขณะก้าวลงจากเตียงอีกด้วย เพราะเป็นความสูงระดับที่ทำให้เท้าของผู้ป่วยสัมผัสกับพื้นได้อย่างพอดี จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถยืนได้อย่างมั่นคง ก่อนที่จะเริ่มก้าวเดินนั่นเองค่ะ

เตียงผู้สูงอายุปรับไฟฟ้า

         และสิ่งสำคัญที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย นั่นก็คือ ราวกั้นเตียง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยพลัดตกจากเตียงค่ะ ซึ่งเตียงนอนแบบทั่วไปนั้นไม่มี จึงไม่สามารถป้องกันผู้ป่วยได้ แต่ในเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าของ ALLWELL นั้น มาพร้อมราวกั้นเตียงที่แข็งแรงได้มาตรฐานเลยค่ะ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลานอน หรือเวลาที่ไม่ได้อยู่ในสายตาผู้ดูแล แม้ผู้ป่วยจะพลิกไปด้านซ้ายหรือด้านขวา ก็จะไม่เสี่ยงตกเตียงแน่นอน

         หลายคนอาจคิดว่า เตียงผู้ป่วยราคาถูกตามท้องตลาด ก็มีราวกั้นเตียงเหมือนกัน แต่ต้องบอกเลยค่ะว่า แม้จะมีราวกั้นเตียงเหมือนกัน แต่ใช่ว่าจะปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเหมือนกันหมดนะคะ เพราะเตียงผู้ป่วยตามท้องตลาดบางรุ่น-บางยี่ห้อ จะมีราวกั้นเตียงผู้ป่วยแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีช่องว่างระหว่างราวกั้นที่กว้างเกินไปจนอาจทำให้แขน ขา หรือศีรษะของผู้ป่วยเข้าไปติดจนเกิดอันตรายได้

         ซึ่งในเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ALLWELL มาพร้อมราวกั้นที่แข็งแรงได้มาตรฐาน มีช่องว่างของราวกั้นเตียงที่แคบ จึงไม่ทำให้แขน ขา หรือศีรษะของผู้ป่วยเข้าไปติดได้ค่ะ นอกจากนี้ ราวกั้นเตียงผู้ป่วย ALLWELL แบบสองตอน ยังสามารถใช้เป็นที่จับยึดพยุงตัว ในขณะที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุลุกขึ้นยืนได้อีกด้วยค่ะ

เตียงไฟฟ้า ราคา

         เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ALLWELL ถูกออกแบบมาเพื่อดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโดยเฉพาะ มาพร้อมฟังก์ชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และใส่ใจดูแลสุขภาพผู้ป่วย ลดภาระผู้ดูแลเหมือนกับได้ผู้ช่วยเพิ่มอีกคน ใครที่กำลังมองหาทางเลือกในการป้องกันผู้ป่วยตกเตียงที่ดีเยี่ยม เตียงผู้ป่วย ALLWELL ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยล่ะค่ะ

สนใจ สั่งซื้อหรือดูรายละเอียด เตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ ALLWELL เพิ่มเติม คลิก!!!

สรุป

         ปัญหาการพลัดตกหกล้ม เป็นปัญหาที่ไม่ควรเสี่ยงให้เกิดแม้แต่ครั้งเดียวเลยค่ะ เพราะในแต่ละครั้ง เราไม่รู้ว่าผู้ป่วยจะบาดเจ็บรุนแรงมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะปัญหาการพลัดตกเตียง ที่สามารถทำให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุเสียชีวิตได้ในครั้งเดียว ดังนั้นแล้ว การใส่ใจในเรื่องของเตียงผู้ป่วย และความปลอดภัยขณะนอน เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

After a fall in the hospital : MedlinePlus

คู่มือปฏิบัติงาน OPD ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลกลาง

ลดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ทำอย่างไรเมื่อตกจากที่สูง โรงพยาบาลพญาไท

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup