บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ตากระตุกเป็นหนึ่งในอาการที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว หลายคนมักจะนึกไปถึงเรื่องของความเชื่อที่ว่ากันว่าอาจจะมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น แต่อันที่จริงแล้ว ตากระตุก เกิดจากอะไร และเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ หรือตากระตุกเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติใดของร่างกายหรือไม่ นอกจากนี้ตากระตุกแบบไหน คือ ตากระตุกปกติ และ ตากระตุกแบบไหน คือ ตากระตุกที่ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ในบทความนี้แล้ว
สารบัญ
- ตากระตุก คือ อะไร?
- ตากระตุก เกิดจากอะไร?
- ตากระตุก เกิดจากความผิดปกติแบบไหน ต้องรีบไปหาหมอ
- การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการตากระตุก เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ
- รวมความเชื่อเรื่องตากระตุก เกิดจากลางบอกเหตุต่าง ๆ
ตากระตุก คือ อะไร?
ตากระตุก หรือ Eye Twitching คือ อาการหนึ่งของเปลือกตาซึ่งตากระตุก เกิดจากการขยับสั่นไหวอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาการตากระตุกนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งส่วนของเปลือกตาล่าง และ ส่วนของเปลือกตาบน แต่จะพบการกระตุกของตาบริเวณเปลือกตาบนมากกว่า ถี่กว่า โดยปกติแล้วอาการตากระตุกจะเกิดขึ้นและหายไปเองอย่างรวดเร็วจึงแทบไม่มีผลใด ๆ ต่อการดำเนินชีวิตเลย
เพราะเป็นอาการตากระตุกที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่นานและหายได้เอง แต่หากอาการตากระตุกนั้น ๆ เป็นอาการตากระตุกที่เกิดขึ้นถี่ และเป็นอาการตากระตุกที่ส่งผลสืบเนื่องทำให้เปลือกตาเกิดการปิดลง จนบดบังการมองเห็น หากเกิดอาการตากระตุกแบบนี้กับเปลือกตาของคุณ คุณก็ต้องเพิ่มการหมั่นสังเกต และรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ตากระตุก เกิดจากอะไร?
ตากระตุก เกิดจากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุก็เป็นปัจจัยภายในที่คุณสามารถกำหนด แต่ในบางสาเหตุของตากระตุกก็เกิดมาจากปัจจัยภายนอกที่คุณไม่สามารถกำหนด แต่คุณอาจหลีกเลี่ยงได้ โดยสาเหตุของอาการตากระตุก เกิดจากปัจจัยดังนี้
อาการตากระตุก เกิดจาก
- การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้เกิดอาการตาแห้ง
- ตากระตุก เกิดจากการอยู่ในห้องแอร์ซึ่งมีอากาศแห้งจึงทำให้เกิดอาการตาแห้ง
- การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน โดยการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอนี้ก็คือ การนอนหลับที่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
- การระคายเคืองดวงตาเนื่องจากตาล้า
- ความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือ ความเครียดที่สะสมมาเป็นเวลานานก็ล้วนทำให้เกิดอาการแสดงออกของร่างกาย และหนึ่งในอาการนั้นก็คือ อาการตากระตุก
- ตากระตุก เกิดจากการมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคภูมิแพ้
- การแพ้สารเคมี หรือ สารก่อภูมิแพ้ ที่อาจเป็นหญ้า หรือ อากาศ ล้วนทำให้เกิดอาการตากระตุกเพิ่ม
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นกาแฟ หรือ น้ำชา หรือแม้กระทั่งน้ำอัดลม
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Alcohol
- เป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด
- การที่ดวงตาสัมผัสกับแสงแดดจ้าติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่มีการป้องกันใด ๆ
- ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด เช่น อาหารในกลุ่มวิตามินและเกลือแร่ เป็นต้น
- ตากระตุก เกิดจากมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
- การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่มวน หรือ บุหรี่ไฟฟ้า
ตากระตุก เกิดจากความผิดปกติแบบไหน ต้องรีบไปหาหมอ
เราจะพบกับอาการตากระตุกว่ามีสาเหตุหลากหลาย บางสาเหตุก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่อาการตากระตุกนี้เป็นอาการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณได้ หากเป็นอาการตากระตุกที่รุนแรง โดยหากเกิดอาการตากระตุกในลักษณะเหล่านี้ขึ้นกับคุณ คุณจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ซึ่งมีดังนี้
อาการตากระตุก เกิดจากความผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์
- อาการตากระตุกที่เกิดขึ้น เกิดติดต่อกันร่วมสัปดาห์ ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- อาการตากระตุกที่เกิดขึ้นมีอาการบวมแดง แสบ และเจ็บบริเวณดวงตาร่วมด้วย
- มีของเหลวไหลออกมาจากดวงตา
- มีอาการกระตุกมากกว่าหนึ่งจุด เมื่อเกิดการกระตุกในที่แรก
- การกระตุกของเปลือกตาส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
- การกระตุกของเปลือกตาจนกระทั่งเปลือกตาบนปิดลงทับเปลือกตาล่าง
- อาการตากระตุกที่เกิดขึ้นกระตุกจนไม่สามารถลืมตาได้เลย
การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการตากระตุก เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ
และเมื่อเราทุกคนทราบกันแล้วว่า อาการตากระตุก เกิดจากปัจจัยอะไรได้บ้างแล้ว และมีอาการกระตุกแบบไหนบ้างที่ควรพบแพทย์ ต่อมาเรามาดูกันต่อเลยค่ะว่า การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการตากระตุกสามารถทำได้อย่างไร โดยแบ่งตามอาการออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการตากระตุก
1.อาการตากระตุกที่ไม่รุนแรง มีวิธีการดูแลดังนี้
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดตากระตุก
- พักสายตาบ้าง เพื่อลดอาการกระตุกของตา
- ใช้น้ำตาเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นบริเวณดวงตา
2.อาการตากระตุกที่รุนแรง มีวิธีการดูแลดังนี้
- การรักษาด้วยการใช้ยาไม่ว่าจะเป็นยา Clonazepam, Trihexyphenidy หรือ Lorazepam ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การจ่ายยาโดยแพทย์หรือเภสัชกร
- การรักษาโดยการฉีดโบท็อกซ์ อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการฉีดโบท็อกซ์เป็นการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ จึงสามารถใช้หลักการดังกล่าวมาลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตา แล้วทำให้การกระตุกที่เปลือกตาหายไป ส่วนนี้ก็ต้องทำการฉีดโดยแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญอีกเช่นกัน
รวมความเชื่อเรื่องตากระตุก เกิดจากลางบอกเหตุต่าง ๆ
อาการตากระตุก นอกจากจะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกายแล้วนั้น อย่าลืมไปว่าเราเป็นคนไทย และส่วนใหย่เป็นชาวพุทธ ย่อมมีความเชื่อในเรื่องตากระตุก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดตามข้างของตา ช่วงเวลา และเพศของผู้ที่เกิดอาการตากระตุกขึ้น ดังนี้
รวมความเชื่อเรื่องของตากระตุก
1.ตากระตุกในเพศชาย
- ตาซ้ายกระตุก : จะมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นกับผู้ที่มีตากระตุก
- ตาขวากระตุก : จะมีเรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้นกับผู้ที่มีตากระตุก
2.ตากระตุกในเพศหญิง
- ตาซ้ายกระตุก : จะมีเรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้นกับผู้ที่มีตากระตุก
- ตาขวากระตุก : จะมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นกับผู้ที่มีตากระตุก
3.ตากระตุกในช่วงเช้า (ตั้งแต่ตื่นนอนใกล้รุ่ง)
- ตาซ้ายกระตุก : จะเกิดมีปากเสียง ทะเลาะ หรือมีเรื่องเดือดร้อนเข้าถึงตัว
- ตาขวากระตุก : จะมีคนสนิทจากต่างแดนมาหา
4.ตากระตุกในช่วงสาย (09.00-12.00)
- ตาซ้ายกระตุก : จะมีเรื่องที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นในครอบครัว
- ตาขวากระตุก : ญาติมิตรที่อาศัยอยู่ต่างแดน หรือต่างถิ่นจะนำเอาลาภมาให้
5.ตากระตุกในช่วงบ่าย (13.00-16.00 น.)
- ตาซ้ายกระตุก : จะมีเพศตรงข้ามกล่าวถึง หรือมาหา
- ตาขวากระตุก : สิ่งที่ตั้งใจว่าจะทำ จะดั่งที่คาดหวัง
6.ตากระตุกในช่วงกลางคืน (ตั้งแต่ 19.00 น. เป็นต้นไป)
- ตาซ้ายกระตุก : จะมีข่าวดีในวันรุ่งขึ้น หรือได้ลาภจากงาน
- ตาขวากระตุก : จะเกิดเรื่องทะเลากับคนในครอบครัว
สรุป
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านานตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ความเชื่อบางความเชื่อก็เป็นกุศโลบายที่คนในสมัยโบราณใช้ในการสั่งสอนลูกหลาน แต่บางความเชื่อก็ไม่มีแหล่งที่มาชัดเจนและเป็นความเชื่อที่อาจทำให้เราเกิดการละเลยอาการที่ร่างกายแสดงออกเพื่อส่งสัญญาณเตือนแห่งสุขภาพ
และหนึ่งในสัญญาณเตือนแห่งสุขภาพก็คือ การเกิดตากระตุก หากคุณได้ทราบแล้วว่าตากระตุก เกิดจากอะไร คุณเองก็คงพอจะทราบได้ว่าตากระตุกไม่เพียงแค่เป็นอาการสั่นไหวของเปลือกตาเท่านั้น แต่เป็นอาการที่คุณต้องคอยสังเกตอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นสัญญาณของสุขภาพของตัวคุณเอง