การดูแลผู้สูงอายุ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน!

การดูแลผู้สูงอายุ

         เนื่องจากผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายที่มีความเสื่อมถอยและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา บวกกับการมีโรคประจำตัวต่างๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ เช่น หกล้ม เป็นลม หัวใจหยุดเต้น ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรมีความรู้ใน การดูแลผู้สูงอายุ เพื่อที่จะได้รับมือ เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุได้ทัน

การดูแลผู้สูงอายุ

สารบัญเนื้อหา 

   

การดูแลผู้สูงอายุ หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น

         การดูแลในผู้สูงอายุ ในภาวะหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น สิ่งที่ผู้ดูแลต้องมีเลย อันแรกคือการตั้งสติ เพราะการหยุดหายใจ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ ที่อันตรายถึงชีวิตได้  ซึ่งหากผู้ดูแลไม่มีสติ อาจทำให้ช่วยเหลือผู้สูงอายุไม่ทัน การหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น คือการที่ร่างกายขาดอากาศ ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ หัวใจ สมอง ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ส่งผลให้หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น โดยสาเหตุมักมาจาก อุบัติเหตุ โรคหัวใจ จมน้ำ ไฟดูด สูดดมสารพิษ และทางเดินหายใจอุดกั้น

  • อาการ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว หยุดหายใจ หรือหายใจเฮือก
  • การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
    • ตั้งสติ แล้วประเมินสถานการณ์ ความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วยเหลือ
    • โทรขอความช่วยเหลือ 1669
    • เช็กดูว่าผู้สูงอายุยังมีสติอยู่หรือไม่ ตบไหล่ทั้งสองข้าง แล้วเรียกด้วยเสียงดัง
    • ดูการตอบสนอง การพูด การขยับตัว และดูการเคลื่อนไหวของหน้าท้องและทรวงอก หากไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจให้ช่วยเหลือทันที

  การดูแลผู้สูงอายุ

    • ประสานมือวางลงกึ่งกลางหน้าอก ยืดไหล่และแขนเหยียด กดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในแนวดิ่ง ด้วยความเร็ว 100 -1 20 ครั้งต่อนาที โดยห้ามกระแทก
    • กดหน้าอก ทำ CPR ต่อเนื่อง จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึ

การดูแลผู้สูงอายุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม

         การพลัดตกหกล้ม ถือเป็นภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับสอง รองจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยดังนี้

  • ปัจจัยภายนอก คือ สภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น พื้นต่างระดับ พื้นลื่น มีของวางเกะกะที่พื้น แสงสว่างในบ้านน้อย
  • การดูแลและป้องกัน ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ติดตั้งราวจับในบ้านหรือห้องน้ำ ย้ายห้องนอนมาอยู่ด้านล่าง เพิ่มแสงสว่างภายในบ้าน พื้นในบ้านเรียบเสมอกัน

 

 

  • ปัจจัยภายใน เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายผู้สูงอายุ ที่ถดถอยลง เช่น สายตาพร่ามัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • การดูแลและป้องกัน ฝึกเดิน ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ออกกำลังกาย เช่น ไทเก๊ก โยคะ เป็นต้น

การดูแลผู้สูงอายุ อาหารเป็นพิษ

         โดยปกติแล้ว อาหารเป็นพิษนั้น เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะเกิดขึ้นได้ง่ายกับผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าวัยอื่น ๆ จึงทำให้ติดเชื้อง่าย การดูแลผู้สูงอายุ ที่อาหารเป็นพิษ จึงเป็นอีกหนึ่งภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ ที่ผู้ดูแลไม่ควรมองข้าม เพราะหากดูแลรักษาไม่ทัน ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

         อาหารเป็นพิษ มักมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือสารพิษ โดยเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้และกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งสองแบบนั่นก็คือ ท้องเสียแบบไม่รุนแรง และท้องเสียแบบรุนแรง

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

การดูแลผู้สูงอายุ

  • ท้องเสียแบบไม่รุนแรง  ถ่ายออกมาเป็นน้ำ ปวดท้องแต่ไม่มาก แต่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมาก
  • ท้องเสียแบบรุนแรง ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ไข้สูง ปวดเมื่อยตัว

วิธีการดูแล

    • ห้ามรับประทานยาหยุดถ่าย เพราะการถ่ายจะเป็นการขับเชื้อแบคทีเรียออกมาจากร่างกาย
    • จิบน้ำ หรือเกลือแร่บ่อย ๆ ป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ
    • หากอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการปวดท้องเบาลงแล้ว ให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสจืด แล้วสังเกตอาการ จากนั้นให้ค่อย ๆ ปรับอาหารไปตามอาการ
    • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ภายใน 24 ชม.

การดูแลผู้สูงอายุ เมื่อเป็นลมแดด

         เนื่องจากผู้สูงอายุ ปรับตัวตามสภาพอากาศได้ช้ากว่าคนในวัยอื่น ๆ ทำให้เมื่ออยู่กลางแดด หรือที่ที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน ๆ เสี่ยงเป็นลมแดดได้ง่าย และหากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขอย่างถูกต้องทันเวลา อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ การดูแลผู้สูงอายุ

อาการลมแดด

    • อาการเริ่มต้น ตาลาย รู้สึกเวียนหัวเมื่อลุกขึ้นยืน หน้าแดง เป็นตะคริว
    • อาการปานกลาง คลื่นไส้ ปวดศีรษะเล็กน้อย อ่อนล้า อ่อนเพลีย
    • อาการรุนแรง เหม่อลอย ตัวสั่น หรือบางรายมีอาการชักเกร็ง ไม่สามารถทรงตัวได้ หมดสติ

วิธีดูแลเมื่อผู้สูงอายุเป็นลมแดด

         เมื่อผู้สูงอายุเป็นลมแดด สิ่งที่ต้องรีบตรวจสอบเป็นอันดับแรกเลยคือ ผู้สูงอายุยังมีสติอยู่หรือไม่ หากไม่มีสติให้เรียกรถฉุกเฉินทันที  แต่หากผู้สูงอายุยังมีสติดี สามารถโต้ตอบได้ ให้พาเข้าไปในที่เย็น ๆ หรือห้องแอร์ คลายเสื้อผ้าให้หลวม และทำให้อุณภูมิของร่างกายผู้สูงอายุลดลงอย่างเร็วที่สุด อาจหาอะไรมาพัดเพื่อให้เย็นขึ้น หากผู้สูงอายุยังพอมีแรง ให้ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ ประคบที่บริเวณ หน้าผาก คอ ใต้รักแร้ และขาหนีบ หรืออาจใช้แผ่นเจลเย็นประคบแทน    

ผู้สูงอายุมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

         เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำว่า 70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ พบในผู้ป่วยเบาหวาน

อาการ มือสั่น ตัวสั่น ใจสั่น รู้สึกหิว มึนงง เวียนศีรษะ หัวใจเต้นแรง หน้ามืด ตาพร่ามัว ฉุนเฉียวง่าย

การดูแลผู้สูงอายุที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

        หากผู้สูงอายุยังรู้สึกตัว ให้ดื่มน้ำที่มีรสหวาน แต่หากไม่ดีขึ้นให้ดื่มซ้ำ ถ้ายังไม่ดีขึ้นอีกให้รีบนำส่งโรงพยาบาล หากผู้สูงอายุไม่รู้สึกตัว ห้ามน้ำเครื่องดื่มให้ดื่ม ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที    

ผู้สูงอายุมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

         น้ำตาลในเลือดสูง บางครั้งมักไม่แสดงออกให้เห็น ดังนั้น การตรวจระดับน้ำตาล จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยบอกระดับน้ำตาลในเลือดได้  การดูแลผู้สูงอายุที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจึงเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลไม่ควรมองข้าม เพราะหากได้รับการรักษาไม่ทัน อาจทำให้เกิดภาะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อสุขภาพ และอันตรายถึงขั้นเสียชวิตได้

อาการ ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก กระหายน้ำบ่อยปวดท้อง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ น้ำหนักลด อาเจียน สับสนมึนงง หัวใจเต้นเร็ว

การดูแลผู้สูงอายุที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

    • ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ
    • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
    • หากอาการรุนแรง ชัก ซึม หมดสติ ให้รีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

การตรวจระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง ช่วยให้ผู้สูงอายุทราบระดับน้ำตาลของตนเองและสามารถดูแลรักษาตัวเองได้ทัน

เครื่องตรวจระดับน้ำตาล ตรวจเบาหวาน

ภาวะขาดน้ำในผู้สูงอายุ

          ปกติแล้วร่างกายคนเรา มีน้ำเป็นส่วนประกอบ  60 เปอร์เซ็นต์ และโดยธรรมชาติของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น การเก็บสะสมน้ำของร่างกายก็น้อยลง  ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำได้มากกว่าคนในวัยอื่น ๆ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ มักมาจากอากาศร้อนอบอ้าว ดื่มน้ำน้อย ออกกำลังกายนอกบ้าน ทำให้เสียเหงื่อมาก เจ็บป่วย ท้องเสีย และอาเจียน เป็นต้น

อาการ

    • ปากแห้ง กระหายน้ำ
    • ปัสสาวะลดลง และมีสีเข้ม
    • บางรายมีอาการรุนแรง อ่อนแรง มึนงง หรือช็อค หมดสติจากการขาดน้ำ

วิธีการดูแล

          หากผู้สูงอายุมีอาการขาดน้ำ ให้เช็กดูก่อนว่ายังพอมีสติอยู่หรือไม่ หากยังมีสติอยู่ ให้ดื่มน้ำเข้าไปทีละน้อย หรือดื่มเกลือแร่ เพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป แต่หากหมดสติ ให้เลี่ยงการพยายามให้ดื่มน้ำ เพราะอาจทำให้สำลักและเกิดปอดติดเชื้อได้ หากมีอาการตัวร้อนร่วม มีไข้ด้วย ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว และรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

การดูแลผู้สูงอายุ ชัก

          คืออาการกระตุก เกร็งกล้ามเนื้อ โดยอาจรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ซึ่งสาเหตุมาจาก โรคทางสมอง หรือความดันโลหิตสูง เป็นต้น

อาการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

  • ชักแบบทั่วไป ผู้สูงอายุมีอาการชักเกร็ง กระตุกเป็นจังหวะ และหมดสติ บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น กัดลิ้น ปัสสาวะราด โดยทั่วไปแล้วการชักแบบนี้ จะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
  • ชักกระตุกเฉพาะที่ การชักนั้น จะขึ้นอยู่กับบริเวณสมองที่มีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งผู้ที่มีอาการชักจะยังมีสติและรู้ตัวอยู่

วิธีการดูแล

    • โดยปกติของผู้ที่มีอาการชัก มักล้มลงกับพื้นอย่างกะทันหัน ให้ลองตรวจดูที่ศีรษะว่าได้รับการกระทบกระเทือนหรือไม่
    • ห้ามสอดนิ้วมือ ช้อนหรือสิ่งของเข้าไปในปาก เพราะอาจทำให้ลิ้นเกิดบาดแผล
    • ไม่จับยึดตัว หรือเขย่าตัวผู้ป่วยขณะชัก
    • รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

การดูแลผู้สูงอายุ ที่มีระบบทางเดินหายใจ หอบหืด

          โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมไวต่อการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ได้ง่าย

การดูแลผู้สูงอายุ

อาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด หอบเหนื่อย หายใจลำบาก

วิธีการดูแล

    • ดื่มน้ำมาก ๆ วันละ 8 – 10 แก้ว เพื่อละลายเสมหะ
    • หลีกเลี่ยงการกินหรืออยู่ใกล้สิ่งที่ทำให้ระคายเคือง ต่อระบบทางเดินหายใจ หรือก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่นอาหารทะเล ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ฝุ่น เป็นต้น
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่หากมีอาการหอบ ระหว่างนั้นให้หยุดออกทันที ควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ และก่อนออกกำลังกาย ควรใช้ยาขยายหลอดลมก่อน 5 – 10นาที
    • ฝึกการบริหารปอด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
    • การหายใจ
    • รับประทานยา หรือพ่นยาตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

สรุป

         การดูแลผู้สูงอายุ เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน สิ่งที่ผู้ดูแลต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ นั่นก็คือ ประวัติของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์ในการรักษา ในทางที่ดีควรจดบันทึกไว้ในสมุด หรือบันทึกลงในโทรศัพท์มือถือ โดยสิ่งที่ควรบันทึกนอกจากประวัติแล้ว ยาที่ผู้สูงอายุทานประจำ หรือยาที่แพ้ ก็ควรบันทึกลงไปด้วย เพื่อให้แพทย์สามารถดูอาการได้ถูกต้องและรักษาได้ทันท่วงที   

 

BED & MATTRESS PRODUCT

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

ใส่ความเห็น

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup