บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
โรคทางดวงตาที่ร้ายแรง หากเป็นแล้ว ถึงขั้นตาบอดได้ โรคต้อหินหนึ่งในโรคร้ายแรง ที่ประชากรในประเทศไทยเองมีจำนวนผู้ป่วยไม่แพ้โรคอื่นๆ มักเกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยเป็นโรคทางสายตาที่ไม่ค่อยพบสัญญาณเตือน
ดังนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่ทราบว่าตนเองเป็น กว่าจะรู้ตัวขั้วประสาทตาก็อาจถูกทำลายหมด จนไม่สามารถที่จะกลับมามองเห็นได้อย่างคนปกติ ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นก่อนดีกว่า เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและสังเกตุว่าต้อหินอาการเป็นอย่างไร ก่อนที่จะสายเกินแก้นั่นเอง
สารบัญ
- เช็กก่อน! ต้อหินอาการเป็นอย่างไร
- โรคต้อหินอาการนี้ เกิดจากอะไร
- ต้อหินอาการปวดตา รักษาหายไหม รักษายังไง
- ดูแลตัวเองยังไงไม่ให้เสี่ยงต้อหิน
เช็กก่อน! ต้อหินอาการเป็นอย่างไร
ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยต้อหินอาการมักไม่ปรากฏ จะพบได้ก็ต่อเมื่อตรวจเจอจากจักษุแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองเป็นต้อหิน หากพบในระยะเริ่มต้น มีความเป็นไปได้ในการรักษาให้อาการบรรเทาลง แต่เมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่ภาวะที่มองไม่เห็นเหมือนปกติ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาหาหมออยู่ในระยะนี้กันแล้ว จึงทำให้แพทย์ไม่สามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงสูญเสียการมองเห็นเป็นส่วนใหญ่ โดยอาการที่มักจะพบได้ก็มีดังนี้
ต้อหินอาการมีดังนี้
- ตาแดง
- มีอาการปวดตา
- มองเห็นแสงไฟรอบดวงไฟหรือหลอดไฟ
- กระจกตามีอาการบวมขึ้น และขุ่น
- ปวดหัวในตอนเช้า
- มีอาการของความดันตาสูง
โรคต้อหินอาการนี้ เกิดจากอะไร
ต้อหินเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น การเกิดอุบัติเหตุ การรับประทานยา การผ่าตัดรักษาโรคอื่นๆ ภายในดวงตา ซึ่งต้อหินอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดภายในร่างกายของเราก็ได้เช่นกัน โดยการเพิ่มของความดันลูกตา อาจจะมาจากการเพิ่มเองตามธรรมชาติ หรือจากปัจจัยข้างต้น ทำให้การผลิตน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตาไม่สมดุลกับการถ่ายออกทางท่อระบายบริเวณมุมตา
เพื่อไม่ให้เกิดการคั่งของน้ำ จำเป็นที่จะต้องอาศัยแรงดันในการขับน้ำออก หรือสาเหตุเกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำในลูกตา จึงทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นนั่นเอง ในผู้ป่วยต้อหินอาการมักจะเกิดเป็นๆ หายๆ หลายปี จึงไม่ได้เอะใจ แต่หากเกิดขึ้นฉับพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง ปวดตา มองเห็นแสงเป็นวงกลม ที่ร้ายแรงกว่านั่นผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดหัว ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการมองเห็นได้
โรคตาในผู้สูงอายุ อุปสรรคในการใช้ชีวิตที่อาจนำมาซึ่งการสูญเสียการมองเห็น!ต้อหินอาการปวดตา รักษาหายไหม รักษายังไง
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการทราบว่า ต้อหินรักษาหายไหม หรือต้อหินรักษายังไง สามารถตอบได้เลยว่าในปัจจุบัน มี 3 วิธี ที่ทำให้อาการของต้อหินทุเลาลง ซึ่งยังไม่สามารถการันตีได้ว่าจะหายขาดร้อยเปอร์เซ็นต์ ในการรักษาของแพทย์จะเน้นไปที่ทำให้ดวงตามีความดันกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น
ต้อหินรักษาอย่างไร
- ในระยะเริ่มแรก จะเริ่มด้วยการหยอดยาตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งเป็นการควบคุมให้ระดับความดันในลูกตาต่ำลง จำเป็นที่จะต้องหยอดยาสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ
- รักษาด้วยเลเซอร์ ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่จำเพาะเจาะจงในการออกฤทธิ์ ช่วยเพิ่มทางระบายน้ำออกในลูกตา ทำให้ระดับความดันลดลงได้ถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ โดยการรักษาด้วยเลเซอร์นี้จะคงผลอยู่ที่ประมาณ 1-5 ปี และไม่ส่งผลเสียต่อเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหยอดยาได้ เนื่องจากผลข้างเคียง
- การผ่าตัด เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยต้อหินอาการหนัก โดยแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่ การผ่าตัดเปิดช่องทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาออก เรียกว่า Trabeculectomy และวิธี Aqueous shunt surgery เป็นการผ่าตัดโดยใส่ท่อระบายน้ำในลูกตา
ดูแลตัวเองยังไงไม่ให้เสี่ยงต้อหิน
อย่างที่รู้กันไปในข้างต้นแล้วว่า ต้อหินอาการส่วนมากมักไม่ปรากฏ ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการเรื้อรังที่ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถสูญเสียการมองเห็นได้เลย ดังนั้น วิธีป้องกัน การดูแลและการลดความเสี่ยงในการเกิดต้อหินจึงสำคัญ สามารถปฏิบัติตนได้ดังนี้
วิธีการดูแลตัวเองไม่ให้เสียงต้อหิน
- ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัตครอบครัวเป็นต้อหิน เพราะอาจเป็นได้ว่าจะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- หากมีอาการปวดตา ไม่ควรที่จะซื้อยาหยอดเอง ควรปรึกษาจักษุแพทย์โดยตรง และปฏิบัติตามคำแนะนำ
- หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดต้อหิน อาทิเช่น กลุ่มยาต้านอักเสบและกลุ่มลดคอเลสเตอรอล ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ถึงผลกระทบ และคำแนะนำอื่นๆ หากเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
- จากการวิจัยพบว่าวิตามินซี สามารถช่วยลดโอกาสเกิดต้อหินลงได้ เนื่องจากมีสารออกซิแดนท์ ซึ่งช่วยเพิ่มระดับกรดไฮยารูรอนิค จึงมีประสิทธิภาพช่วยบรรเทาอาการได้ดี
- ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เป็นทางเลือกที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายอย่าง ไม่เพียงแต่ต้อหินเท่านั้น ซึ่งควรออกอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
- ทานผักและผลไม้ ที่มีประโยชน์ต่อสายตา อาทิเช่น มะละกอ แคนตาลูป ผักโขม พริกหยวก ตำลึง มะม่วงสุก เป็นต้น
สรุป
โรคที่น่ากลัวที่สุด คือโรคที่เกิดแล้วไม่แสดงอาการ ซึ่งยากมากๆ ในการสังเกต วิธีเดียวที่ช่วยป้องกันได้ดี ก็คือหมั่นไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ ต้อหินอาการเกี่ยวกับตาเป็นโรคที่เกิดแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาด และหากรู้ช้าเกินไป จะส่งผลให้เราสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค