บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
หากพูดถึงโรคตากุ้งยิง หลาย ๆ คนคงนึกถึงความเชื่อโบราณที่ว่า ถ้าแอบดูคนอื่นอาบน้ำ จะทำให้กลายเป็นโรคตากุ้งยิง ตาจะมีลักษณะเป็นก้อนบวมแดงขึ้นมา แต่แท้จริงแล้ว โรคตากุ้งยิงเกิดจากสาเหตุนี้จริง ๆ หรือเปล่า? บทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับโรคตากุ้งยิงให้มากขึ้น พร้อมกับชวนมาเช็กอาการกันค่ะว่า ตากุ้งยิง อาการ เป็นอย่างไร?
สารบัญ
- ตากุ้งยิง อาการเป็นอย่างไร ?
- ตากุ้งยิง อาการเหล่านี้ เกิดจากสาเหตุอะไร?
- วิธีรักษาตากุ้งยิงเร่งด่วน ทำอย่างไรดี?
- ตากุ้งยิง อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์โดยด่วน
- เมื่อเป็นตากุ้งยิงดูแลตนเองอย่างไร
ตากุ้งยิง อาการ เป็นอย่างไร?
หากใครที่กำลังมีอาการตาบวม แดง มีก้อนนูน หรือรู้สึกมีอาการแปลก ๆ ที่ตา แล้วสงสัยว่าใช่อาการตากุ้งยิงหรือเปล่า ลองมาเช็กกันว่า ตากุ้งยิง อาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะจริง ๆ อาการทางตาเช่นนี้ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุและหลายโรค จึงไม่สามารถการันตีได้ว่าเป็นโรคตากุ้งยิงหรือเปล่า แต่อย่างไรก็ตาม อาการตากุ้งยิง ก็มีลักษณะเด่นที่พอจะคาดเดาอาการได้ ดังนี้ค่ะ
อาการตากุ้งยิง
- คันบริเวณดวงตา ตาบวม
- เปลือกตามีสีแดง
- มีก้อนเนื้อนูนขึ้นบริเวณเปลือกตา ซึ่งสามารถขึ้นทั้งด้านนอกเปลือกตา (External Hordeolum) และด้านในเปลือกตา (Internal Hordeolum)
- ก้อนนูนบริเวณเปลือกตาก็จะกดแล้วเจ็บ
- ก้อนนูนกลายเป็นหนองในที่สุด อาจเกิดการแตกได้
ตากุ้งยิง อาการเหล่านี้สามารถหายเองได้ แต่หากในระยะที่หนองขึ้นแล้วแตกออกมาไม่หมด จะทำให้กลับมาเป็นตากุ้งยิงซ้ำได้
ตากุ้งยิง อาการเหล่านี้ เกิดจากสาเหตุอะไร?
ตากุ้งยิง คือ อาการของโรคที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกตา โดยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus บริเวณเปลือกตา ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แล้วทำให้ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตาเกิดการอักเสบขึ้น โดยโรคตากุ้งยิง (Hordeolum หรือ Stye) ไม่จัดเป็นโรคติดต่อ ดังนั้นจึงเป็นโรคที่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ โรคตากุ้งยิงมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนี้
สาเหตุของการเกิดโรคตากุ้งยิง
1.การใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาด มีการปะปนของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus อยู่
2.การใช้เครื่องสำอางปะปนกับผู้อื่น
3.การล้างเครื่องสำอางที่ไม่สะอาด
4.เป็นบุคคลที่เคยเป็นตากุ้งยิงมาก่อน
5.การสัมผัสบริเวณดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาดจะมีโอกาสเป็นได้ง่าย
6.การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกวิธีและไม่สะอาด
7.การเคยเป็นโรคเปลือกตาอักเสบมาก่อน
8.การมีภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากการมีโรคประจำตัว อย่างโรคเบาหวาน เป็นต้น
วิธีรักษาตากุ้งยิงเร่งด่วน ทำอย่างไรดี?
อย่างที่หลายคนทราบว่า โดยปกติโรคตากุ้งยิงสามารถหายเองได้ ถ้าไม่ได้เป็นรุนแรงมาก แต่สำหรับใครที่อยากหายจากอาการตากุ้งยิงเร็ว ๆ ก็พอมีวิธีดูแลตัวเองที่จะช่วยให้อาการต่าง ๆ หายเร็วขึ้น เจ็บปวดน้อยลง มาลองดูวิธีรักษาตากุ้งยิงเร่งด่วนกันว่า มีวิธีไหนกันบ้างค่ะ
วิธีรักษาตากุ้งยิงเร่งด่วน
- ประคบบริเวณที่เป็นตากุ้งยิงด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ความอุ่นร้อนนี้ไปละลายไขมันที่เกิดการอักเสบบริเวณเปลือกตา
- ขณะที่ยังเป็นโรคตากุ้งยิงนี้คุณควรงดสัมผัสบริเวณดวงตา
- หลีกเลี่ยงฝุ่นละอองที่อาจเข้าบริเวณดวงตา
- รวมถึงการใช้มาสคาร่าหรืออายไลเนอร์บริเวณเปลือกตาขณะที่เป็นตากุ้งยิง
- ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อรับยาช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการหายจากโรคตากุ้งยิง ส่วนนี้แพทย์หรือเภสัชกรอาจแนะนำเป็นยาหยอดตา หรือยากินเพื่อใช้เป็นยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus สาเหตุของโรคตากุ้งยิง โดยใน
ตากุ้งยิง อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์โดยด่วน
ถึงแม้ว่าโรคตากุ้งยิงจะเป็นโรคที่สามารถหายได้เองได้ แต่สำหรับบางท่านที่อาจจะมีอาการที่รุนแรงดังต่อไปนี้ร่วมด้วยก็ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาโดยด่วน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งอาการที่เป็นโรคตากุ้งยิงแล้วควรไปพบแพทย์ก็คือ
อาการที่เป็นตากุ้งยิงแล้วควรไปพบแพทย์ มีดังนี้
1.อาการบวมแดงของเปลือกตาบริเวณกว้าง
2.อาการแสบปวดร้อนอย่างหนักบริเวณเปลือกตา
3.ตาเกิดอาการพร่า มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
เมื่อเกิดอาการใดอาการหนึ่งในสามอาการดังกล่าวข้างต้นขึ้น ผู้ที่เป็นตากุ้งยิงก็ไม่ควรรอช้า รีบไปพบแพทย์โดยด่วน ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยแล้วรักษาที่อาจเป็นการป้ายยาที่ตา การให้ยาปฏิชีวนะ การให้ยาหยอดตา รวมกับการเจาะหนองบริเวณเปลือกตาออก
อ่านบทความ : ตาขาวเป็นสีเหลือง สัญญาณอันตราย เช็กด่วน! เกิดจากอะไรเมื่อเป็นตากุ้งยิงดูแลตนเองอย่างไร
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า โรคตากุ้งยิงไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่ทุกคนคิด โดยโรคตากุ้งยิงเป็นโรคที่สามารถหายได้ด้วยตัวของคุณเอง ซึ่งตัวคุณเองต้องหมั่นดูแลตนเองให้ดีในขณะที่เป็นโรคตากุ้งยิง ซึ่งคุณสามารถดูแลตนเองง่ายๆได้ที่บ้าน มีดังนี้
วิธีการดูแลให้ห่างไกลจากโรคตากุ้งยิง มีดังนี้
1.หมั่นรักษาความสะอาดของดวงตา และ ผิวหน้า
2.งดการใช้ผ้าขนหนู หรือ กระดาษทิชชู่เช็ดบริเวณดวงตาและเปลือกตาบ่อย ๆ
3.งดการสัมผัสบริเวณดวงตาโดยตรงด้วยมือ แม้ว่าจะล้างสะอาดแล้วก็ตาม
4.ไม่บีบหนองออกด้วยตนเอง หากอาการรุนแรง ต้องการเอาหนองออกควรไปเจาะหนองออก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
5.งดการใช้เครื่องสำอางบริเวณดวงตาไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบำรุงผิว หรือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มตกแต่งเพื่อความสวยงาม
สรุป
โรคตากุ้งยิงเป็นโรคที่มีมาแต่โบราณจึงมาพร้อมความเชื่อดั้งเดิม ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในสมัยนั้นข้อมูลทางการแพทย์อาจยังไม่มีการแพร่หลายมากนัก ตั้งแต่สาเหตุของโรคตากุ้งยิง ตากุ้งยิง อาการเป็นอย่างไร รวมไปถึงวิธีการดูแลและรักษาโรคดังกล่าว ซึ่งข้อมูลในบทความข้างต้นจะเป็นหนึ่งในข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาทำความเข้าใจได้ทั้งก่อนและขณะที่คุณเป็นตากุ้งยิงเพื่อการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงที