ก่อน-หลัง บริจาคเลือดเตรียมตัว อย่างไร? มีข้อห้ามอะไรบ้าง?

บริจาคเลือดเตรียมตัว

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสียเลือดหรือขาดเลือดมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเลือดมาทดแทน แต่ในปัจจุบัน เลือดมนุษย์ยังไม่มีเทคโนโลยีหรือวิทยาการใดสร้างทดแทนได้ นอกจากเลือดมนุษย์ด้วยกันเอง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงควรบริจาคเลือดเพื่อต่อชีวิตให้กับผู้ป่วยวิกฤตต่าง ๆ แล้วการ บริจาคเลือดเตรียมตัว ก่อนและหลังอย่างไรบ้าง? Allwell มีข้อมูลดี ๆ มาฝากกันค่ะ

สารบัญ

ใครที่สามารถบริจาคเลือดได้-ไม่ได้บ้าง?

         แม้การบริจาคเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยจะเป็นเรื่องที่ดี และมีการรณรงค์ให้บริจาคกันมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาการขาดแคลนเลือดในการรักษามาก แต่การบริจาคเลือดไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถทำได้นะคะ เพราะการบริจาคเลือดนั้นจำเป็นต้องได้เลือดที่ดี มีคุณภาพพอที่จะไปถึงผู้รับเลือด แล้วไม่เกิดอันตรายหรือโรคภัยตามมา ดังนั้น ใครที่มีแพลนจะบริจาคเลือด มาดูกันว่า คุณมีสมบัติที่จะสามารถบริจาคเลือดให้ผู้ป่วยได้หรือเปล่า

บริจาคเลือดเตรียมตัว

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถบริจาคเลือดได้

1.ผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 17 – 70 ปี

  • กรณีการบริจาคเลือดครั้งแรกต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
  • กรณีที่อายุ 17 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองด้วย

2.น้ำหนักร่างกายต้องมากกว่า 50 กิโลกรัม

3.ในวันที่บริจาคมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่เป็นไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการท้องเสีย หรือาการผิดปกติใด ๆ

บริจาคเลือด

ผู้ที่ไม่สามารถบริจาคเลือดได้

1.ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน

2.กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ห้ามบริจาค ส่วนผู้หญิงที่เพิ่งคลอด (ไม่ได้ให้นมบุตร) หรือเพิ่งแท้งลูก ต้องเว้นระยะอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะสามารถบริจาคได้

3.ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น มีคู่นอนหลายคน เปลี่ยนคู่นอนบ่อยและไม่ได้มีการป้องกัน หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

4.มีประวัติการใช้ยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษในระยะเวลา 3 ปี ก่อนบริจาคเลือด

5.เพิ่งได้รับการผ่าตัด ในระยะเวลา 6 เดือนก่อนการบริจาค

6.ผู้ที่เพิ่งสัก หรือเจาะร่างกาย ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนการบริจาคเลือด

7.ผู้ที่เข้าไปในเขตชุมชนที่มีการระบาดของมาลาเรีย ภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนการบริจาคเลือด

มาลาเรีย

8.ผู้ที่เป็นโรคโควิด โรคไข้หวัด ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ภายในระยะเวลา 1 เดือน ก่อนการบริจาคเลือด

9.ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง (หรือตามดุลยิพินิจของแพทย์ผู้รักษา/รับบริจาคเลือด)

  • โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ต้องให้ไขมันในเลือดปกติ และต้องไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ถึงจะบริจาคได้
  • โรคเบาหวาน ที่ต้องฉีดอินซูลิน ส่วนผู้ที่ไม่ต้องฉีดอินซูลิน ไม่มีโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ ก็สามารถบริจาคได้
  • โรคมะเร็งทุกชนิด ไม่สามารถบริจาคเลือดได้
  • โรคหอบหืด ชนิดรุนแรง เป็นบ่อย มีอาการแทรกซ้อน ไม่สามารถบริจาคได้ ส่วนผู้ป่วยหอบหื่นไม่รุนแรง ควบคุมได้ แพทย์อาจพิจารณาให้บริจาคได้
  • โรคตับอักเสบชนิดเอ เมื่อรักษาหายแล้วสามารถบริจาคได้ ส่วนชนิดอื่น ๆ งดบริจาคเลือดถาวร
  • ไทรอยด์เป็นพิษ หรือผู้ที่เป็นไทรอยด์ที่ระดับฮอร์โมนผิดปกติ และยังมีอาการผิดปกติอยู่ เช่น น้ำหนักลด กินจุ เหนื่อย ใจสั่น ฯลฯ งดบริจาคเลือด ส่วนผู้ที่ควบคุมฮอร์โมนได้และไม่ผิดปกติ สามารถบริจาคได้
  • ผู้ที่เป็นลมชัก ภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนการบริจาคเลือด
  • ผู้ที่เป็นวัณโรคที่ได้รับยาเม็ดสุดท้าย เกิน 2 ปีแล้ว สามารถบริจาคได้

บริจาคเลือดเตรียมตัว

เครื่องวัดความดันโลหิต ALLWELL รุ่น BSX593 หน้าจอเปลี่ยนสีตามค่าความดันที่วัดได้ (เขียว เหลือง แดง) มีเสียงพูดภาษาไทยบอกการใช้งาน

10.ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกิน ค่าบน 160 และค่าล่างสูงเกิน 100 (160/100) และมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ เกิน 100 ครั้งต่อนาที

11.ผู้ที่เพิ่งถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน ต้องเว้นระยะอย่างน้อย 3 วัน ก่อนบริจาคเลือด

12.รับประทานยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ  หรือยาแก้ปวดต่าง ๆ ต้องเว้นระยะ 1 สัปดาห์ถึงจะบริจาคได้

ตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง ? ตอบทุกข้อสงสัยของเรื่องการตรวจสุขภาพ

BLOOD PRESSURE MONITOR JPD-HA120

Original price was: 2,490฿.Current price is: 1,390฿.

เชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อดูค่าและเก็บข้อมูลบนแอปพลิเคชันได้ | ระบบเสียงภาษาไทย | รับประกันสินค้า 3 ปี

อ่านเพิ่ม

BLOOD PRESSURE MONITOR BSX593

1,290฿

ระบบเสียงภาษาไทย | หน้าจอเปลี่ยนสีตามความดันโลหิตที่วัดได้

รหัสสินค้า: BSX593 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

BLOOD PRESSURE MONITOR BSX532

Original price was: 2,580฿.Current price is: 1,490฿.

ระบบเสียงภาษาไทย | หน้าจอเปลี่ยนสีตามความดันที่วัดได้ | ตั้งปลุกเพื่อเตือนให้วัดความดันโลหิตได้

รหัสสินค้า: BSX532 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

BLOOD PRESSURE MONITOR 2005

Original price was: 2,190฿.Current price is: 1,290฿.

รับประกันสินค้า 5 ปี

รหัสสินค้า: BP2005 หมวดหมู่:
อ่านเพิ่ม

บริจาคเลือดเตรียมตัวก่อนบริจาค ต้องทำอย่างไร?

         อ่านกันมาถึงตรงนี้ทุกคนคงทราบแล้วว่าใครที่สามารถบริจาคเลือดได้ ขั้นตอนต่อไปที่ทุกท่านควรทราบก็คือการเตรียมตัวก่อนบริจาค ในเมื่อเราถูกคัดเลือกให้สามารถบริจาคเลือดได้แล้วนั้นเราก็จำเป็นต้องเตรียมตัวเพื่อให้เลือดที่เราบริจาคออกมามีคุณภาพดีที่สุด บทความนี้จะพามาดูกันว่าเราจำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนบริจาคเลือดอย่างไรบ้าง

การเตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด

การเตรียมตัวก่อนบริจาค

1.การบริจาคเลือด เตรียมตัวให้พร้อมโดยการนอนหลับให้เพียงพอ

2.การบริจาคเลือด เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการดื่มน้ำปริมาณ 3 – 4 เป็นเวลา 30 นาทีก่อนการบริจาค

3.การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับจนเกินไป ในวันที่จะไปบริจาคเลือด

4.การรับประทานอาหารมื้อก่อนที่จะไปบริจาคเลือดเป็นเวลาอย่างน้อน 1 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด

5.การดูแลสุขภาพ และ ต้องไม่มีโรคหรือเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถบริจาคได้

6.การบริจาคเลือด เตรียมตัวแล้วก็ต้องมีการเตรียมใจร่วมด้วย

ขณะบริจาคเลือด ต้องทำอะไรบ้าง?

          เมื่อทำการคัดกรองและพบว่าคุณสามารถบริจาคเลือดได้ ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในขณะที่คุณกำลังบริจาคเลือดนั้นก็เป็นสิ่งที่เราควรทราบ เราจะได้ปฎิบัติได้อย่างถูกวิธีทำให้เลือดออกมาอย่างมีคุณภาพ เราได้รวบรวมการเตรียมตัวขณะบริจาคเลือดที่ดีเอาไว้ให้ทุกคนแล้วมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

บริจาคเลือด เตรียมตัว

การเตรียมตัวขณะบริจาค

1.การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับจนเกินไป และสามารถถลกแขนเสื้อขึ้นได้

2.บีบลูกบอลอย่างสม่ำเสมอ

3.เมื่อเกิดอาการวิงเวียน หรือ หน้ามืดต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่

4.งดอมลูกอม หรือเคี้ยวหมากฝรั่งขณะที่บริจาคเลือด

หลังบริจาคเลือด ต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

         สิ่งสำคัญหลังจากบริจาคเลือด ถึงแม้ว่าการบริจาคเลือดจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริจาค แต่เราก็จำเป็นต้องบำรุงดูแลรักษาตัวเองเพื่อให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขึ้นมาใหม่มาทดแทนส่วนที่เสียไป ส่วนของการเตรียมตัวเมื่อคุณบริจาคเลือดเสร็จแล้ว มีดังนี้

บริจาคเลือด เตรียมตัว

การเตรียมตัวหลังจากบริจาคเลือด

1.การนั่งพักก่อนการเดินทางต่อเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที

2.การดื่มน้ำและของว่างที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้ก่อนการเดินทาง

3.การงดโดยสารลิฟท์ งดการใช้บันไดเลื่อน งดการทำงานกับเครื่องจักร และ งดการปีนป่าย

4.การงดกิจกรรมหนัก ๆ หลังการบริจาคเลือด ทั้งการออกกำลังกาย การปีนเข่า การเดินป่า หรือ แม้แต่การซาวน่า

5.การทานธาตุเหล็กวันละ 1 เม็ดจนหมดซองที่เจ้าหน้าที่เตรียมให้

บริจาคเลือด มีประโยชน์อย่างไร?

          ทุกคนทราบกันดีว่าการบริจาคเลือดเป็นกิจกรรมสร้างกุศล ส่งต่อชีวิต และส่งต่อความห่วงใย โดยการบริจาคเลือดก็มีทั้งการบริจาคเพื่อให้ผู้รับโดยเฉพาะที่ต้องใช้เลือดปริมาณมากสำหรับการรักษาตัว การบริจาคเลือดมีข้อดีที่เราควรไปร่วมบริจาคอีกมากมาย โดยเราขอยกตัวอย่างข้อดีเด่น ๆ ดังนี้

บริจาคเลือด

ข้อดีของการบริจาคเลือด

1.การสร้างกุศลต่อชีวิต เพราะการบริจาคเลือดเป็นการส่งมอบโอกาสแห่งชีวิตให้กับผู้ที่รับบริจาค

2.ช่วยให้เลือดเกิดการไหลเวียนที่ดียิ่งขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส และ เส้นผมงอกใหม่เพิ่มมากขึ้น

3.ช่วยเร่งการทำงานของไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง

4.ได้รับสิทธิสุดพิเศษทางการแพทย์เมื่อบริจาคเลือดครบ 7 ครั้ง

5.เป็นการรีเช็กสุขภาพของตนว่ามีสุขภาพที่ดีในวันที่บริจาคเลือด

6.ทำให้ทราบถึงหมู่โลหิต Rh ของเลือดตัวเอง เพราะโดยปกติคนมักทราบหมู่โลหิตเฉพาะ ABO เท่านั้น

สรุป

         การบริจาคเลือดไม่ได้เป็นเพียงการไปนอน เอาเข็มทิ่มแขน บีบ ๆ ลูกยาง แล้วได้เลือดออกมา 1 ถุง แต่การบริจาคเลือด ต้องเตรียมตัวทั้งก่อน ขณะ และหลังการบริจาค เพื่อให้ผู้ที่บริจาคสามารถบริจาคเลือดได้ตรงตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ รวมถึงเพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือดมาจากการบริจาคนั้น ได้เลือดที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ การบริจาคเลือดจึงเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ร่างกายเพื่อการส่งต่อเลือดที่ดีที่มีคุณภาพ

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup