ผื่นขึ้น คลื่นไส้ ใช่”อาการแพ้ยา”หรือเปล่า? มาดูวิธีแก้อาการแพ้ยาเบื้องต้นกัน!

รู้เท่าทัน อาการแพ้ยา

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

       เมื่อราเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วต้องทำการรักษาโดยการรับยา ไม่ว่าจะเป็นการทา การกิน หรือการฉีด แต่ถึงแม้ยาที่ได้รับจะมีฤทธิ์ในการรักษาอาการเจ็บป่วย แต่ภูมิคุ้มกันของร่างกายในบางคนอาจต่อต้านยา จนเกิดอาการแพ้ยาได้ เช่น อาการคลื่นไส้ เวียนหัว ผื่นขึ้น นอกจากนี้ยังมีอาการอะไรอีกบ้าง ใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองอาจมีอาการแพ้ยา มาลองเช็กสัญญาณเตือน และวิธีรับมือเบื้องต้นในบทความนี้กันค่ะ  

สารบัญ

สัญญาณน่าสงสัยว่าคุณอาจมีอาการแพ้ยา?

       อาการแพ้ยา เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งนี้ในแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการเกิดอาการแพ้ยาที่แตกต่างกันออกไป โดยเริ่มตั้งแต่การเกิดการแพ้หลังการใช้ยาเพียงไม่กี่ชั่วโมง (1 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ) ไปจนกระทั่งถึงระยะเวลาที่ยาวนานร่วมเดือนเลย สำหรับอาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะกำลังแพ้ยา ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ของอาการแพ้ยา ดังนี้

อาการแพ้ยา มีกี่ระดับ

1. อาการที่บ่งบอกถึงการแพ้ยาในระดับที่ไม่รุนแรง

       เป็นอาการแพ้ยา ผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง โดยมีลักษณะของผื่นที่คล้ายคลึงกับอาการของลมพิษ ร่วมด้วยอาการแดงและบวมที่มากกว่า ในบางรายจะเกิดอาการคันร่วมด้วย และอาการจะปรากตามส่วนต่าง ๆ ของผิวหนังที่แตกต่างกันออกไป ทั้งบริเวณดวงตา ใบหน้า แขน ขา หรือ แผ่นหลัง

2. อาการที่บ่งบอกถึงการแพ้ยาในระดับปานกลาง

        มีอาการทุกอย่างของอาการที่บ่งบอกถึงการแพ้ยาในระดับที่ไม่รุนแรง แต่ก็มากกว่ากลุ่มแรกมาอีกระดับหนึ่ง หรือเรียกกันว่า กลุ่มที่มีอาการแพ้แบบปานกลาง คนแพ้ยาในกลุ่มนี้จะเริ่มมีอาการหายใจติดขัด หรือมีอาการผื่นขึ้นทั้งตัว ควรหยุดยาหรือหยุดสิ่งที่แพ้ ให้ผู้แพ้ยาดื่มน้ำมาก ๆ แล้วรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที เพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้แบบรุนแรง

อาการแพ้ยา มีอะไรบ้าง

3. อาการที่บ่งบอกถึงการแพ้ยาในระดับที่รุนแรง

    ผู้ที่มีอาการแพ้ยารุนแรง ควรรีบเข้ารับการรักษาอาการแพ้อย่างเร่งด่วน สาเหตุของคนที่แพ้ยาในกลุ่มนี้ มักเป็นมาจากอาการแพ้ยาในกลุ่มเพนิซิลลิน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อต้านการอักเสบ หรือยาปฏิชีวนะ

  • อาการแพ้ยาที่ปรากฎบริเวณผิวหนังก็จะมีการบวม แดง เป็นผื่น เกิดตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนอง ตามมาด้วยอาการคัน และอาการหลุดลอกของผิวหนัง
  • อาการไข้สูง มีน้ำมูก มีอาการคล้ายไข้หวัด ร่วมด้วยอาการปวดศีรษะ
  • มีอาการบวมปรากฎตามร่างกายทั้งแขน ขา หน้า ปาก หรือ ลิ้น
  • เกิดอาการเจ็บและบาดแผลบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณช่องปาก ตา หรือ อวัยวะเพศ
  • เกิดอาการอ่อนเพลีย อาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้ เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปก็เกิดการอาเจียนออกมา จึงทำให้เกิดอาการไม่อยากรับประทานอาหาร หรือ เบื่ออาหารตามมา
  • เกิดการอักเสบที่รุนแรงของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะในส่วนของตับและไต ซึ่งรุนแรงไปถึงอาการไตวายแล้วทำให้เสียชีวิตได้
  • หากเกิดการวิกฤตรุนแรง ผู้ที่แพ้จะเกิดความดันโลหิตที่ต่ำมาก ชีพจรเต้นเร็ว แต่เบา มีอาการชัก อาการหายใจติดขัดรุนแรง ไปจนหยุดหายใจ

BLOOD PRESSURE MONITOR JPD-HA120

Original price was: 2,490฿.Current price is: 1,390฿.

เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี

อ่านเพิ่ม

BLOOD PRESSURE MONITOR BSX593

1,290฿

ระบบเสียงภาษาไทย | หน้าจอเปลี่ยนสีตามความดันโลหิตที่วัดได้

รหัสสินค้า: BSX593 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

BLOOD PRESSURE MONITOR BSX532

Original price was: 2,580฿.Current price is: 1,490฿.

ระบบเสียงภาษาไทย | หน้าจอเปลี่ยนสีตามความดันที่วัดได้ | ตั้งปลุกเพื่อเตือนให้วัดความดันโลหิตได้

รหัสสินค้า: BSX532 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

BLOOD PRESSURE MONITOR 2005

Original price was: 2,190฿.Current price is: 1,290฿.

รับประกันสินค้า 5 ปี

รหัสสินค้า: BP2005 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

ใครบ้างที่เสี่ยงเกิดอาการแพ้ยา?

        อาการแพ้ยา เป็นปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันร่างกายที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านยาได้รับเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการได้รับยาในรูปแบบการกิน ฉีด ทา หรือดม กลไกนี้ของร่างกายทำขึ้นคล้ายการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาการแพ้ยาเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน บทความนี้จึงจะอธิบายถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้ยา ดังนี้

ใครบ้าง มีความเสี่ยง อาการแพ้ยา

  1. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  2. ผู้ป่วยจากโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  3. ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยผู้ป่วยเอชไอวี
  4. ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีการแพ้ยา
  5. ผู้ที่มีการแพ้อื่น ๆ ก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นการแพ้อาหารประเภทกุ้ง หรือ การแพ้เกสรดอกไม้
อ่านเพิ่มเติม : เตือนภัย! กินยาพาราเกินขนาด อันตรายที่คุณอาจคาดไม่ถึง!

4 วิธีแก้อาการแพ้ยาเบื้องต้น

       หากคุณสงสัยว่า กำลังเกิดอาการแพ้ยา สามารถทำได้โดยการเฝ้าระวังหลังการรับยาเข้าไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นหากพบอาการแพ้ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงระดับใดปรากฏ ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณจะไม่สามารถระบุระดับความรุนแรงของการแพ้ด้วยตนเองได้  ดังนั้นระหว่างการเดินทางไปพบแพทย์ บทความนี้มีวิธีแก้อาการแพ้ยาเบื้องต้นในทุก ๆ ระดับมาแนะนำ ดังนี้

อาการแพ้ยา วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. หยุดใช้ยาทันที และ รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  2. จดหรือถ่ายภาพบันทึกอาการแพ้ที่เกิดขึ้น รวมถึงระยะเวลาหลังรับประทานยาเข้าไป แล้วเกิดการแพ้ขึ้น เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยของแพทย์
  3. นำยาที่แพ้ติดตัวไปให้แพทย์วินิจฉัยร่วมด้วย เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกวิธีมากยิ่งขึ้น
  4. ห้ามทำให้อาเจียนออกมา เพราะยาบางชนิดไหลกลับสู่ทางเดินอาหารอีกรอบ อาจทำให้เกิดการแพ้ที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้

แบนเนอร์ Bedee

แบนเนอร์ Bedee

สรุป

       แม้ว่าอาการแพ้ยาจะไม่ใช่อาการที่พบได้ในทุกคน แต่อาการดังกล่าวก็เป็นอาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยบางรายในช่วงแรกของการใช้ยาชนิดนั้น ๆ และในบางราย อาการแพ้ยาอาจรุนแรงถึงชีวิต ดังนั้นการทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าตนแพ้ยาหรือไม่ หรือ ทราบความเสี่ยงและปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการแพ้ยาก็จะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะลดหรือป้องกันอาการดังกล่าวได้ เพื่อให้การรักษาพยาบาลของคุณด้วยการใช้ยา เป็นการรักษาที่ปลอดภัย และทำให้คุณกลับมาแข็งแรงดั่งเดิม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup